ทางหลวงข้าม ‘ทะเลทรายมรณะ’ สายแรกของจีน บรรลุการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ 

ทางหลวงข้ามทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของจีนอย่าง “ทากลามากัน” สายแรก ความยาว 522 กิโลเมตรซึ่งทอดตัวอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ได้บรรลุการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์แล้วในปัจจุบัน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (2 มิ.ย.65) มีการเริ่มดำเนินโครงการ “คาร์บอนเป็นศูนย์” ของทางหลวงสายนี้ซึ่งเชื่อมต่อตำบลหลุนหนานทางเหนือเข้ากับอำเภอหมินเฟิง ทางใต้ของซินเจียง โดยแผงโซลาร์เซลล์ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับการสูบน้ำรดต้นไม้

D20E4F70 0C3C 4CF3 B832 B005082A6538

เฉิน หย่า ปิง พนักงานจากบ่อน้ำมันทาริม กล่าวว่า การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนน้ำมันสามารถลดการใช้น้ำมันลงราว 1,000 ตันต่อปี และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 3,410 ตัน

ขณะเดียวกันแนวต้นไม้ริมสองฝั่งทางหลวงสามารถดูดซับคาร์บอนราว 6.4 ตันต่อแนวต้นไม้ขนาด 6.25 ไร่ ทำให้แนวต้นไม้ทั้งหมดจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 20,000 ตัน

AE460759 5263 4F24 BBAB 692F31657343

สถิติข้างต้นเหล่านี้มีแนวโน้มชดเชยการปล่อยมลพิษทั้งหมดจากยานยนต์ที่วิ่งบนทางหลวง ซึ่งหมายความว่า ทางหลวงข้ามทะเลทรายสายนี้ สามารถบรรลุการปล่อย “คาร์บอนเป็นศูนย์” ได้

โดยทะเลทรายทากลามากัน ซึ่งครองฉายา “ทะเลทรายมรณะ” จัดเป็นหนึ่งในทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่รู้จักจากสภาพภูมิประเทศอันโหดร้าย

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : สำนักข่าวซินหัว (XinhuaThai)