“เพลี้ยแป้ง”แมลงสำคัญด้านกักกันพืช ผลไม้ที่ส่งไปประเทศจีนเข้มงวดมากห้ามมีเพลี้ยแป้งติดไปด้วย

เพลี้ยแป้ง ศัตรูพืชตัวเล็กที่ชอบแอบอิงอยู่ตามต้นพืชหรือใบพืช ชอบอยู่ด้วยกันเป็นฝูง ทำให้สร้างความเสียหายให้กับพืชผลไปไม่น้อย เพลี้ยแป้งนั้นจะมีลักษณะสีขาวเพราะมีขี้ผึ้งเคลือบผิวไว้ มีขาเล็ก ๆ รอบ ๆ ลำตัวหลายขา เคลื่อนตัวช้า อาหารที่โปรดปรานของเพลี้ยแป้งก็คือ น้ำหวาน หรือ อาหารจากต้นผักและพืช โดยเพลี้ยแป้งนั้นจะถ่ายน้ำหวานเพื่อที่จะเคลือบใบหรือรากของต้นพืชไว้ จากนั้นก็ทำให้ใบหรือรากขึ้นเชื้อราสีขาว พร้อมกับมีสารเร่งการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ที่ถูกเคลือบไว้ด้วยน้ำหวาน ทำให้ใบพืชส่วนนั้นไม่ได้รับแสงแดดและเหี่ยวเฉาตายได้ในภายหลัง

จากนั้นเพลี้ยแป้งจะค่อยๆ ใช้ปากดูดน้ำหวานในใบพืช ดูดกินน้ำเลี้ยงที่บริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ด้วยการทำข้อตกลงความร่วมมือกับมดชนิดต่าง ๆ เช่นมดแดง มดดำ ว่าจะทำมาหากินพึ่งพาอาศัยกันโดยมดทำหน้าที่คาบเพลี้ยแป้งไปตามส่วนต่าง ๆ ของพืชและเพลี้ยตอบแทนน้ำใจมดด้วยการขับน้ำหวานออกมาเป็นอาหารให้มด และน้ำหวานนี่เองทำให้เกิดราดำเข้าทำลายซ้ำทำให้ผลผลิตกลายเป็นของตกเกรดทันที

323441804 1238085717056283 2775778497672508427 n 2
เพลี้ยแป้ง

เพลี้ยแป้ง ชอบขยายพันธุ์ทำลายพืชในช่วงฤดูแล้งซึ่งเป็นช่วงที่พืชมีสารอาหารที่มีคุณค่าสูง ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมอาจหลบไปอาศัยในพืชหัวใต้ดินเช่นแห้วหมู เป็นต้น

323555172 3492401717660650 8540195970559844837 n
เพลี้ยแป้ง

ตัวเต็มวัย เพศเมียตัวค่อนข้างแบน สีเหลืองอ่อนหรือชมพู มีผงสีขาวคล้ายผงแป้งปกคลุมลำตัว ตัวเมียไม่มีปีก ส่วนตัวผู้มีปีกบินได้ เพลี้ยแป้งขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบใช้เพศและไม่ใช้เพศ หมายความว่าตัวเมียไม่จำเป็นต้องง้อตัวผู้ ไม่ต้องผสมพันธุ์ก็มีทายาทสืบสกุลได้

323457865 909094963594845 5527715855898460487 n
เพลี้ยแป้ง

ตัวเมียบางชนิดจะสร้างถุงไข่ไว้ใต้ท้อง บางชนิดฟักไข่ในท้องแล้วออกลูกเป็นตัว ในรอบปีจะวางไข่ได้ 6 ครั้งสร้างทายาทนับพันตัว

ไข่ เป็นฟองเดี่ยวบรรจุในถุงไข่ มีเส้นใยคล้ายสำลีหุ้มไว้ ไข่ฟักเป็นตัวใน 10 วัน

ตัวอ่อน ออกจากไข่เป็นตัวเล็ก ๆ เคลื่อนที่ไปมาบนต้นไม้ตามหาแหล่งอาหาร มีสีเหลืองอ่อนลอกคราบ 3-4 ครั้ง ตัวอ่อนอายุเฉลี่ย 35 วัน

เพลี้ยแป้งนั้นมีหลายชนิด และแต่ละชนิดจะระบาดหรือเข้าทำลายพืชผลต่างชนิดกัน เช่น เพลี้ยแป้งลายที่มักจะพบในไม้ผลและไม้ดอกบางชนิด และพบมากในฤดูฝน ส่วนเพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์ จะระบาดในมันสำปะหลังบริเวณโคนต้นหรือในดิน เพลี้ยแป้งสีเขียวที่ชอบกินน้ำหวานบริเวณใบแก่ของมันสำปะหลัง พบได้ในไร่มันสำปะหลัง และเพลี้ยแป้งสีชมพูที่เมื่อระบาดแล้วก่อความเสียหายอย่างรุนแรงต่อมันสำปะหลัง

เพลี้ยแป้ง ติดมาได้จากคน สัตว์ และมดที่ชอบกินน้ำหวานจากเพลี้ย และยังรวมทั้งลมและตอพันธุ์พืชที่เอามาเพาะปลูกอีกด้วย จึงควรหาแหล่งพันธุ์พืชในการเพาะปลูกที่ไร้เพลี้ยอ่อนวัชพืชชนิดนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้พืชที่ปลูกเกิดความเสียหายในภายหลังได้

การป้องกันกำจัด

วิถีเกษตรอินทรีย์

1.ตัดส่วนที่เพลี้ยแป้งทำลาย เผาไฟหรือทิ้งน้ำนอกแปลง

2.กำจัดวัชพืชแหล่งอาศัยของเพลี้ยแป้ง

3.ฉีดพ่นด้วยเชื้อราบิวเวอเรีย

4.ฉีดพ่นด้วยไวท์ออย อัตราตามคำแนะนำ

5.อนุรักษ์หรือเพาะขยายแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียน Anagyrus sp.

6.กำจัดมดหรือป้องกันไม่ให้มดขึ้นต้นไม้

วิถีเกษตรปลอดภัย (Good Agricultural Practices: GAP)

ฉีดพ่นด้วยสารกลุ่ม1เช่นไดเมทโธเอต กลุ่ม 4เช่น อิมิดาโคลพริด กลุ่ม6 เช่นอะบาเมกติน เป็นต้น อัตราตามคำแนะนำและใช้สลับกลุ่มหยุดใช้ก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 21 วัน