เตือนภัยพืชผักช่วงฤดูฝนเฝ้าระวังโรคใบจุดและเน่าเละ

แจ้งเตือนให้เกษตรกรปลูกผักเฝ้าระวังโรคใบจุดหรือใบจุดตากบ สาเหตุจากเชื้อรา Cercospora lactucae-sativae  ทำลายผลผลิตผักสลัดทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะผักที่มีใบกว้าง เช่น กรีนคอส  บัตเตอร์เฮด

โดยเริ่มแรกแผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน ต่อมาแผลขยายใหญ่มีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น กลางแผลมีสีเทาหรือสีขาว ขอบแผลมีสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายตากบ แผลมีหลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กถึงจุดใหญ่ ขนาด 1-10 มิลลิเมตร เกิดกระจายทั่วใบ ถ้าอาการรุนแรงแผลจะลามขยายติดกันทำให้ใบไหม้ หากเกิดกับใบอ่อนอาจทำให้เกิดอาการใบหงิกงอ

B7453A5B 19E4 401A 8DCD FB8F1CA61F51

วิธีการป้องกันกำจัด ให้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค หรือฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ด โดยแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที  และก่อนการปลูกควรไถพรวนดินลึก ๆ ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 วัน เพื่อให้เศษซากพืชและวัชพืชย่อยสลาย จัดการแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี ควรมีอากาศถ่ายเทหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอเมื่อพบโรคพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เบโนมิล 50% WP อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร  กรณีถ้าพบโรคระบาดรุนแรง ให้ปลูกพืชอื่นสลับหมุนเวียนอย่างน้อย 3 ปี

3AF113E8 62AA 4736 A1FE 6638672564B2

นอกจากนี้ ผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลีผักกาดขาว  ผักกาดหัว  อาจถูกการทำลายจากโรคเน่าเละ  โดยอาการเริ่มแรก แผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำเล็ก ๆ  บนใบหรือบริเวณลำต้น ต่อมาแผลจะขยายลุกลามมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อพืชบริเวณแผลจะยุบตัวลง มีเมือกเยิ้มออกมา และมีกลิ่นเหม็นเฉพาะของโรคนี้ หลังจากนั้นพืชจะเน่ายุบตายไปทั้งต้น โรคนี้พบระบาดมากในฤดูฝน เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืช ทั้งที่อยู่ในแปลงปลูกและในโรงเก็บ

C119C2D0 3BBF 4AD3 BB43 A4E711C2E1DC

การป้องกันกำจัด ให้เลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และมีการระบายน้ำที่ดีก่อนปลูกพืชควรไถพรวนดินให้ลึกมากกว่า 20 เซนติเมตรจากผิวดิน และตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์จะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก  ไม่ควรปลูกพืชแน่นเกินไปเพื่อไม่ให้มีความชื้นสูงเป็นการลดการระบาดของโรค   และระมัดระวังไม่ให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเกิดแผลซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายพืช

B9A0B3AC 7D0C 44A7 91CB 4909BEE5B615

พร้อมกับควรดูแลไม่ให้พืชขาดธาตุแคลเซียมและโบรอน  เพราะจะทำให้พืชเกิดแผลจากอาการปลายใบไหม้และไส้กลวง ทำให้เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายได้ง่าย  หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอหากพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก  ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรหลังใช้กับต้นที่เป็นโรค

นอกจากนี้ หลังการเก็บเกี่ยวควรไถกลบเศษพืชผักทันที และตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วไถกลบอีกครั้งเพื่อลดการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค  ในแปลงที่มีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และข้าวโพด เป็นต้น

E2E5FD5B 8C4C 4C5C 90BC 6C5EE44034FE