อัปเดตเส้นทางพายุ กรมอุตุฯแจ้งพายุโซนร้อน”โคอินุ”ยกระดับเป็น”พายุไต้ฝุ่น”..ลุ้นอ่อนกำลังลงไม่ส่งผลกระทบไทย เตือนประชาชนช่วง 3-6 ต.ค.ระวังอันตรายจากฝนตกหนักมากอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

%E0%B9%82%E0%B8%84
ภาพถ่ายพายุไต้ฝุ่น “โคอินุ”

เพจกรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิก วันที่ 2 ตุลาคม 2566 พายุโซนร้อน “โคอินุ (KOINU)” (ความหมาย “ลูกสุนัข” ตั้งชื่อโดยประเทศญี่ปุ่น )จะทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือมุ่งไปทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน (5/10/66) และเคลื่อนตัวตามแนวขอบชายฝั่งทางด้านตะวันออกของประเทศจีนไปทางเกาะฮ่องกงและเกาะไหลหลำ คาดว่าจะอ่อนกำลังก่อนจะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย จะไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย เนื่องจากมีมวลกาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ทำให้พายุอ่อนกำลังลงในช่วงดังกล่าว ส่วนฝนที่จะเกิดขึ้นมาจากร่องมรสุม หย่อมความกดอากาศต่ำ และลมพัดเข้าสู่พายุ ยังต้องติดตามเป็นระยะ แต่ไม่น่ากังวล (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

%E0%B9%82%E0%B8%84 1
385010964 718088410357370 5256918424477426179 n
385066595 718089090357302 4054857738924942215 n
385034023 718088307024047 1135326172047683609 n
อัปเดตเส้นทางพายุโคอินุ

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (2 ต.ค.66): ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย

385480440 718091997023678 3568992348790909145 n

สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

พยากรณ์อากาศ 6 วันข้างหน้า : ในช่วงวันที่ 3 – 8 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวณมาตามแนวร่องมรสุมในช่วงวันที่ 3-6 ต.ค. ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง: ในช่วงวันที่ 3 – 6 ต.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง