พัฒนา “สารบำรุงพืช” จากของเหลวที่เหลือจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เตรียมขยายผลช่วยเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร

โอสถสภาตอกย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน สร้างมูลค่าให้ของเหลวที่เหลือจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม โดยพัฒนาเป็น “สารบำรุงพืช” ช่วยเพิ่มคุณภาพและผลผลิตของพืช พร้อมจับมือเค.ซี.เกษตรกรรม ทดลองใช้จริงในพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ เตรียมขยายผลช่วยเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรไทย

บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของประเทศไทย มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ในระยะยาว ซึ่งรวมถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในองค์กรและการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ผ่านนโยบายการรีไซเคิล ลดของเสียในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ เช่น การนำขยะขวดแก้วมารีไซเคิลเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตขวดใหม่ การนำไอน้ำที่เกิดขึ้นจากความร้อนในกระบวนการหลอมขวดแก้วมาใช้ในการล้างขวดแก้ว

294759973 5923674624323796 2099020273378222286 n

และล่าสุด ได้คิดค้นพัฒนา “สารบำรุงพืช” จากของเหลวที่เหลือจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากการที่โอสถสภาเล็งเห็นว่าของเหลวที่เหลือจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มนั้นมีคุณค่าสารอาหารและสามารถนำไปทำประโยชน์ด้านอื่นได้ต่อ บริษัท สยามคัลเล็ต จำกัด ในเครือโอสถสภา จึงได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้การสนับสนุนในการจัดทำโครงการศึกษาค้นคว้าวิจัย เพิ่มมูลค่า เปลี่ยนของเหลวนั้นให้เป็น “สารบำรุงพืช”ที่มีประสิทธิภาพ โดยได้ทดลองใช้กับพืชผักชนิดต่าง ๆ ในแปลงทดลองกว่า 8 ชนิด ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มะเขือเทศ พริก ฝรั่ง และแคนตาลูป

นอกจากนี้ ยังนำมาทดลองใช้กับแปลงผักจริงของศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์คนพิการ โรงพยาบาลแก่งคอย ในโครงการ Life must go on ของโอสถสภา

และพบว่า“สารบำรุงพืช”ดังกล่าวนั้นมีคุณสมบัติช่วยให้พืชผักเติบโตได้ดี มีคุณภาพ มีรสชาติหวานขึ้น และให้ผลผลิตมากขึ้น จึงมีแผนในการสนับสนุนไปยังศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์คนพิการ ในจังหวัดขอนแก่นและเกษตรกรเครือข่ายที่สนใจ

จากความสำเร็จในระดับแปลงทดลองร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โอสถสภาจึงได้ขยายการทดลองสู่ระดับพาณิชย์โดยร่วมมือกับ บริษัท เค.ซี. เกษตรกรรม จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจปลูกอ้อยรายใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งมีการเพาะปลูกอ้อยอย่างเป็นระบบตั้งแต่การปลูก การดูแล จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งให้โรงงานเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำตาล นำ “สารบำรุงพืช”นี้เข้าสู่การทดสอบในแปลงปลูกพืชจริง บนพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ในจังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี

โดยทางโอสถสภา และเค.ซี. เกษตรกรรม จะคอยติดตามผลลัพธ์อย่างใกล้ชิด และขอการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ก่อนจะขยายผลนำไปแจกจ่ายให้เกษตรกรไทยได้นำไปใช้พัฒนาและเพิ่มผลผลิตในพื้นที่เกษตรกรรมของตน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านความยั่งยืนของโอสถสภา ในการสนับสนุนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ และการพัฒนาศักยภาพและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มเกษตรกรท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของโอสถสภา

นุกิจ ชลคุป Chief Manufacturing Office บมจ. โอสถสภา กล่าวว่า การพัฒนา “สารบำรุงพืช” นี้ นับเป็นการนำของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตมาสร้างคุณค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรไทย เป็นอีกหนึ่งโครงการที่โอสถสภาได้พัฒนาขึ้นตามนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากร เพื่อลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยปฏิบัติตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการสร้างมูลค่าให้แก่ของเสีย พร้อมสร้างรายได้ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้เกษตรกร และสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศ

วิชญ์ ชินธรรมมิตร ผู้จัดการทั่วไป บจก.เค.ซี.เกษตรกรรม กล่าว่า การทดลองใช้สารบำรุงพืชจากของเหลวที่เหลือจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากโอสถสภา จะเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งสำหรับการพัฒนาการเกษตรของไทยต่อไป โดยของเหลวที่เหลือเหล่านี้จะถูกนำมาทดลองในพืชเศรษฐกิจของไทย อาทิ อ้อยสำหรับโรงงานน้ำตาล มันสำปะหลัง ทุเรียน และพืชอื่นๆ กว่า 1,000 ไร่ ใน จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี ผ่านการแนะนำแลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มโอสถสภา และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำหรับแผนการทำงานทดลองจริงนั้น จะดำเนินการฉีดพ่นโดยเครื่องจักรในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการใช้อากาศยานขนาดเล็กอย่างโดรนและเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็ก รวมถึง Boomspray ติดรถแทรคเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งจักนำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านการเกษตรให้เกษตรกรไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป