กรมชลฯ ร่วมกับ สทนช.เตรียมรับมือสถานการณ์-เยียวยาประชาชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา 

กรมชลฯร่วมกับ สทนช.เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมทั้งหารือแนวทางจ่ายเงินเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม

วันนี้(31 ก.ค.65) ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยนายกฤษฎา ศรีเพิ่มพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 และผู้เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ร่วมกับ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติชาติ(สทนช.)เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  

23C1B601 69F6 4F81 AA44 ACFF3C828CE9

สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการติดตามการบริหารจัดการน้ำและเตรียมความพร้อมรับมือดูฝนปี 2565 บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก พร้อมทั้งตรวจสอบความพร้อมใช้งาน ของ ประตูระบายน้ำในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่  เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าเจ็ด-บางยี่หน เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ และ เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล 

เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้มีข้อสั่งการให้กรมชลประทาน ประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำล่วงหน้าในทุกพื้นที่ โดยคาดคะเนจากสถานการณ์น้ำในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อให้บริหารจัดการน้ำได้อย่างต่อเนื่อง และพร้อมรับน้ำในทุกพื้นที่ รวมถึงบริหารจัดการน้ำในเขื่อนต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดผลกระทบบริเวณท้ายน้ำให้น้อยที่สุด ตลอดจนบูรณาการ การทำงานร่วมกับสทนช.ในการบริหารจัดการน้ำและจัดทำแผนภาพการระบายน้ำอย่างมีระบบ พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนไปยังประชาชนให้เข้าใจสถานการณ์อย่างทั่วถึง ไปในทิศทางเดียวกัน ทันต่อเหตุการณ์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

A65D5F25 D7C2 4FD1 99E2 E18DDBE71781

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยใช้เขื่อนเจ้าพระยาในการควบคุมการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อน ควบคู่ไปกับการใช้อาคารชลประทาน และประตูระบายน้ำที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่อย่างเป็นระบบ รวมทั้งเฝ้าระวังติดตามสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนอย่างใกล้ชิด นำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด  ตรวจสอบความมั่นคงและความพร้อมของอาคารชลประทาน ประตูระบายน้ำ ให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือพร้อมช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยได้ทันที กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแจ้งเตือนประชาชนถึงสถานการณ์น้ำให้รับรู้รับทราบอย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นไปตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 65 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผน สามารถลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด

F8EB6C1C BA6F 444F B5BE CAF9CF41F105

ด้าน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)กล่าวว่า ปีนี้มีการเสนอให้ความช่วยเหลือกับพื้นที่รับน้ำท่วม ด้วยการจ่ายเงินชดเชย ซึ่งขณะนี้ส่งเรื่องไปให้กรมบัญชีกลางพิจารณาหลักเกณฑ์การช่วยเหลือว่าจะต้องมีกี่ระดับ และช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง 

“หากกรมบัญชีกลาง เห็นชอบ และตอบกลับมา สทนช.ก็จะประสานกับกระทรวงเกษตรฯ เพื่อนำเสนอเข้าครม. พิจารณาเห็นชอบทันที คาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนกันยายน 2565 ซึ่งเป็นช่วงน้ำท่วมได้ทันพอดี“ ดร.สุรสีห์ กล่าว

B0FCC418 3760 4BB4 8253 BDBDC2A07D91
22CE29CF A131 468B B6B9 87F4CAF27DAA

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ยังกล่าวย้ำด้วยว่า การชดเชยให้พื้นที่รับน้ำกรมชลประทานไม่ได้ทำคนเดียว แต่ภาพเป็นภาพรวมภายใต้ กอนช. และจะทำกับหน่วยงานที่เกี่ยวทุกครั้ง เพราะการจัดการน้ำ มี สทนช.เป็นแม่งาน ภายใต้ กอนช.หากจะทำสิ่งใด กอนช. ต้องรับทราบด้วยและทำงานไปพร้อมกันสำหรับการชดเชยให้กับพื้นที่รับน้ำ เดิมจะช่วยในส่วนของพื้นที่เกษตร ซึ่งจะให้มีการสำรวจ และใช้เงินทดลองราชการในการช่วยเหลือ

87D8AD05 B182 4C4F A634 5C0FE6D9E67E