กอนช.สั่งชลประทาน สร้างประตูระบายน้ำคลองบางแก้ว แก้ปัญหาน้ำท่วมอนาคต จ.นครปฐม

วันนี้ (31 ต.ค. 65) นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธาน จัดประชุมหารือแนวทางป้องกัน บรรเทาปริมาณน้ำจากแม่น้ำท่าจีน ที่ไหลล้นเข้าท่วมอำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตามข้อสั่งการ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ 

โดยทางด้านกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทานพร้อมด้วย ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา นายเอนก ก้านสังวอนผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล นายปกรณ์ สุตสุนทร ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาอุทกวิทยา พร้อมผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จนครปฐม 

จากเหตุการณ์ฝนตกชุกตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาส่งผลให้ จังหวัดนครปฐม เกิดผลกระทบทำให้มีพื้นที่น้ำท่วมเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่คลองบางแก้วที่มีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลมาจากแม่น้ำท่าจีน ทำให้ปัจจุบันน้ำได้เอ่อท่วมพื้นที่บริเวณอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

6024A544 28BD 4511 9367 C8FB199F49AB

ประกอบกับสถานการณ์น้ำทะเลจะหนุนสูงอีกหลายระลอกตั้งแต่กลางเดือน พ.ย.ถึงสิ้นเดือน ธ.ค. หากไม่เร่งดำเนินการป้องกันจะทำให้ประชาชนริมน้ำต้องอยู่กับ สภาวะน้ำท่วมขังไปอีก 1- 2 เดือน พลเอกประวิตร​ วงษ์​สุวรรณ​ รองนายกรัฐมนตรี​  จึงมีความห่วงใยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จึงได้มอบหมายให้กอนช. ร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อระดมความคิด หาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว

โดยที่ประชุมได้เห็นชอบการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน โดยมอบหมายให้กรมชลประทานวางแผนหาจุดวางบิ๊กแบ็คเพื่อทำเป็นทำนบกั้นน้ำชั่วคราว ปิดคลองบางแก้วเพื่อกั้นไม่ให้น้ำในแม่น้ำท่าจีนไหลเข้าไปยังคลองบางแก้ว และเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังออกไปยังแม่น้ำท่าจีนเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

สำหรับแผนระยะยาวการแก้ไขปัญหาในอนาคต กอนช. ได้สั่งการให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองบางแก้ว เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างถาวร ตลอดจนให้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในลุ่มน้ำท่าจีนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาแผนงานโครงการรวมถึงรูปแบบการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อย่างยั่งยืนโดยเร็วต่อไป

15E9F0AF F9F0 447B 8EAF E5D62093850D
ACA42BCF CF5E 4A20 A03E 93FCF32F024A