กยท. เปิดตัวแอปฯ RAOT GIS ชี้พิกัดแปลง – เชื่อมโยงสวนยางทั้งประเทศผ่าน Digital Platform

นายณกรณ์ ตรรกรวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย

นายณกรณ์ ตรรกรวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า กยท. ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมดำเนินมาตรการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งกำเนิดผลิตภัณฑ์ยางพารา (Traceability) เพื่อรองรับกฎหมาย EUDR ของสหภาพยุโรป โดยมุ่งบริหารจัดการเชื่อมโยงข้อมูลตั้งแต่ข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยาง ข้อมูลสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง (การรับซื้อยางสมาชิกเพื่อแปรรูป) และข้อมูลผู้ซื้อขายยางผ่านตลาดกลางยางพาราของ กยท. สำหรับข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยางขึ้นทะเบียนกับ กยท. แล้ว จะสามารถระบุที่ตั้งของสวนยาง รองรับการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิดของผลผลิตยางได้  และเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กยท. จึงพัฒนาระบบบริการข้อมูลด้านภาพถ่ายดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชัน “RAOT GIS” ขึ้น เป็นการยกระดับข้อมูลสู่ Digital Platform โดยเกษตรกรฯ ที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. สามารถลงชื่อเข้าใช้งานได้ทันที และสามารถอัปเดตข้อมูลสวนยาง ด้วยการวาดพิกัดแปลงสวนยาง อัปโหลดรูปถ่ายสวนยางและเอกสารต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชันนี้ รวมถึงสามารถดูพิกัดพื้นที่สวนยางของตนเองและพื้นที่ใกล้เคียงได้

เปิดตัวแอปฯ RAOT GIS ชี้พิกัดแปลง – เชื่อมโยงสวนยางทั้งประเทศ

เปิดตัวแอปฯ RAOT GIS ชี้พิกัดแปลง – เชื่อมโยงสวนยางทั้งประเทศ

 

เปิดตัวแอปฯ RAOT GIS ชี้พิกัดแปลง – เชื่อมโยงสวนยางทั้งประเทศ

“RAOT GIS จะช่วยให้การค้นหาตำแหน่งสวนยางทั่วประเทศสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงแปลงสวนยางทั้งประเทศเข้าด้วยกัน เป็นอีกเครื่องมือที่ กยท. นำมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทางการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย” นายณกรณ์ กล่าว

            

เปิดตัวแอปฯ RAOT GIS ชี้พิกัดแปลง – เชื่อมโยงสวนยางทั้งประเทศ

ผู้ว่าการ กยท. กล่าวเพิ่มเติมว่า แอปพลิเคชัน “RAOT GIS” สามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลการทำสวนยางในมิติต่างๆ ทั้งการบริหารข้อมูลสวนปลูกแทน สวนประกันรายได้ พร้อมวิเคราะห์และบริการข้อมูลรายงานเชิงพื้นที่ เช่น รายงานการปลูกแทนตามอายุและประเภทยางพารา ความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกยางและพืชชนิดอื่นๆ การคาดการณ์การใช้ปุ๋ย รวมถึงสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการขนส่ง ให้สามารถกระจายสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดยางพารา   นอกจากนี้ ผู้ใช้งาน “RAOT GIS” สามารถค้นหาสถานที่ตั้งของ กยท. แต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางในการเข้าถึงข้อมูลผ่าน Digital Platform ที่ทันสมัยและมีประโยชน์กับผู้ใช้งานมากที่สุด   ซึ่งพร้อมให้ดาวน์โหลดและใช้งานได้บนสมาร์ทโฟนทั้งระบบ Android และ iOS  ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม นี้

เปิดตัวแอปฯ RAOT GIS ชี้พิกัดแปลง – เชื่อมโยงสวนยางทั้งประเทศ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า