กรมวิชาการเกษตรลุยวิจัยพืชไร่ดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอน พบพันธุ์อ้อยให้ผลผลิตสูงมีศักยภาพกักเก็บคาร์บอน

นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนไว้ในพืชและในดินเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการร่วมมือเพื่อป้องกันปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งเป็นบทบาทและภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของกรมวิชาการเกษตร 

ซึ่งนอกเหนือจากพื้นที่ป่าไม้แล้วพื้นที่เพาะปลูกพืชยังเป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญเช่นกัน  โดยข้อมูลในปี 2563/2564 ที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 10.8 ล้านไร่

90BC5279 57DC 4F27 BBBB 0FEEF6E72D96

อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยข้อมูลในปี 2563/2564 ที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 10.8 ล้านไร่ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะกักเก็บคาร์บอนไว้ในระบบปลูกอ้อยได้ สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงและนำมาสะสมในรูปของมวลชีวภาพในส่วนต่าง ๆ ของอ้อย  

จากการศึกษาวิจัยและประเมินศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของอ้อยจำนวน 6 พันธุ์ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี พบว่า ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนมีความแตกต่างกันระหว่างพันธุ์ ระยะการเจริญเติบโต และสภาพแปลงปลูก แต่เปอร์เซ็นต์อินทรีย์คาร์บอนในชีวมวลไม่มีแตกต่างกันระหว่างพันธุ์และการเจริญเติบโต แต่แตกต่างตามส่วนต่าง ๆ ของอ้อย เช่น ลำ ใบสด กาบสด ใบแห้ง กาบแห้ง และระยะย่างปล้อง เป็นระยะที่อ้อยมีการเพิ่มความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปล้องอย่างรวดเร็วและมีการเจริญเติบโตของใบเต็มที่ทำให้ช่วงการเจริญเติบโตนี้สามารถกักเก็บคาร์บอนได้สูงสุด

24114C15 139C 4042 BDFC E6D8298B5DC1

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า  จากการประเมินศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนในพืช พบว่า อ้อยแต่ละพันธุ์มีศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของพืช ตำแหน่งใบ สภาพพื้นที่ปลูกและการจัดการดินและน้ำเป็นต้น 

นอกจากนี้งานวิจัยยังสรุปได้ว่า การปลูกอ้อย 1 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 18.1 ตัน สามารถดูซับคาร์บอนในรูปส่วนเหนือดินอ้อยเฉลี่ย 3,698 กก.CO2 หรือช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้ 13,559 กก.CO2 

A3950377 C226 439A B363 64E6EE051310

โดยทุก ๆ 1 ตันของอ้อยสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 581 กก.CO2 ดังนั้นในปีการผลิต2563/2564 ที่มีพื้นที่ปลูก 10.8 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 7.21 ตันต่อไร่จะสามารถช่วยดูดซับคาร์บอนในบรรยากาศมาอยู่ในรูปของลำอ้อยทั้งหมดได้ 215.1 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การเลือกพันธุ์อ้อยและการจัดการแปลงปลูกที่เหมาะสมนอกจากจะช่วยเพิ่มผลผลิตของอ้อยแล้วยังเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพืชได้อีกด้วย

นอกจากนี้ งานวิจัยบ่งชี้ได้ว่าปริมาณอินทรีย์คาร์บอนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณชีวมวล ดังนั้นการปลูกอ้อยให้ได้อินทรีย์คาร์บอนจำนวนมากจึงต้องใช้หลักการเดียวกันกับการเพิ่มผลผลิต ซึ่งมีลักษณะทางการเกษตรที่เกี่ยวข้อง คือ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างกัน ได้แก่ จำนวนลำกับความสูงเส้นผ่านศูนย์กลางลำ และน้ำหนักลำ ดังนั้นเมื่อพิจารณาพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนสูงควรเป็นพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตสูง และควรมีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิต ส่งผลให้มีการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนได้สูงขึ้น   

B1FA6CB9 32B1 4D59 86E2 18721EFE406A

ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้จากคุณลักษณะทางสรีรวิทยาของพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ในเว็บไซต์ของกรมวิชาการเกษตร หรือสอบถามข้อมูลได้ที่[email protected]  โทรศัพท์ 0813998209