รู้หรือไม่…”ทุ่งลาวามอสแห่งไอซ์แลนด์“ สิ่งมีชีวิตอันเปราะบาง บนพื้นที่ไร้ชีวิต ที่ผู้ไปเยี่ยมชมไม่ควรแตะต้อง

ทุ่งลาวามอส ไอซ์แลนด์ หนึ่งในสถานที่มหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลก ท่ามกลางความตายที่ไม่มีชีวิตไหนเติบโตได้ แต่สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ นี้กลับงอกเงยครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ถึง 565 ตารางกิโลเมตร  กระนั้นพวกมันก็กลับเปราะบางจากการโดนทับหรือเหยียบจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ 

จุดเริ่มต้นของทุ่งลาวามอสนั้นเกิดขึ้นจากการปะทุของภูเขาไฟที่พ่นเถ้าถ่านออกมานานกว่า 8 เดือนในช่วงปีอพ.ศ. 2326 ถึงพ.ศ. 2327 ชาวไอซ์แลนด์รู้จักเหตุการณ์นี้ในชื่อว่า ‘Skaftareldar’ 

นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่ามันเป็นช่วงเวลาที่สร้างความหายนะให้กับไม่เพียงแต่ไอซ์แลนด์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงยุโรปบางส่วน และนักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่ามีส่วนทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสด้วยเช่นกัน

เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้สัตว์ในฟาร์มและพืชผลเสียหายมากตั้งแต่ร้อยละ 53 ถึง 82 ของทั้งหมด และทำให้ผู้คนล้มลายจากความอดอยากกับโรคระบาดไปกว่า 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด ไม่เพียงเท่านั้นเกาะอังกฤษและฝรั่งเศสยังถูกเถ้าถ่านบดบังแสงอาทิตย์ ส่งผลให้การเกษตรกรรมต้องหยุดชะงักจนอาหารขาดแคลน

หลังจากลาวาได้เย็นตัวลง กลับมีสิ่งหนึ่งงอกเงย นั่นคือทุ่งลาวามอส 

IMG 7007

Ingibjörg Svala Jónsdóttir ศาสตราจารย์ด้านนิเวศวิทยาที่มหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ กล่าวว่า “สิ่งที่เรียกว่า ‘ไอซ์แลนด์มอส’ ในภาษาอังกฤษจริง ๆ แล้วมันคือไลเคน ที่พบได้ทั่วไปที่นี่ และเป็นหนึ่งในไลเคนไม่กี่ชนิด ที่มนุษย์บริโภคเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่มากก็น้อย เพราะมันเป็นแหล่งพลังงานที่ดี”

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าลมอาจพัดพาสปอร์จำนวนมากลงมาตกบริเวณที่ลาวาแห้งแล้ว แต่ถึงแม้จะมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ชีวิตเล็กๆ กลับเติบโตและแผ่ขยายเป็นวงกว้าง 

โดยไลเคน มอส ตะไคร้น้ำ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นประเภทเดียวกัน เนื่องจากพวกมันเหมือนกันมากเมื่อดูจากภายนอก จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่ามันถูกเรียกว่ามอสมาอย่างยาวนาน 

แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร ก็ไม่อาจบิดบังความพยายามที่จะมีชีวิตของมัน ไลเคนนั้นเป็นเหมือนสังคมเล็ก ๆ ที่มีสิ่งมีชีวิตหลายอย่างอยู่ร่วมกันกับเชื้อรา และหนึ่งในนั้นคือจุลินทรีย์สาหร่ายสีเขียวเล็ก ๆ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมมันจึงมีสีเขียว

“พวกเขาร่วมกันสร้างสิ่งมีชีวิตที่แข็งแกร่งมาก ซึ่งทนต่อสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น สถานที่แห้งและอุณหภูมิต่ำ” ศาสตราจารย์ Jónsdóttir อธิบาย 

สาหร่ายสีเขียวได้ทำการสังเคราะห์แสงสร้างสารประกอบอินทรีย์จากนั้นก็ส่งให้เชื้อราเปลี่ยนมันเป็นสารอาหารเพื่อแลกกับการปกป้องจากแสงยูวีที่เป็นอันตราย พวกมันไม่มีรากจึงไม่จำเป็นต้องการดิน ดังนั้นเราจึงเห็นมันอยู่ได้แม้กระทั่งลาวาที่เย็นแล้ว

ศาสตราจารย์ Jónsdóttir เสริมว่า ไลเคนเหล่านี้สามารถเติบโตได้แม้กระทั่งในอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) แต่ด้วยความแร้นแค้น พวกมันจึงโตช้า เพียงแค่ 1 เซนติเมตรต่อปี กระนั้นพวกมันก็เป็นแหล่งอาหารสำคัญสำหรับกวางเรนเดียร์ การที่มีไลเคนเหล่านี้อยู่เป็นสัญญาณของระบบนิเวศที่ดี 

ไม่เพียงเท่านั้นพวกมันยังมีคุณสมบัติด้านยา ชาวไอซ์แลนด์ท้องถิ่นในสมัยโบราณใช้พวกมันเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหวัด ไอ ทางเดินหายใจ และปัญหาด้านทางเดินอาหาร อีกทั้งยังสามารถบริโภคเป็นชา 

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้เลิกใช้ไลเคนเหล่านี้แล้วเนื่องจากความต้องการด้านอนุรักษ์จึงทำให้ไม่มีงานวิจัยสมัยใหม่ศึกษาอย่างจริงจัง

สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เปราะบางมาก ศาสตราจารย์ Jónsdóttir ได้เน้นย้ำว่า “เมื่อเดินอยู่ในทุ่งลาวามอส จงอยู่ในเส้นทางเสมอ เพราะพวกมันมักตายหลังจากโดนเหยียบ” 

พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบนิเวศ การไหลของคาร์บอน และการไหลเวียนของสารอาหาร ดังนั้นความเคารพและการรักษาให้ระบบนิเวศยังคงดำเนินต่อไปได้ตามวิถีของธรรมชาติเป็นเรื่องที่ต้องตระหนักไว้

ไอซ์แลนด์มี ‘ทุ่งลาวามอส่ง อยู่ทั้งหมด 5 แห่ง โดยแห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือทุ่งลาวามอสเอลธรอน (Eldhraun) ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่ทางสหรัฐอเมริกาเคยใช้ฝึกลูกเรือในโครงการอพอลโล 11 เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับพื้นผิวดวงจันทร์

IMG 7005

ขอบคุณข้อมูล : National Geographic Thailand