สวพส.พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ปรับระบบเกษตร ‘ลดหมอกควัน-แก้จน’คนบนพื้นที่สูง

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำขนาดเล็กเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาหมอกควัน และนำองค์ความรู้งานวิจัยและพัฒนาโครงการหลวง เข้าไปส่งเสริมเพื่อสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง ภายใต้แนวคิดการจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม คำนึงถึงการดำเนินงานการพัฒนาแหล่งน้ำอย่างรวดเร็ว เร่งด่วน ทันท่วงที ใช้งานได้จริง และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนสูงสุด

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เปิดเผยว่า เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างเร่งด่วน สวพส. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำขนาดเล็กเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งขึ้น ทำให้เกษตรกรมีแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค และใช้ในการทำเกษตร มีความมั่นคงทางอาหาร มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

A32F0ABD DC06 40DE 9978 94EB5B9CEA56

การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชน ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต เมื่อชุมชนมีน้ำ ย่อมก่อให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาได้อย่างมีประโยชน์สูงสุดครบทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนและหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน และชุมชน 

5E6A54F9 0391 45B3 A64E D87FEE3183AD

ในการพัฒนาบริการมีการกระจายการพัฒนาที่ทั่วถึงในพื้นที่ดำเนินงานของ สวพส. และเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมในแต่ละด้าน ดังนี้

1) พัฒนาน้ำ ชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำ 12,225 ราย 359 ชุมชน ทำให้มีแหล่งน้ำ 523 แห่ง เป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ 42 แห่ง และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 481 แห่ง มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด มีการแบ่งปันการใช้น้ำอย่างเป็นธรรมทั่วถึงเท่าเทียม และลดความขัดแย้ง รวมทั้งมีการสร้างภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานร่วมกันทุกภาคส่วน อีกทั้งความต้องการในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาภัยแล้งอีก ปี พ.ศ.2566 ยังคงมีความต้องการอีก 60 ชุมชน 120 แห่ง

6F695B80 93C6 47FB AFB6 4F35E22D5793

2) แก้จนคนบนพื้นที่สูง พัฒนาต่อยอดด้านเศรษฐกิจ ชุมชนมีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร 481 แห่งทำให้ชุมชนมีโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพที่จากเดิมต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก รวมทั้งพัฒนาคุณภาพและผลผลิตพืชส่งเสริมเดิม มีการพัฒนาอาชีพที่หลากหลาย สร้างรายได้ที่พอเพียง มีความมั่นคงด้านอาหาร กระจายการพัฒนา และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการปรับระบบเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลูกพืชทางเลือกจากงานวิจัยทดแทนการปลูกพืชเดิมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พืชผักในและนอกโรงเรือน เช่น มะเขือเทศ พริกหวาน หน่อไม้ฝรั่ง เมล่อน ผักใบ องุ่น เสาวรส อะโวกาโด พีชไม้ผล และไม้ยืนต้น เป็นต้น ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งระยะสั้น

และระยะยาวตลอดทั้งปี โดยปลูกพืชแบบประณีต ใช้พื้นที่น้อยรายได้สูง ใช้น้ำน้อยอย่างมีประสิทธิภาพลดใช้สารเคมี ลดการเผาเศษพืช เพาะปลูกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ตามแผนการใช้ที่ดิน ผู้ได้รับประโยชน์ 12,225 ราย พื้นที่รับประโยชน์ 32,653 ไร่ สร้างรายได้ที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตและครอบครัว โดยพืชที่ปลูกมีการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย (GAP) และอินทรีย์ โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงหลังจากการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ดังนี้

4BC7866F 7C56 43B3 BA25 084F8534E395

3) ฟื้นฟูป่า ชุมชนมีส่วนร่วมในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน แบ่งแยกพื้นที่ป่าและที่ทำกิน ป้องกันการบุกรุกป่า 440 ชุมชน อนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร 1,104,038 ไร่ โดยการจัดทำแนวกันไฟ ลาดตระเวนป้องกันไฟป่า จัดทำฝายชะลอน้ำ 79 แห่งปลูกเพื่อฟื้นฟูเพิ่มความหลากหลายของระบบนิเวศต้นน้ำและเพิ่มพื้นที่สีเขียว 18,284 ไร่ ทำให้ชุมชนมีแหล่งน้ำใช้อย่างพอเพียง มีอัตราการเกิดจุด Hotspot ในพื้นที่น้อยกว่าพื้นที่ไม่ได้รับการพัฒนา คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

47B461C4 F04B 457F B77F 3A7C9DF593F2