“บุพพัณณปรัณณชาติ” คำที่ไพเราะเพราะพริ้งเช่นนี้ หมายถึงอะไร…ใครรู้บ้าง???

ถามมาให้แล้วจากผู้รู้ เปิดเผยว่า “บุพพัณณปรัณณชาติ” คำคำนี้ เราจะได้ยินกันบ่อยสำหรับงานด้านเกษตรกรรมสำคัญ คือ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีซึ่งจัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญแก่เกษตรกรไทย กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี

โดยในปี พ.ศ. 2565 นี้ ได้กำหนดให้วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นวันประกอบพระราชพิธีพืชมงคล ซึ่งเป็นพิธีทำขวัญ พืชพันธุ์ธัญญาหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบพระราชพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง เนื่องจาก”ข้าว”นั้น ถือว่าเป็นอาหารหลักของประชาชน 

375CAB13 E2EE 41A7 A8D9 39FD8B7C48D0

   “ข้าว”ในภาษาบาลีเรียกว่า ปุพพัณณะ หรือ บุพพัณณะ หรือ บุพพัณณชาติ ส่วนพืชอื่น  ที่เป็นอาหารเรียกว่า อปรัณณ หรือ อปรัณชาติ หมายถึง พืชจำพวก ถั่ว งา เป็นต้น ถ้าเรียกควบทั้งสองอย่างเรียกว่าบุพพัณณปรัณณชาติ” ที่หมายถึงพืชที่เป็นอาหารทุกชนิด 

   โดย”บุพพัณณปรัณณชาติ”ที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้น เป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวนอกจากนี้ มีเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ รวม 40 อย่าง แต่ละอย่างจะบรรจุถุงผ้าขาวกับเผือกมันต่าง ๆ

  สำหรับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น ๆ ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหก หรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณี ให้จัดขึ้นในวันนั้น โดยพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีพระราชพิธี 2 พิธีรวมกันคือ พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (พิธีไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีสนามหลวง