มกอช.ร่วมหารือ รมต.อาเซียน– จีน ด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)ชูประเด็นส่งเสริมด้านเทคโนโลยี

ประชุม รมต.อาเซียน– จีน ด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)

นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอาเซียน – จีน ครั้งที่ 8 (The 8th ASEAN – China Ministerial Meeting on Sanitary and Phytosanitary (SPS) Cooperation) ภายใต้บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีนในความร่วมมือด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (ASEAN-China MOU on SPS) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย ซึ่งจัดขึ้นในห้วงการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (AMAF) ครั้งที่ 45

มกอช.ร่วมหารือ รมต.อาเซียน– จีน ด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)

                   

จีนได้แสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนและผลักดันความร่วมมือด้าน SPS ระหว่างอาเซียนและจีนในแขนงต่างๆ ให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเน้นย้ำความสำคัญของการใช้ระบบใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ในการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตร ซึ่งไทยก็ได้กล่าวสนับสนุนจีน เนื่องจากประเด็นด้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ไทยให้ความสำคัญเช่นกัน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ว่า “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยเฉพาะการพัฒนาและใช้งานใบรับรองสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e-SPS certificate) การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) และระบบแจ้งเตือน (Rapid Alert System) เพื่อใช้สนับสนุนด้านความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยอาหาร และอำนวยความสะดวกทางการค้า

ประชุม รมต.อาเซียน– จีน ด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)

นอกจากนี้ ไทยยังได้แจ้งถึงความตระหนักในความสำคัญของการเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างอาเซียนและจีน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางขนส่งสินค้าภายในภูมิภาคและเชื่อมต่อกับภูมิภาคอื่นผ่านเส้นทาง Belt and Road ต่อไป

ประชุม รมต.อาเซียน– จีน ด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)

ในการประชุมครั้งนี้ จีนมีข้อเสนอริเริ่มความร่วมมือด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคสัตว์และโรคพืชข้ามแดน และการระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานระหว่างอาเซียนและจีน โดยจีนขอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสนับสนุนการดำเนินการความร่วมมือในด้านดังกล่าวซึ่งไทยเองก็ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าวเช่นเดียวกัน เนื่องจากสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของมาตรการ SPS แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกันด้วย ซึ่ง มกอช. ในฐานะหน่วยงานผู้ประสานหลักด้าน SPS ของไทย จะติดตามประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมจัดทำท่าทีของอาเซียนในการดำเนินการความร่วมมือด้านดังกล่าวร่วมกับจีนต่อไป

มกอช.ร่วมหารือ รมต.อาเซียน– จีน ด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มกอช. ได้ผลักดันการดำเนินการด้านเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้าเกษตรและอาหารมาโดยตลอด โดยเป็นหน่วยงานกลางในการเจรจาผลักดันการเชื่อมต่อระบบ e-SPS กับประเทศคู่ค้า รวมทั้งเป็นหน่วยงานผู้ก่อตั้งและดูแลระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหารของไทย (THRASFF) และของอาเซียน (ARASFF) ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 ตลอดจนได้จัดทำระบบ QR Traces เพื่อเป็นระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสินค้าที่ได้รับเครื่องหมาย Q Mark ซึ่งการผลักดันความร่วมมือกับอาเซียนและจีนในประเด็นดังกล่าว จะนำไปสู่การยกระดับความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ส่งผลถึงการอำนวยความสะดวกทางการค้าภายในภูมิภาคต่อไป 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า