ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๒ ผลผลิตทะลายสดสูง เนื้อในเมล็ดสูง

วัตถุประสงค์

เพื่อวิจัยและพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่มีศักยภาพให้ผลผลิตทะลายสดสูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณเนื้อในเมล็ดสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกและสูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์

%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%B2 scaled
ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๒

ประวัติ

ปาล์มน้ำมันคู่ผสม 207 (Deli x Tanzania) ได้จากการผสมข้ามระหว่างแม่พันธุ์ 75/1319D กลุ่ม Deli Dura กับพ่อพันธุ์ 159/398T กลุ่ม Tanzania ในปี 2544 โดยแม่พันธุ์ 75/1319D ได้จากการคัดเลือกต้นหมายเลข 1319D จากสายพันธุ์ C42:67D x DAM564:693D  และพ่อพันธุ์ 159/398T ได้จากคัดเลือกต้นหมายเลข 398T ซึ่งได้จากประชากรสายพันธุ์ 159 (TAN544:137T x TAN544:180T) กลุ่ม Tanzania ปี 2545-2546 ดำเนินการผลิตเมล็ดงอกและต้นกล้าปาล์มน้ำมัน และปลูกทดสอบคู่ผสม 207 ร่วมกับคู่ผสมอื่น ๆ ในปี 2546 โดยมีพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ณ ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ระหว่างปี 2547-2548 ดูแลรักษาต้นกล้าอายุ 1-2 ปี และบันทึกลักษณะประจำพันธุ์ ระหว่างปี 2549-2560 ศึกษาและประเมินลักษณะทางการเกษตร บันทึกข้อมูลลักษณะทางการเกษตรของปาล์มน้ำมันต่อเนื่อง อายุ 3-14 ปี บันทึกข้อมูลผลผลิตทะลายสด องค์ประกอบผลผลิต องค์ประกอบทะลาย การเจริญเติบโต ตามแบบแผนงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ปี 2561-2564 วิเคราะห์ผลและคัดเลือกคู่ผสมดีเด่น

%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%B2%E0%B8%B2 scaled
ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๒

ลักษณะเด่น

1. ผลผลิตทะลายสดสูง ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยช่วงอายุ 4-11 ปี 4,310.8 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,439.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 25.3 เปอร์เซ็นต์

2. ปริมาณเนื้อในเมล็ดสูง มีเนื้อในต่อผล 10.1 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกและพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 6.3 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 60.3 เปอร์เซ็นต์

3.ลักษณะผลมีกะลาบาง มีกะลาต่อผล 8.7 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีกะลาต่อผล 9.7 เปอร์เซ็นต์

%E0%B8%9B%E0%B8%9B scaled
ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๒

พื้นที่แนะนำ

ควรปลูกในพื้นที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมสูงและเหมาะสมปานกลาง

พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมสูง หมายถึง พื้นที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000-4,000 มิลลิเมตรต่อปี มีจำนวนเดือนที่มีปริมาณฝนน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรต่อเดือน ไม่เกิน 1 เดือน ดินมีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง และมีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลางถึงสูงมาก พื้นที่มีความลาดชันอยู่ระหว่าง 0-5 เปอร์เซ็นต์ สามารถให้ผลผลิตทะลายปาล์มสดมากกว่า 3,500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%B2%E0%B8%B2%E0%B8%B2%E0%B8%B2
ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๒

พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมปานกลาง หมายถึง พื้นที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,800-1,900 มิลลิเมตรต่อปี มีจำนวนเดือนที่มีปริมาณฝนน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรต่อเดือน 1-2 เดือน ดินมีการระบายน้ำช้า มีน้ำท่วมขังสั้น ๆ (น้อยกว่า 5 วัน) และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่มีความลาดชันอยู่ระหว่าง 5-12 เปอร์เซ็นต์ สามารถให้ผลผลิตทะลายปาล์มสด 3,000-3,500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

8CA03B01 EF29 4BB4 9AF1 311AB224854E
ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์ กวก.สุราษฎร์ธานี ๑๒

ข้อควรระวัง

พันธุ์ปาล์มน้ำมันเป็นลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) จึงไม่ควรนำเมล็ดที่ได้ไปขยายพันธุ์ต่อ เพราะจะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันมีการกระจายตัวในลักษณะต่าง ๆ เช่น มีลักษณะกะลาหนาหรือทะลายฝ่อ ทำให้ผลผลิตต่ำ น้ำมันน้อย