กรมชลประทาน รุกขับเคลื่อน SMART FARM นำร่องเทคโนโลยีบริหารจัดการน้ำ ตอบโจทย์องค์กรอัจฉริยะ

กรมชลประทาน รุกขับเคลื่อน SMART FARM

นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน และคณะ ลงพื้นที่ติดตามโครงการชลประทานอัจฉริยะ ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลบน พร้อมพบปะเกษตรกรสาธิตการควบคุมการใช้โดรนเพื่อการเกษตร การทำนาเปียกสลับแห้ง และการเปิดน้ำเข้าระบบแปลงนาด้วยระบบ SCADA ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลบน จังหวัดนครราชสีมา

กรมชลประทาน รุกขับเคลื่อน SMART FARM

นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้กำหนดนโยบายมุ่งเน้นการทำงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรมชลชลประทาน20 ปี (ปี 2561-80) ที่มีเป้าหมายให้กรมชลประทานเป็น “องค์กรอัจฉริยะ ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการ ภายในปี 2580” ซึ่งการนำพากรมชลประทานให้เป็นองค์กรอัจฉริยะได้นั้น ต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพทันสมัยต่อบริบทและสถานการณ์ในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำ โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล BCG Model ที่มีเป้าหมายให้ภาคการเกษตรมีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น และมาตรฐานสินค้าเกษตรสูงขึ้น

กรมชลประทาน รุกขับเคลื่อน SMART FARM

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้นำร่องโครงการชลประทานอัจฉริยะในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลบน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบจัดการการเพาะปลูกอัจฉริยะ หรือ SMART FARM ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการบริหารจัดการน้ำด้วยระบบ Internet of thing (IoT) พร้อมดำเนินการจัดรูปแปลงของเกษตรกรและปรับปรุงระบบส่งน้ำในไร่นาให้เป็นแบบอัตโนมัติ เพื่อบริหารจัดการน้ำและปุ๋ยสำหรับพืชตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ในพื้นที่จัดการน้ำเพื่อการเกษตรนำร่อง 337 ไร่ ตามแนวคิดการจัดการน้ำแบบองค์รวม (Total Water Management) ที่เน้นถึงการจัดการตามความต้องการของผู้ใช้น้ำ โครงสร้างพื้นฐานระบบชลประทาน และแหล่งทรัพยากรน้ำในพื้นที่ รวมถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

กรมชลประทาน รุกขับเคลื่อน SMART FARM

นอกจากนี้ กรมชลประทานได้ส่งเสริมการทำนาแบบเปียกสลับแห้งในพื้นที่ ซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการใช้น้ำลงได้ประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากการดำเนินการในพื้นที่โครงการนำร่อง กรมชลประทานมีแผนงานที่จะขยายผลไปสู่ทุกพื้นที่ชลประทานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเดิมของกรมชลประทานโดยใช้เทคโนโลยีการวัดระยะไกลและระบบ IoT เพื่อช่วยในการควบคุมปริมาณน้ำส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้น้ำตั้งแต่หัวงานชลประทานไปจนถึงแปลงเพาะปลูกของเกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำในภาคการเกษตรต่อไปในอนาคต และสร้างรายได้ให้เกษตรกรสูงขึ้น 3 เท่าภายใน 4 ปี

กรมชลประทาน รุกขับเคลื่อน SMART FARM
กรมชลประทาน รุกขับเคลื่อน SMART FARM

กรมชลประทาน รุกขับเคลื่อน SMART FARM

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า