กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงวางยุทธศาสตร์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้านในสัตว์

ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ​ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ​อัครราชกุมารี​ เป็นองค์ประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ​ สัตว์ปลอดโรค​ คนปลอดภัย ยุทธศาสตร์ที่1 การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้านในสัตว์

วันนี้ 18เมษายน​ 2565​ เวลา​ 14.00​ น.​ ศาสตราจารย์​ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ​ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ​อัครราชกุมารี​ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี​ เป็นองค์ประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ​ สัตว์ปลอดโรค​ คนปลอดภัย​ ยุทธศาสตร์ที่1 การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้านในสัตว์​ โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทูลเกล้าถวายรายงาน พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สรวิศ​ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์​ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง​ เข้าร่วมประชุม​ ผ่านระบบออนไลน์​ Zoom​ Meeting ​

S 14229653

การประชุมครั้งนี้​ เป็นการรายงานผลการดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค​ คนปลอดภัย​จากโรคพิษสุนัขบ้า​ตามพระราชปณิธาน​ฯ​ ประจำปี​ 2565​ สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ในปี 2565 ข้อมูล ณ วันที่ 4 เมษายน 2565 พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ร้อยละ 4.85 พบโรคพิษสุนัขข้าในสัตว์แล้วทั้งสิ้น 69 ตัวอย่าง เป็นสุนัข 66 ตัว โค 2 ตัวและแมว 1 ตัว พบโรคในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี 36 ตัวสงขลา 10 ตัว สมุทรปราการ 6ตัว ระยอง 5 ตัว สระแก้ว 3 ตัวอุบลราชธานี 3 ตัวนครราชสีมา ปทุมธานี ปราจีนบุรี พะเยา นครสวรรค์ และพัทลุง จังหวัดละ1ตัว จากสถานการณ์การระบาด พบส่วนใหญ่เป็นการระบาดในกลุ่มสุนัข คิดเป็นร้อยละ 95.7ของตัวอย่างที่พบผลบวกทั้งหมดในปี 2565 ณ ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่เป็นในกลุ่มสุนัขไม่มีเจ้าของและมากกว่าร้อยละ 60 เป็นสุนัขที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า หรือไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีนผลการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2565 ข้อมูล ณ วันที่ 4 เมษายน 2565

   กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการแล้ว ดังนี้
  1. พัฒนาอาสาปศุสัตว์ โดยวิทยากรจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและสำนักงานปศุสัตว์เขต ทั้งสิ้น 9,618 ราย จากเป้าหมาย 8,600 ราย โดยพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน คือ ปัจจุบันอาสาปศุสัตว์ยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน และควรเพิ่มจำนวนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสร้างแรงจูงใจ โดยให้มีค่าตอบแทนจากการปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
  2. ประสานและติดตามการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยในปี 2565มีเป้าหมายดำเนินการฉีดวัคนในสัตว์จำนวน 9 ล้าน 6 แสนตัว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงานโดยพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน คือกรมปศุสัตว์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบปัญหาด้านการจัดซื้อวัคซีน เนื่องจากราคาวัคซีนปรับเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ไม่มีผู้มายื่นเสนอราคาโดยทางกรมปสุสัตว์ ได้จัดประชุมหารือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหา สั่งการให้ปสัตว์จังหวัดทุกจังหวัดสำรวจผู้จำหน่ายวัคซีนโรคพิษสุนัขข้าในพื้นที่ขอความร่วมมือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้แจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้คงงบประมาณในการจัดซื้อวัคซีนไว้ก่อน
  3. การศึกษาการใช้วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าชนิดกิน เพื่อการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่จังหวัดชลบุรีโดยมีแผนการนำไปใช้ในพื้นที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้าซ้ำซาก ได้แก่ พื้นที่อำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา และอำเภอสัตหีบและได้นำร่องการนำไปใช้แล้ว ในพื้นที่เมืองพัทยาอำเภอบางละมุง และจะมีการขยายผลไปดำเนินการเพื่อการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ในพื้นที่อื่นๆ ที่ประสบปัญหาการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า เช่น ในพื้นที่จังหวัดสงขลา เป็นต้น
  4. ดำเนินการบริหารจัดการควบคุมประชากรสุนัขและแมว โดยการผ่าตัดทำหมัน ปัจจุบันดำเนินการทำหมันแล้วทั้งสิ้น 66,457 ตัว หรือคิดเป็นร้อยละ 76 จากเป้าหมาย 8 หมื่น 7 พันตัว โดยพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน คือ จำนวนบุคลากรสัตวแพทย์ในการทำหมันมีจำนวนจำกัดอีกทั้ง ไม่สามารถดำเนินการจับสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ มาผ่าตัดทำหมันได้อย่างครอบคลุมโดยกรมปศุสัตว์ จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อร่วมดำเนินการในการทำหมันควบคุมประชากรสุนัขและแมวดังกล่าว ต่อไป
S 14229651

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่าตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อชับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย ประกอบด้วย 8ยุทธศาสตร์ กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในยุทธศาสตร์ที่ 1 การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ มีกิจกรรมต่างๆ เช่น การฉีดวัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า การควบคุมจำนวนประชากรสัตว์ การขึ้นทะเบียนสัตว์ และการอบรมอาสาปศสัตว์ และเป็นหน่วยงานสนับสนุน ในยุทธศาสตร์อื่นๆ โดยมีการดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์โครงการฯ ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปในอนาคต โดยมุ่งให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าสอดคล้องตามโครงการสัตว์ปลอด โรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า และสามารถควบคุม และป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในอนาคตได้อย่างยั่งยืนต่อไป