วันนี้..”วันเต่าโลก”(World Turtle Day) ตรงกับวันที่ 23 พฤษภาคมของทุกปี

วันที่ 23 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น ‘วันเต่าโลก’ (World Turtle Day) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับ “เต่า” รวมทั้งการปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์เต่า

“เต่า” เป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มแรกที่มีวิวัฒนาการขึ้นมาอยู่บนบกอย่างแท้จริง แม้ว่า “เต่า” จะมีอายุยืนยาว แต่ในปัจจุบัน “เต่า” บางชนิดใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกคุกคามโดยมนุษย์ เช่น เต่าตะนุ เต่ามะเฟือง

282571992 374176438077332 6927199623701282340 n
เต่าขึ้นมาวางไข่บนชายหาด

ภัยคุกคามที่ทำให้ประชากร “เต่า” มีจำนวนลดลง อาทิเช่น การสูญเสียพื้นที่อยู่อาศัยเนื่องจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง การทิ้งขยะลงทะเล การทำประมงโดยการลากอวน และอัตราการรอดของ “ลูกเต่า” ในธรรมชาติมีน้อยมาก จึงยิ่งทำให้ประชากรเต่าลดน้อยลงด้วย

283286679 375956881232621 5111960610083121537 n

แต่คุณรู้หรือไม่ว่า..”เต่า” ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกใบนี้กว่า 200 ล้านปีแล้ว ก่อนไดโนเสาร์เสียอีก เต่าสามารถปรับตัวให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านการสูญพันธุ์มาหลายครั้ง

“เต่า” อายุยืนยาวมากกว่ามนุษย์เสียอีก “เต่าทะเล”และ “เต่าบก” ขนาดใหญ่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานมาก เต่าสามารถมีอายุได้ถึง 150 ปีหรือมากกว่านั้น มีการประมาณว่า “เต่าตัวใหญ่” อาจมีอายุยืน ราว 400 ถึง 500 ปี

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ “เต่า” ทุกชนิดที่ว่ายน้ำได้ “เต่าบก” ว่ายน้ำไม่เป็น ถ้าปล่อยลงน้ำจะจม เนื่องจากกระดองเต่ามีน้ำหนักมาก ส่วน “เต่าน้ำจืด” ว่ายน้ำได้ แต่ต้องการพื้นดินไว้พักในการว่ายน้ำด้วย ส่วน “เต่าทะเล” อาศัยอยู่ในทะเล ยกเว้นตอนวางไข่ จะขึ้นมาวางไข่บนบก

อุณหภูมิส่งผลต่อเพศ ไม่ว่าลูกเต่าทะเลที่เพิ่งฟักจะเกิดมาเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย มันต่างก็ถูกกำหนดโดยอุณหภูมิของบริเวณรัง หากอุณหภูมิสูงกว่าจุดที่ส่งผลต่อการเพาะฟักไข่เต่า หรือ “pivotal temperature” (28 – 29 องศาเซลเซียส) เต่าที่เกิดมาจะเป็นเพศเมีย และถ้าต่ำกว่า ก็จะเป็นเพศผู้ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นส่งผลให้เต่าที่เกิดมาเป็นเพศเมียในอัตราส่วนที่มากกว่าเพศผู้ ยิ่งทำให้อัตราการเกิดของเต่ายิ่งน้อยลงไปด้วย

“เต่า “ทุกตัววางไข่บนบก ไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลหลายพันไมล์ เต่าก็จะกลับมาวางไข่ในที่ที่มันเกิด เพราะเต่ามีเข็มทิศในตัว ทำให้มันสามารถจำทางกลับบ้านได้

“เต่า”ไม่สามารถคลานออกจากกระดองได้ เพราะกระดองคือกระดูกที่ต่อเข้ากับกระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก และกระดูกหัวไหล่บางส่วน ทำให้กระดูกเหล่านี้ถูกยึดติดกับกระดอง ทั้งกระดองหลังและกระดองท้องของเต่า

“เต่า” จึงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย มันทำได้เพียงหดเข้ากระดองเท่านั้น ดังนั้นทุกคนต้องช่วยกัน “อนุรักษ์เต่า”ไว้ ไม่ให้สูญพันธุ์

ข้อมูลจาก มูลนิธิสืบนาคะเสถียร