เปิดวาร์ป…”แมลงบั่วข้าว”ศัตรูพืชที่สำคัญในข้าวชนิดหนึ่ง

แมลงบั่วข้าว(Rice gall midge) ชื่อวิทยาศาสตร์ Orseolia oryza เป็นศัตรูพืชที่สำคัญในข้าวชนิดหนึ่งโดยแมลงศัตรูพืชชนิดนี้เป็นแมลงอันดับDiptera(กลุ่มแมลงวัน)

ตัวเต็มวัยคล้ายยุงชอบบินเข้าหาแสงไฟ ระยะตัวอ่อนของบั่วเป็นหนอนแมลงวันที่ไม่มีขามีสีน้ำตาลปนเหลือง หนอนจะแทรกตัวเข้าที่กาบใบ แล้วกินอยู่ที่จุดกำเนิดของหน่อข้าว 

ขณะที่หนอนอาศัยกัดกินอยู่ภายในตาที่กำลังเจริญเติบโตต้นข้าวจะสร้างหลอด หุ้มตัวหนอนไว้ทำให้เกิดเป็นช่องกลวงที่เรียกว่า “หลอดบั่วหรือหลอดหอม” ทำให้ข้าวไม่จริญเติบโตและไม่ออกรวงในที่สุดครับ

การป้องกันกำจัด

 1 ในพื้นที่ที่มีการระบาดของบั่วเป็นประจำ ให้สังเกตความเสียหายของแปลงข้างเคียงหรือ ดูตัวเต็มวัยของบั่วที่บินมาเล่นแสงไฟที่ใกล้กับแปลงปลูกตอนกลางคืน

2 กำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงนา เพื่อทำลายพืชอาศัยของบั่ว

3 ไม่ปลูกข้าวหนาแน่นเกินไป ควรมีระยะห่างที่แสงส่องถึงโคนได้

4 เลี่ยงปลูกข้าวในช่วงเดือนที่มักพบการระบาดเป็นประจำ(อันนี้ยากหน่อย)

5 ใช้ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน

6 สารเคมีที่แนะนำส่วนตัวไม่เคยทดสอบ แต่เคยค้นและตอบคำถามคนที่มีปัญหาบั่วบ้าง

ในงานวิจัยต่างประเทศก็สารไทอะมีโทแซม25%WG(4)อัตรา 16 กรัมต่อไร่ หรือสารฟิโพรนิล0.3%GR(2)อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่

C50641FD A900 4BB9 BAF8 54B32337009F

ส่วนเคยคุยกับนักวิจัยของบริษัทเอกชน ที่เค้าว่าได้ผลดีเช่นเบนฟูราคาร์บ(1)หรือชื่อการค้าคือออลคอลส่วนตัวคิดว่าสารที่น่าจะมีประสิทธิภาพดีแต่ราคาสูงหน่อยคือพวกยาบวกสำเร็จรูประหว่างกลุ่ม4 และ28 เช่น ฟลูเบนไดอะไมด์ + ไทอะโคลพริด หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล+ไทอะมีทอกแซม 

นอกจากการเลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพแล้วผมคิดว่าที่สำคัญสุดในการป้องกันกำจัดคือช่วงเวลาครับ เพราะหากปล่อยให้บั่วทำลายจนข้าวแสดงอาการความเสียหายแล้วเพิ่งมาพ่นสารจะได้ผลในการป้องกันกำจัดน้อยมากๆ 

986E2264 5527 426C 936D 2B3F7C53FB86

ดังนั้นหากพื้นที่ปลูกข้าวนั้นพบการระบาดเป็นประจำ หรือพื้นที่ข้างเคียงก่อนหน้านี้ถูกบั่วทำลายแล้ว ให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชก่อนครับเมื่อข้าวอายุได้ประมาณ 20-30 วัน เพราะตัวเมียมักวางไข่ในช่วงนี้