“สตาร์ทอัพ-เกษตรกร”เติบโตไปพร้อมกัน-เทรนด์ “ตลาดการเกษตร” คนรุ่นใหม่

NIA จัดงานสัมมนา “ตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์” โดยมี ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม กล่าวเปิดกิจกรรมและวัตถุประสงค์ในการจัดงานสัมมนา กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการขยายตลาดของ“สตาร์ทอัพ”และเปิดโอกาสให้ “เกษตรกร” และผู้ผลิตในภาคการเกษตรได้เห็นตลาดช่องทางใหม่เพื่อเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งการดำเนินงานในครั้งนี้จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง “สตาร์ทอัพ”รุ่นใหม่กับผู้ที่สนใจแนวคิดและเทคโนโลยีแพลตฟอร์มการจัดการสินค้าด้านการเกษตรที่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด ซึ่งถือเป็นการยกระดับการจัดการ “สินค้าเกษตร” ของประเทศอีกทางหนึ่ง

ต่อด้วยคุณกุลิสรา บุตรพุฒ นักส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม NIA แนะนำโครงการ AgTech Connext 2022 : แพลตฟอร์มเชื่อมโยง “สตาร์ทอัพด้านการเกษตร” สู่เกษตรกรและผู้ใช้งานสำหรับปีนี้ ความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนให้ “สตาร์ทอัพ”เกิดการเติบโตและเปลี่ยน“เกษตรกร” ให้เป็น “เกษตรอัจฉริยะ” โดยใช้เทคโนโลยีของสตาร์ทอัพ

279568129 359819289506636 8876829663437320480 n
งานสัมมนา AgTech Connext 2022 Growing Together

ในปีนี้จะเพิ่มหน่วยงานพันธมิตรจากสภาอุตสาหกรรมและสภาหอการค้าไทย เพื่อเชื่อมต่อไปยังกลุ่มธุรกิจเกษตรให้ขยายการใช้งานให้มากขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพเกษตรได้พัฒนาทักษะการขยายสู่ตลาดพร้อมได้ลงมือปฏิบัติจริง ขยาย Traction ได้จำนวนมากขึ้น
.
โดยในงานสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก 3 บริษัทผู้พัฒนาแพลตฟอร์มการขายสินค้าเกษตรออนไลน์ ได้แก่ FARM TO, HERBS STARTER, KASPY มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำงานและแนวทางในการแก้ไขปัญหาตลาดการเกษตรรูปแบบใหม่ อีกทั้งนำเสนอบริการต่าง ๆ จากแพลตฟอร์มที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการ

พร้อมด้วยเกษตรกรที่อยู่ในแพลตฟอร์มได้แชร์ประสบการณ์การทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ ที่มาเปิดแนวทางการตลาดออนไลน์ให้กับสินค้าเกษตรและชุมชน เกิดยอดขายได้จริงและมีความต่อเนื่อง โดยมีข้อแนะนำด้วยว่า ทางกลุ่มเกษตรกรและชุมชน ต้องปรับตัวและเปิดใจในการพัฒนาสินค้าและกระบวนการต่าง ๆ ให้ตอบโจทย์กับลูกค้า ที่จะทำให้เกิดตลาดนำการผลิต สร้างแบรนด์สินค้าชุมชนให้เป็นที่จดจำกับผู้บริโภคได้อย่างชัดเจน

จากการพูดคุยกับสตาร์ทอัพทั้งสามราย ทำให้เกิดการตระหนักได้ว่าการเติบโตในตลาดสินค้าการเกษตร ต้องเติบโตไปพร้อมกันทั้งกลุ่มของสตาร์ทอัพและเกษตรกรเอง

และสิ่งสำคัญในการเพิ่มมูลค้าสินค้าการเกษตรคือ การควบคุมคุณภาพและการสร้างตัวตนให้กับผลิตภัณฑ์หรือที่เรียกว่าการสร้างแบรนด์ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้สินค้ามีความแตกต่าง ทำให้ผู้บริโภคจดจำและตัวสินค้าสามารถอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืน การที่เกษตรกรเริ่มต้นใช้บริการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ถือเป็นการยกระดับการจัดการสินค้าเกษตรของประเทศที่จะเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
.

สำหรับสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ต้องการสร้างโอกาสในการเติบโตขยายตลาด สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ AgTech Connext ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 เมษายน 2565