รู้จัก..ต้นพันธุ์กล้วยนาก พันธุ์ยักษ์

รู้จัก..ต้นพันธุ์กล้วยนาก พันธุ์ยักษ์ จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ที่มีคุณสมบัติที่โดดเด่นของพันธุ์พืช คือ เปลือกกล้วยสีออกสีนาก คือสีอมแดงค่อนข้างคล้ำ เนื้อผลสุกมีรสชาติคล้ายกล้วยหอม อมเปรี้ยวเล็กน้อย บรรจุในถุงขนาดไม่น้อยกว่า 3×6 นิ้ว ความสูงต้นไม่ต่ำกว่า 15 เซนติเมตร

opabo

18 มิ.ย. 2024

“กล้วยหักมุก” กล้วยหายากแห่งยุค

กล้วยหักมุก เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประชาชนในแถบนี้ใช้เป็นอาหารมาช้านาน  แต่ถึงแม้ว่า กล้วยหักมุก จะเป็นสุดยอดกล้วยปิ้งหรือกล้วยเผาที่นิยมรับประทาน แต่กลับหารับประทานได้ไม่ง่ายเลย เพราะไม่เป็นที่นิยมปลูกมากนัก เพราะการปลูกกล้วยหักมุกนั้น ใช้ระยะเวลานานกว่ากล้วยประเภทอื่น และยังให้ผลผลิตน้อย ทำให้ เกษตรกรหันไปปลูกกล้วยพันธุ์อื่นมากกว่า เพราะคำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจ แต่หากมีใครสนใจจะปลูกกล้วยหักมุกเพื่ออนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก ก็สามารถนำไปปิ้งขายได้มูลค่าเพิ่มได้ด้วย ทำการตลาดดีๆ รับรองว่ามีผู้บริโภคมาต่อคิวซื้อแน่ๆ เพราะอะไรที่หายาก คนย่อมต้องการ และย่อมทำราคาได้ดีเสมอ อาจจะไม่น้อยหน้าโตเกียวบานาน่าของประเทศนอกกันเลย

opabo

22 พ.ค. 2024

“กล้วยหิน” ของดีที่คนรู้จักน้อย

เมื่อเราเอ่ยถึงกล้วย หลายคนจะนึกถึงกล้วยพันธุ์ต่างๆ มากมาย ไล่ไปตั้งแต่กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ แต่จะมีซักกี่คนที่นึกถึง”กล้วยหิน” อาจจะเป็นเพราะเป็นพืชเฉพาะพื้นที่ ที่จะพบได้เพียงในจังหวัดยะลาเท่านั้น ทำให้เราไม่คุ้นชื่อ

opabo

12 เม.ย. 2024

“กล้วยตานี” ราชินีแห่งกล้วย ปัจจุบันมีการนำกล้วยตานีมาใช้ประโยชน์ทางแฟชั่นจนมีมูลค่ามหาศาล

“กล้วยตานี” เป็นกล้วยที่เราได้ยินชื่อมายาวนาน โดยแต่ละท้องถิ่นก็จะเรียกชื่อแตกต่างกันไป บางพื้นที่อาจเรียกว่า “กล้วยผี” เพราะคำว่า ตานี นั้น ไปพ้องกับเรื่องราวของ ผีตานี นั่นเอง จนมีความเชื่อว่า ต้นกล้วยตานีนั้นเป็นต้นกล้วยผีห้ามปลูกในบ้านกันเลยทีเดียว..แต่ที่น่าสนใจ สำหรับกรณีกล้วยตานีไม่ใช่เพียงนำผลกล้วยไปขายหรือนำส่วนต่างๆ มาใช้ประโยชน์เป็นอาหารและยาเท่านั้น ปัจจุบันนี้มีการนำกล้วยตานีมาใช้ประโยชน์ทางแฟชั่นจนมีมูลค่ามหาศาล

opabo

7 เม.ย. 2024

การขยายพันธุ์กล้วย แบบดั้งเดิมและแบบอุตสาหกรรม ต่างกันอย่างไร

การเพาะขยายพันธุ์กล้วยนั้นสามารถทำได้โดยการแยกเหง้าหรือแยกหน่อซึ่งเป็นวิธีการแบบดั้งเดิม แต่เหมาะกับการไม่ได้ปลูกกล้วยจำนวนมาก แต่สำหรับการขยายพันธุ์ในเชิงอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตต้นกล้าพันธุ์ในปริมาณที่มากนั้น หากจะรอการแยกกออย่างเดียวอาจจะผลิตได้ไม่ทันความต้องการผลผลิตในตลาด จึงต้องมีการปลูกไปอีกแบบคือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

opabo

31 มี.ค. 2024
1 2