สิ้นสุดการรอคอย…รับรองผลงานนักวิจัยไทยผ่านการตีพิมพ์วารสารนานาชาติ “กระเจียวอุบล” เป็นพืชวงศ์ขิงชนิดใหม่ของโลก

นักวิจัยไทยได้เปิดเผยการค้นพบ “กระเจียวอุบล” พืชวงศ์ขิงชนิดใหม่ของโลก ที่ จ.อุบลราชธานี โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Curcuma ubonensis Boonma, Saensouk, Maknoi & P. Saensouk จัดเป็นพืชถิ่นเดียวและเป็นพืชหายากของประเทศไทย ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Notulae Botanicae Horti Agrobotanici Cluj-Napoca

สำหรับการค้นพบครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของ 4 นักวิจัย ได้แก่ รศ. ดร.สุรพล แสนสุข, รศ. ดร.ปิยะพร แสนสุข, ดร.จรัญ มากน้อย และนายธวัชพงศ์ บุญมา ซึ่งได้เปิดเผยผ่านเฟสบุ๊คว่า 

สิ้นสุดการรอคอย ….. “กระเจียวอุบล” พืชวงศ์ขิงชนิดใหม่ของโลก ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติและออนไลน์เรียบร้อย ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Curcuma ubonensis Boonma, Saensouk, Maknoi & P. Saensouk 

โดยพืชชนิดนี้พบและเก็บตัวอย่างครั้งแรกที่จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะแตกต่างพืชชนิดอื่นอย่างชัดเจน จัดเป็นพืชถิ่นเดียวและเป็นพืชหายากของประเทศไทย การค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกครั้งนี้ โดยทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญและศึกษาพืชสกุลกระเจียว (Curcuma) ของประเทศไทยมาอย่างยาวนานมากกว่า 25 ปี 

IMG 8154

ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง รศ.ดร.สุรพล แสนสุข Surapon Saensouk รศ.ดร.ปิยะพร แสนสุข ปิยะพร แสนสุข จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Mahasarakham University) นายธวัชพงศ์ บุญมา Thawatphong Boonma นักวิจัยจาก Brio Botanical Research Garden – BBRG  อ.บ้านนา จ.นครนายก (ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกในหลักสูตรความหลากหลายทางชีวิภาพ สภาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) และ ดร.จรัญ มากน้อย Charun Maknoi หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลกในพระราขดำริ จ.พิษณุโลก (Romklao Botanic Garden, The Botanical Garden Organization) 

ผลงานวิจัยครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงานวิจัยจาก Thailand Science Research and Innovation (TSRI) และขอขอบคุณกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เอื้อเฟื้ออุปกรณ์ สถานที่ และให้ความอนุเคราะห์ในการวิจัยในครั้งนี้

IMG 8153