“ไส้เดือนฝอยพันธุ์ไทย”ช่วยเพิ่มคุณภาพ-ผลผลิต”มันแกว”

กรมวิชาการเกษตร ลุยขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภัณฑ์”ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย” กำจัดเสี้ยนดินเพิ่มผลผลิต”มันแกว” พืชพื้นถิ่นจังหวัดมหาสารคามให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานปลอดภัย แนะใช้เทคโนโลยีครบวงจร พร้อมใส่ไรโซเบียมเสริมปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยเพิ่มผลผลิตมันแกวได้ถึง 7 พันกิโลกรัม/ไร่ สร้างรายได้เพิ่มเกษตรกรนับหมื่นบาท

นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2565 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร ได้นำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีการผลิตมันแกวคุณภาพดีได้มาตรฐานและปลอดภัยสู่การเพิ่มมูลค่าและสร้างอัตลักษณ์เด่นพื้นถิ่นจังหวัดมหาสารคาม ขับเคลื่อนไปสู่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันแกวในท้องถิ่นอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม พื้นที่กว่า 2,000 ไร่ 

EE7D3AA5 67B2 4AE6 937B 1ADC5954B92A
C81177F2 970F 4BA9 BDFF 6B8212D44FEB

โดยบูรณาการความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีการประสานงานในรูปเครือข่ายทั้งด้านวิชาการ ปัจจัยการผลิต การแปรรูป การตลาด และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผลผลิตมันแกวมีคุณภาพ ขาว หวาน กรอบ อร่อย ปลอดภัยจากสารพิษ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค  สามารถเพิ่มมูลค่ามันแกวและสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์เด่นพื้นถิ่นของจังหวัดมหาสารคามได้อย่างมีคุณภาพ ช่วยลดต้นทุน  และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้มันแกว

7DCD615E 81B4 44E5 8561 ACFE431E301C

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม  ได้นำเทคโนโลยีชีวภัณฑ์”ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร ไปถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้ปลูกมันแกวอำเภอบรบือ  จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งประสบปัญหาเสี้ยนดินเข้าทำลายผลผลิต 

โดยใช้เนื้อมะพร้าวแก่คลุกกับไส้เดือนฝอยใส่กระปุก เจาะรู ทำเป็นกับดักอาหารเหยื่อล่อเสี้ยนดิน ฝังไว้ในดินบริเวณแปลงปลูกมันแกว เมื่อมันแกวอายุประมาณ 45-60 วัน เสี้ยนดินได้เข้ามากินอาหารในกับดักอาหารเหยื่อล่อ ที่คลุกไส้เดือนฝอยไว้ ส่งผลให้เสี้ยนดินที่กินอาหารในกับดักตายภายใน 1 วัน 

A18F1853 A2F5 4975 9EBC 012D8164968E

และจากผลการดำเนินงานในแปลงของเกษตรกรโดยการปลูกแบบเกษตรกรทั่วไป พบว่า การฝังกับดักอาหารเหยื่อล่อร่วมกับไส้เดือนฝอย จำนวน 4 จุด ต่อพื้นที่ 42 ตร.ม. สามารถลดความเสียหายของผลผลิตมันแกวได้ 35 % เมื่อเทียบกับการที่ไม่มีการป้องกันกำจัด และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3,989-4,080 กก./ไร่  

78224172 9C65 4F5C BE5D B7259B365239

ในขณะที่ไม่ใช้ไส้เดือนฝอย เกษตรกรจะได้รับผลผลิตเพียง 2,593-2,652 กก./ไร่เท่านั้น  โดยคิดเป็นเงินที่ลดความเสียหายได้ถึง 2,268-5,016 บาทต่อไร่ การใช้เทคโนโลยีชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยในการควบคุมเสี้ยนดินจึงเป็นวิธีที่สามารถปรับใช้กำจัดและควบคุมเสี้ยนดินได้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายของผลผลิตมันแกว  

7F0F859D 4E29 46E6 B198 67C71E1BCEE0

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า  ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรสามารถนำไปใช้ป้องกันกำจัดเสี้ยนดินที่เข้าทำลายผลผลิตมันแกวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ 

9A44AA72 3D8E 4EFD BA6C 68627090CF39

นอกจากนี้ ยังพบว่าการนำเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรมาผลิตมันแกวทั้งระบบ ได้แก่ การจัดการเตรียมแปลงปลูก  ระยะปลูกที่เหมาะสม การใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมอัตรา 1,000 กก./ไร่ ยังสามารถเพิ่มผลผลิตมันแกวได้สูงถึง 7,776 กก./ไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากวิธีการเดิมของเกษตรกรที่ไม่ใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม 16 เปอร์เซ็นต์  คิดเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น 10,232 บาท/ไร่  

ขณะที่นาย เกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้ชื่นชมการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่าง อบต.บรบือ กับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคามและหน่วยงานภาคีเครือข่าย ที่มีการนำผลงานวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ขยายผลไปสู่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตรขับเคลื่อนการผลิตมันแกวคุณภาพดี ได้มาตรฐานและปลอดภัย สู่การเพิ่มมูลค่าและสร้างอัตลักษณ์เด่นพื้นถิ่น โดยทางจังหวัดมีแผนที่จะผลักดันการขึ้นทะเบียนมันแกวบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เป็นพืชอัตลักษณ์เด่นพื้นถิ่นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัดมหาสารคามต่อไป

4D2376CD 1353 4B04 8F31 EC48F5F50BA7