MRLs (ค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่มีได้ในสินค้าเกษตร) เกษตรกร- ผู้ประกอบการ ต้องรู้

ทำไมเกษตรกร และผู้ส่งออกสินค้าเกษตร จึงต้องรู้ค่า MRLs ในผักและผลไม้ของประเทศต่าง ๆ

.

เพราะการผลิตและจำหน่ายผักและผลไม้ ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยอาหารที่กำหนด และยังใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าผักและผลไม้ รวมถึงใช้ในการเฝ้าระวัง ตรวจติดตามการใช้สารเคมีของเกษตรกรให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยอาหารที่กำหนด

330914079 559862266095443 2081735197463660178 n

MRLs ย่อมาจากคำว่า Maximun Residue Limits คือ ระดับปริมาณสารพิษซึ่งเป็นอันตรายทางเคมี (chemical hazard) เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ (pesticides) สารพิษที่สร้างจากเชื้อรา (mycotoxin) ซึ่งตกค้างสูงสุดในอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์

330623900 594526632057939 8264142460775992268 n

หน่วยของค่า MRLs

ค่า MRLs มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม (มก.) ของสารพิษตกค้างต่อกิโลกรัม (กก.) ของผลิตภัณฑ์อาหาร

330979840 495673372767151 6511735528363456979 n

ค่า MRLs จึงใช้เพื่อเป็นเกณฑ์ในการค้าขายว่าจะต้องไม่มีปริมาณสารตกค้างของสารพิษตกค้าง โดยปกติจะกำหนดไว้ในระดับที่ต่ำกว่าระดับความปลอดภัยของสารพิษตกค้างที่ร่างกายสามารถรับได้ในแต่ละวันตลอดชีวิต ในทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า ค่า “เอดีไอ” (ADI: Acceptable Daily Intake) ดังนั้น ค่า เอ็มอาร์แอล (MRL) จึงไม่ใช่ค่าที่ชี้ถึงระดับความปลอดภัย แต่เป็นค่าที่ใช้ในทางการค้า โดยการกำหนด MRLs อยู่บนพื้นฐานของการประเมินข้อมูลที่สมบูรณ์ครบถ้วน และอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยจะมีคณะผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารพิษตกค้างเป็นผู้ประเมินข้อมูลทั้งทางด้านสารพิษตกค้างในอาหาร ผลิตผลเกษตรและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด้านสมบัติและพิษวิทยาของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

330924481 927773931549801 8564861879843036246 n

MRLs ในแต่ละประเทศ

สารพิษตกค้างที่ตรวจพบ ในแต่ละประเทศจะกำหนดโดยยึดค่าจาก Codex MRL , EU MRL ,Asian MRL Positive list system หรีอ จากการทดลองภายในประเทศ ถ้าประเทศใดที่เข้มงวดมากโดยใช้ค่า Codex MRL เป็นมาตราฐาน หากตรวจพบสารพิษตกค้างที่ไม่ได้กำหนดใช้เท่ากับว่าสินค้านั้นจะถูกปฏิเสธการซื้อหรือขายในประเทศนั้น ๆ แต่ในบางประเทศที่มีเกณฑ์มาตราฐานที่ต่ำกว่าก็อาจมีข้อยกเว้น

ประเทศไทยได้กำหนดการจัดตั้งค่ามาตราฐานสารพิษตกค้างในพืชผลเกษตร โดยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช) และสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

CODEX-MRL

ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่กำหนดโดยคณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศของโครงการมาตรฐานอาหาร เอฟเอโอ/ดับเบิลยูเอชโอ (Codex Alimentarius Commission, Joint FAO/WHO Food Standards Programme; Codex)

โดยค่า MRLs ในแต่ละประเทศจะมีหน่วยงานเฉพาะกำหนดขึ้น ดังนี้

ประเทศไทย ได้ออกประกาศดังนี้

1) มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9002-2559 เรื่อง สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ www.acfs.go.th/standard/download/MAXIMUM-RESIDUE-LIMITS.pdf

2) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร :สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/279/4.PDF

3) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร :สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 3) สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/2563/E/287/T_0040.PDF

สำหรับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย

สหภาพยุโรป สามารถสืบค้นค่า MRLs ได้ที่ http://ec.europa.eu/…/eu-pesticides-database/mrls/…

*** สหภาพยุโรปมีการพัฒนาเว็บไซต์ในการสืบค้นค่า MRLs อยู่เสมอจึงควรตรวจสอบข้อมูลเป็นระยะ

ประเทศญี่ปุ่น สามารถสืบค้นค่า MRLs ได้ที่ db.ffcr.or.jp/front

*** ญี่ปุ่นใช้ระบบการกำหนดค่า MRLs เป็นระบบ Positive List โดยอนุญาตให้พบสารเคมีตกค้างตามชนิดที่ระบุเท่านั้น หากสารเคมีชนิดใดไม่ปรากฏในรายการที่กำหนดให้ใช้ค่าดีฟอลต์ลิมิตที่ระดับ 0.01 mg/kg

สาธารณรัฐเกาหลี สามารถสืบค้นค่า MRLs ได้ที่ http://www.foodsafetykorea.go.kr/residue/prd/mrls/list.do…

*** สาธารณรัฐเกาหลีใช้ระบบการกำหนดค่า MRLs เป็นระบบ Positive List โดยอนุญาตให้พบสารเคมีตกค้างตามชนิดที่ระบุเท่านั้น หากสารเคมีชนิดใดไม่ปรากฏในรายการที่กำหนดให้ใช้ค่าดีฟอลต์ลิมิตที่ระดับ 0.01 mg/kg

สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สามารถสืบค้นได้ที่ https://consumer.fda.gov.tw/Law/PesticideList.aspx…

*** ไต้หวันได้มีการกำหนดค่า MRLs ในมาตรฐานปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดในอาหาร (Standards for Pesticide Residue Limits in Foods) โดยอนุญาตให้พบสารเคมีตกค้างตามชนิดที่ระบุเท่านั้น หากสารชนิดใดไม่ได้ระบุไว้ให้ถือว่าต้องตรวจไม่พบในผลิตภัณฑ์นั้น

สาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถสืบค้นค่า MRLs ได้ที่ http://www.fas.usda.gov/…/china-translation-maximum…

*** จีนมีการกำหนดมาตรฐานสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในอาหาร โดยต้องเป็นไปตามมาตรฐาน GB 2763 National Food Safety Standard Maximum Residue Limits for Pesticides in Food

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มพัฒนาระบบความปลอดภัยสินค้าพืช กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. 0 2579 2565 อีเมล [email protected] หรือที่เว็บไซต์ www.doa.go.th/psco