ส.ป.ก.ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ประเด็นที่ 1.1 เกษตรสร้างมูลค่า ประเด็นที่ 1.2 สื่อสารสำคัญที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (Content PR) : โครงการพัฒนาธุรกิจชุมชน : การส่งเสริมอาชีพเกษตรกรเพื่อพัฒนาและต่อยอด ประเด็นที่ 1.3 เกษตรชีวภาพ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน/การทำเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : การส่งเสริมและอนุรักษ์การเกษตรแบบยั่งยืน
และภายใต้แผนงานตามยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจจากพระราชดำริ กิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมศิลปหัตถกรรม โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการดำเนินงานตามแนวทางพระราชดำริ และการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการส่งเสริมสนับสนุน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การกระจายรายได้ และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก.เปิดเผยว่า ในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา พฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญและใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น ผู้บริโภคที่ต้องการหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ และผู้บริโภคมังสวิรัติ มีการตระหนักถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ(Climate Change) เนื่องจากกิจกรรมในภาคเกษตรและอาหารมีส่วนทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก
ซึ่งประกอบด้วยก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนาข้าวและฟาร์มปศุสัตว์ โดยมีการคาดการณ์ว่า จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 9.7 พันล้านคนในภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) หรือในอีก 28 ปีข้างหน้า ในขณะที่ มีข้อจำกัดของทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตอาหาร ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากภัยพิบัติธรรมชาติ โรคระบาดพืชและสัตว์ และวิกฤติสงครามระหว่างประเทศ
แมลงจึงเป็นทางเลือกสำคัญ ที่ ส.ป.ก. ตระหนักถึงความยั่งยืนในการเสนอทางเลือกนั้นให้แก่เกษตรกรทั้งนี้เป็นการเสริมรายได้ อีกทั้งแมลงยังเป็นสัตว์ที่สะอาด ปลอดภัย มีโปรตีนสูงในการบริโภค และอัตราการบริโภคในประเทศต่างประเทศกำลังเป็นเทรนได้รับความนิยมอย่างยิ่ง การเลี้ยงแมลงทางเลือกทั้งเพื่อจำหน่าย ทั้งเพื่อบริโภคจึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจในการส่งเสริมและเพิ่มพูนทักษะนอกเหนือภาคเกษตรหลักให้เกษตรกรสร้างรายได้ และพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินนั้นสามารถรองรับการเลี้ยงแมลงให้เหมาะสมอย่างสัมฤทธิ์ผล และรูปแบบของการวงรอบในการเป็นพื้นที่ต้นแบบได้
จากนั้นวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ในการจัดการได้ง่าย ตามภูมิศาสตร์เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์ที่ทนอากาศ ทนสภาพแวดล้อม ค่าใช้จ่ายไม่สูง และมีพื้นที่ใช้สอยอย่างอื่นได้ดี
“แมลง ทางเลือกในเขตปฏิรูปที่ดิน ภายใต้แนวคิด ‘แผ่นดินทองคำ เกษตรกรรมยกระดับคุณภาพชีวิต : ALRO Next Step’ เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้และผลการดำเนินงานการปฏิรูปที่ดิน โดยเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 3S คือ Sustainability การบริหารจัดการพื้นที่การเกษตรเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน Security
พื้นที่ผลิตอาหารและสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม แสดงถึงความมั่นคงในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินใน 4 มิติ ได้แก่ 1) ความมั่นคงด้านรายได้ 2) ความมั่นคงด้านอาหาร 3) ความมั่นคงด้านสังคมเกษตร 4) ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม Safety กระบวนการรับรองมาตรฐานการผลิตที่ปลอดภัยในเขตปฏิรูปที่ดิน เป็นแนวคิดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตามภารกิจของ ส.ป.ก. ดังนั้น การทำงานภายใต้ ส.ป.ก. แผ่นดินทองคำ เป็นการตอกย้ำการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามพันธกิจ” ดร.วิณะโรจน์กล่าว