นักวิจัยจีนเริ่มทดลองปลูกพืชที่เพาะเมล็ดพันธุ์ในยานอวกาศ 

คณะนักวิจัยจีนเริ่มทดลองปลูกเมล็ดพืชที่ถูกเพาะภายในยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมเสินโจว-13 (Shenzhou-13) ขณะอยู่ในอวกาศนาน 6 เดือน จำนวน 12,000 เมล็ด โดยเมล็ดพืชเหล่านี้ มีทั้งอัลฟัลฟา ข้าวโอ๊ต และรา ที่ถูกคัดเลือกโดยสถาบันวิจัยหลายแห่ง และนำกลับมายังโลกเมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา

F76B8B43 B31F 418D 9D5B 67865CFF0810

การเพาะพันธุ์พืชในอวกาศ หมายถึง กระบวนการทำให้เมล็ดพืชสัมผัสกับรังสีคอสมิกและแรงโน้มถ่วงที่เป็นศูนย์ระหว่างภารกิจอวกาศ เพื่อทำให้ยีนของเมล็ดพืชกลายพันธุ์ ก่อนจะส่งเมล็ดเหล่านั้นกลับมายังโลกเพื่อผลิตพืชสายพันธุ์ใหม่

B98A15E7 A2D8 46C3 AE0A F381A75FF3C5

จีนดำเนินการทดสอบเพาะพันธุ์พืชในทุกภารกิจอวกาศระหว่างขั้นตอนทดสอบเทคโนโลยีสำคัญของโครงการสถานีอวกาศจีน โดยมียานอวกาศเสินโจว-12 (Shenzhou-12) และเสินโจว-13 ขนส่งเมล็ดพืชและจุลินทรีย์หลายพันรายการจาก 88 องค์กร ขึ้นสู่อวกาศและนำกลับมายังโลก

คณะนักวิจัยจากเอ็ม-กราส (M-Grass) บริษัทเทคโนโลยีในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน ได้ทำการทดลองหญ้า 6 สายพันธุ์ บนยานเสินโจว-13 ซึ่งเป็นการส่งเมล็ดพืชขึ้นสู่อวกาศครั้งที่ 2 ของบริษัทฯ หลังมีการนำหญ้ากลายพันธุ์กลับสู่โลกพร้อมยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ-5 (Chang’e-5) เมื่อปี 2020

A4EA82C8 D2DE 4C9C A42A FFB05193274D

หลิวซือหยาง นักวิจัยอาวุโสจากบริษัทฯ กล่าวว่า เมล็ดพืชที่สายพันธุ์ดีกว่าจะถูกใช้ฟื้นฟูระบบนิเวศและสร้างภูมิทัศน์ในเขตเมือง หลังจากคัดเลือกสายพันธุ์และเพาะปลูกเพิ่มเติมแล้ว

โดยยานเสินโจว-13 นำพาทีมนักบินอวกาศ 3 คน เข้าสู่โมดูลหลักของสถานีอวกาศจีน เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2564 เพื่อประจำการเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งถือเป็นระยะเวลานานที่สุดของโครงการอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมของจีน โดยลูกเรือทั้งสามทำการทดลองหลายรายการขณะปฏิบัติภารกิจอวกาศ

9082FA7B F5E4 44DE 8F49 30B6811B3991
5291E319 5499 47EE 9B0B 74337BA7FBC6

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : สำนักข่าวซินหัว (XinhuaThai)