กอนช.ประกาศเฝ้าระวังสถานการณ์ระดับน้ำแม่น้ำยม ขณะที่วันนี้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งในทั่วทุกภาค

ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.บุรีรัมย์ (134) จ.กาญจนบุรี (117) และ จ.อุตรดิตถ์ (114) ปริมาณน้ำแหล่งน้ำทุกขนาด 62,129 ล้าน ลบ.ม. (75%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 54,309 ล้าน ลบ.ม. (75%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 19 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แม่มอก ทับเสลา กระเสียว ห้วยหลวงจุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินทร ขุนด่านฯ คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทรจินดา และบึงบระเพ็ด

ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 46/2565 เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำยม โดยติดตามสถานการณ์น้ำไหลผ่านบริเวณอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย(Y.14) วันที่ 2 ต.ค. 65 เมื่อเวลา 16.00 น. ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ +70.67 เมตร จากระดับทะเลปานกลางและบริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ +63.97 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง 

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำที่บริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อัตรา 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ Y.4 (อำเภอเมืองสุโขทัย) มีระดับสูงขึ้น 

โดยจะควบคุมปริมาณน้ำผ่านในอัตราสูงสุดไม่เกิน 510 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อาจส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำ ตั้งแต่บริเวณอำเภอสวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองสุโขทัย และกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอพรหมพิรามและบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสามง่ามและโพทะเลจังหวัดพิจิตร

C3621F3C DA50 4EF4 864C 4D977190CABB

ขณะที่ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง ณ สำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาทร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และการคาดการณ์ โดย พื้นที่ประสบภัย และการให้ความช่วยเหลือ การสร้างการรับรู้ประชาชนในทุ่งรับน้ำ จากนั้นได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และผลกระทบการยกตัวระดับน้ำด้านเหนือ

เขื่อนเจ้าพระยา บริเวณจุดคันบ้านท่าข้าวโพด ต.บ้านกล้วยวัดลัดเสนาบดี (วัดเกาะ) และบริเวณ อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท

กรมชลประทาน เตรียมแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยใช้ระบบชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกในการบริหารจัดการน้ำอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทยให้เร็วที่สุด โดยให้โครงการชลประทานในพื้นที่รับช่วงต่อการระบายน้ำให้สอดคล้องกัน คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นหลัก 

และเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม บริเวณประตูระบายน้ำตามแนวคลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน คลองพระยาบรรลือ และคลองพระพิมล ดำเนินการกำจัดผักตบชวาและสิ่งกีดขวางทางน้ำตลอดเส้นทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและเปิดทางให้น้ำไหลได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้รับผลกระทบจากฤดูน้ำหลากให้น้อยที่สุด พร้อมทั้งสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในพื้นที่ให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

DD641EF9 1266 4231 9B4B 0028B0F7AC40