ทีมดี ดินดี” 59 ปีกรมพัฒนาที่ดิน”เดินหน้าสร้างความมั่นคงทางอาหาร-มั่งคั่งภาคการผลิต

ครบรอบ 59 ปี กรมพัฒนาที่ดิน โชว์ผลงานกว่า 5 ทศวรรษ ภายใต้หัวข้อ “ทีมดี ดินดี 59 ปี กรมพัฒนาที่ดิน” มุ่งมั่นขับเคลื่อนการพัฒนาทรัพยากรที่ดินให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม สร้างความมั่นคงทางอาหาร และความมั่งคั่งให้กับภาคการผลิตอย่างยั่งยืน 

    ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานวันสถาปนากรมพัฒนาที่ดิน ครบรอบ 59 ปี ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ภายใต้หัวข้อ “ทีมดี ดินดี 59 ปี กรมพัฒนาที่ดิน” โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ กรมพัฒนาที่ดินถ.พหลโยธิน จตุจักร กทม. 

    โดยภายในงานได้มีการมอบรางวัลให้แก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น จำนวน 2 รางวัล บุคคลากรผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมดีเด่น จำนวน 6 รางวัล หมอดินอาสาดีเด่น จำนวน 12 รางวัล หน่วยงานชนะเลิศการยกระดับองค์กร 4.0 จำนวน 8 รางวัล มอบทุนการศึกษามูลนิธิพัฒนาที่ดินสงเคราะห์และทุนการศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์ แก่บุตรหลานบุคลากรกรมพัฒนาที่ดิน และเยี่ยมชมนิทรรศการของกรมพัฒนาที่ดิน 

ABCBB7E8 355E 4EDA BAE5 BCE0ED56BFD6

     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินมีหน้าที่ในการดูแลพี่น้องเกษตรกรทั้งในส่วนของการปรับปรุงดิน การดูแลสภาพพื้นดิน และในส่วนของแหล่งน้ำขนาดเล็ก และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเกษตรของประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า และเป็นรากฐานของการผลิตภาคการเกษตร โดยเฉพาะการผลิตพืช ซึ่งมีบทบาทสำคัญตั้งแต่การวางแผนกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ การสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาที่ดิน ด้วยการอนุรักษ์ดินและน้ำ การวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับการตลาด ตามนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” การจัดการดินและปุ๋ยให้เหมาะสมกับพืช ช่วยลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะในสถานการณ์ปุ๋ยเคมีราคาแพงพร้อมเน้นย้ำในเรื่องงานวิจัย ที่จะต้องนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะช่วยพัฒนาภาคการเกษตรเป็นอย่างดี 

     อีกทั้งยังต้องพัฒนาบุคลากรให้พร้อมสำหรับการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรด้วย นอกจากนี้ ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เกษตรกรผ่านเครือข่ายและการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จะทำให้การทำงานของกรมพัฒนาที่ดินประสบความสำเร็จ โดยต้องให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่พี่น้องเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรมและช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยให้บรรลุตามเป้าหมาย ทั้งนี้ ในระยะเวลาที่ผ่านมา กรมพัฒนาที่ดินสามารถช่วยพี่น้องเกษตรกรในการลดต้นทุนและลดการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเพิ่มพื้นที่ในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยที่มาจากธรรมชาติ ประมาณ 15 ล้านไร่ ภายในระยะเวลา 5 ปี ในปี 2570 

8BD11C1E 36D0 4ADA 9C61 FDC0AE42B1D8

      อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมพัฒนาที่ดิน มุ่งมั่นที่จะให้เกษตรกร ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี จึงต้องพัฒนาและสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์มาทดแทนให้มากที่สุด และพร้อมจะขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างโอกาส สร้างรายได้ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ประเทศมีความมั่งคงทางเศรษฐกิจ และช่วยดูแลรักษาทรัพยากรดินของประเทศให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไป 

C5024079 0644 4584 ADB7 8DAAD74CC1BF

     ด้าน นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงานได้มีการจัดนิทรรศการ 3 มิติ วันดินโลก 2565 ในธีม Soil: Where Food Begins ชมและศึกษาดินชนิดต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ดินของประเทศไทย นิทรรศการ LDD Value Chain นำเสนอประวัติความเป็นมากรมพัฒนาที่ดิน แอนิเมชันน้องดินดีเล่าเรื่องกระบวนการทำงานของกรม การอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการน้ำ เทคโนโลยี การจัดการดิน น้ำ และปุ๋ย และการยกระดับเป็นองค์กรอัจฉริยะทางดิน  นิทรรศการปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทางเลือกทางรอดเกษตรกรไทย พบกับต้นแบบผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพเร่งการเจริญเติบโตพืช และน้ำหมักชีวภาพไล่แมลง ที่ผ่านการคัดเลือกจากสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 – 12 และการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ และผลผลิตทางการเกษตร นิทรรศการภายในอาคารศูนย์อัจฉริยะ LDD Excellence กิจกรรม Soil Art @Din room อาทิ “ภาพวาดจากสีดิน” “สับปะรดเป็นศรี ดินดีที่ประจวบฯ” “กิจกรรมสัมผัสดิน” บูธแสดงสินค้าเกษตร ผัก/ผลไม้ปลอดสารพิษผลิตภัณฑ์แปรรูป ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และอื่น ๆ อีกมากมาย  นอกจากนี้ ยังมีการประกวด Din Dee Ambassador ผู้ซึ่งจะเป็นตัวแทนของกรมพัฒนาที่ดิน ทำหน้าที่สื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูล กิจกรรมผลิตภัณฑ์ และภารกิจที่สำคัญของกรมพัฒนาที่ดิน ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรต่อไป