ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๑ ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบสูง

วัตถุประสงค์

เพื่อวิจัยและพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่มีศักยภาพให้ผลผลิตทะลายสดและผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบสูงกว่าลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3 ไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือก

%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2
ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๑

ประวัติ

ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๑ หรือปาล์มน้ำมันคู่ผสม 173 (Deli x Calabar-AVROS) ได้จากการผสมข้ามระหว่างแม่พันธุ์ 73/49D กลุ่ม Deli Dura กับพ่อพันธุ์ 122/1446T กลุ่ม Calabar-AVROS ในปี 2544 โดยแม่พันธุ์ 73/49D ได้จากการคัดเลือกต้นดูราหมายเลข 49D ซึ่งได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์ C34:156D กับ DAM563:391D และพ่อพันธุ์ 122/1446T ได้จากคัดเลือกต้นหมายเลข 1446T ซึ่งได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์ IRH629:316T (Calabar) กับ HC129:1009P (AVROS) ปี 2545-2546 ดำเนินการผลิตเมล็ดงอกและต้นกล้าปาล์มน้ำมัน และปลูกทดสอบคู่ผสม 173 ร่วมกับคู่ผสมอื่นๆ ในปี 2546 โดยมีพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ณ ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ระหว่างปี 2547-2548 ดูแลรักษาต้นกล้าอายุ 1-2 ปี และบันทึกลักษณะประจำพันธุ์ ระหว่างปี 2549-2560 ศึกษาและประเมินลักษณะทางการเกษตร บันทึกข้อมูลลักษณะทางการเกษตรของปาล์มน้ำมันต่อเนื่อง อายุ 3-14 ปี บันทึกข้อมูลผลผลิตทะลายสด องค์ประกอบผลผลิต องค์ประกอบทะลาย การเจริญเติบโต ตามแบบแผนงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ปี 2561-2564 วิเคราะห์ผลและคัดเลือกคู่ผสมดีเด่น

%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2 2 scaled
ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๑

ลักษณะเด่น

1. ผลผลิตทะลายสดสูง ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยช่วงอายุ 4-11 ปี 4,139.7 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,439.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 20.4 เปอร์เซ็นต์

2. ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบสูง ให้ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 950.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 คิดเป็น 21.7 เปอร์เซ็นต์ (คำนวณจากเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลายคูณผลผลิตทะลายสด ทั้งนี้คู่ผสม 173 มีน้ำมันต่อทะลาย 27.0 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่าอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มดิบของโรงงาน (Oil extraction rate: OER) 23.0 เปอร์เซ็นต์)

%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2 3 scaled
ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๑

3. ลักษณะผลมีเปลือกนอกหนาและกะลาบาง มีเปลือกนอกสดต่อผล 87.6 เปอร์เซ็นต์ และมีกะลาต่อผล 6.0 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกและพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 84.0 เปอร์เซ็นต์ และ 9.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

%E0%B8%9B%E0%B8%B2 scaled
ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๑

พื้นที่แนะนำ

ควรปลูกในพื้นที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมสูงและเหมาะสมปานกลาง

พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมสูง หมายถึง พื้นที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000-4,000 มิลลิเมตรต่อปี มีจำนวนเดือนที่มีปริมาณฝนน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรต่อเดือน ไม่เกิน 1 เดือน ดินมีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง และมีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลางถึงสูงมาก พื้นที่มีความลาดชันอยู่ระหว่าง 0-5 เปอร์เซ็นต์ สามารถให้ผลผลิตทะลายปาล์มสดมากกว่า 3,500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A1 scaled
ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๑

พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมปานกลาง หมายถึง พื้นที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,800-1,900 มิลลิเมตรต่อปี มีจำนวนเดือนที่มีปริมาณฝนน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรต่อเดือน 1-2 เดือน ดินมีการระบายน้ำช้า มีน้ำท่วมขังสั้น ๆ (น้อยกว่า 5 วัน) และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่มีความลาดชันอยู่ระหว่าง 5-12 เปอร์เซ็นต์ สามารถให้ผลผลิตทะลายปาล์มสด 3,000-3,500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A1 1 scaled
ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๑

ข้อควรระวัง

พันธุ์ปาล์มน้ำมันเป็นลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) จึงไม่ควรนำเมล็ดที่ได้ไปขยายพันธุ์ต่อ เพราะจะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันมีการกระจายตัวในลักษณะต่าง ๆ เช่น มีลักษณะกะลาหนาหรือทะลายฝ่อ ทำให้ผลผลิตต่ำ น้ำมันน้อย