ชป.บริหารน้ำหลากควบคู่รับมือเอลนีโญ เก็บน้ำไว้ให้มากที่สุดก่อนหมดฝน

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B1 2
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (21 ก.ย. 66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 48,201 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 63 ของความจุอ่างฯรวมกัน เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 12,003 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯรวมกัน

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B2 1
ชป.บริหารน้ำหลากควบคู่รับมือเอลนีโญ เก็บน้ำไว้ให้มากที่สุดก่อนหมดฝน

ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และด้านตะวันตกของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก จึงได้สั่งการไปยังโครงการชลประทานในพื้นที่เสี่ยง ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำไว้อ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำต่างๆ ให้ได้มากที่สุด พร้อมกับบริหารจัดการน้ำอย่างเต็มศักยภาพ เตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และเจ้าหน้าที่ ประจำจุดเสี่ยง สามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ด้านสถานการณ์เอลนีโญ ปัจจุบันมีกำลังปานกลาง แต่มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2566 จึงได้สั่งการให้พิจารณาปรับลดการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต