อธิบดีกรมปศุสัตว์ลุยพื้นที่เมืองยะลา ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานตรวจติดตามงานด้านปศุสัตว์ในพื้นที่เขต 9 โดยมีนายอรรถพล แสนพันทา ปศุสัตว์จังหวัยะลา,น.ส.เยาวนิตย์ บุรีรักษา เลขานุการกรม,ผู้แทนกกจ,และเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดยะลาร่วมลงพื้นในครั้งนี้

ด้านอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่าการลงพื้นตรวจติดตามงานด้านปศุสัตว์ในครั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนงานตามนโยบายของกรมปศุสัตว์ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2565 เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ดำเนินงานด้านปศุสัตว์ให้เป็นไปตามแผนงานและนโยบายของกรมปศุสัตว์ที่ตั้งไว้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดโดยยึดประโยชน์ของเกษตรกรในพื้นที่เป็นสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเกิดการพัฒนางานในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

8DAA41B6 B7F8 4616 88AD 52C4551F700F

อธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะยังพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงผึ้งชันโรงระบบอินทรีย์ Janry farm โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์เน้นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเลี้ยงผึ้งเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตของประเทศไทยสามารถส่งเสริมและพัฒนาการผลิตได้อีก หลายเท่าตัว เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งบริโภคภายในประเทศและการ ส่งออกท่ีสร้างรายได้และเป็นประโยชน์อย่างมากมาย

E10D9E27 B30D 4DEE 8251 4583DBC83D5A

กรมปศุสัตว์มีแนวทางที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสินค้าแมลงเศรษฐกิจให้ปลอดภัยและได้มาตรฐานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการส่งผลให้เกิดความมั่นคงกับอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าแมลงเศรษฐกิจของประเทศรวมถึงให้เกษตรกรได้ตรวจสอบการเลี้ยงผึ้งของตนเองว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักมาตรฐานฟาร์มผึ้ง ตามที่กรมปศุสัตว์ได้จัดทำแนวทางการตรวจสอบตามคําแนะนําปฏิบัติตามข้อกําหนดและแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับฟาร์มผึ้งเพื่อให้เกษตรกรทราบปัญหาในแต่ละประเด็นที่ต้องปฏิบัติสามารถจะปรับปรุงให้กับการเลี้ยงผึ้งของตนเองให้ถูกต้อง ซึ่งจะทําให้ผลผลิตผึ้งที่ได้รับมีมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภคปัจจุบันเกษตรกรส่งออกน้ำผึ้งให้กับประเทศจีนซึ่งได้ราคาค่อนข้างสูงและปริมาณความต้องการสูงด้วยเช่นกันโดยคุณสมบัติเด่นของน้ำผึ้งชันโรงระบบอินทรีย์ Janely farm จะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว และหอมกลิ่วชันไม้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เด่นขอน้ำผึ้งชันโรงของฟาร์มที่นี้

71793306 A47B 47F5 A8CC 6690A179FA77

นอกจากนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ นทพ.อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่าการเลี้ยงโคเนื้อเป็นกลุ่มหรือในรูปอบบของสหกรณ์ถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับสมาชิกเพราะทำให้การบริหารจัดการได้ดีขึ้นกรมปศุสัตว์ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพที่มั่นคงเนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนวัวลดลงเรื่อยๆประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซียมีความต้องการโคเนื้อจากประเทศไทยจำนวนมากขึ้น

ทั้งนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยที่จะผลิตโคเนื้อคุณภาพดีเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคและเพื่อการส่งออก ยังเป็นลดการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศอีกด้วยและอีกอย่างคือเรื่องอาหารสัตว์กรมปศุสัตว์ก็ยังส่งเสริมแลพสนับสนุนรวมถึงแนะนำพืชอาหารสัตว์ในการเลี้ยงโคเนื้อการใช้วัตถุดิบหลักที่มีอยู่ในพื้นที่ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรและมีความยั่งยืนของวัตถุดิบ ซึ่งในพื้นที่ได้เปรียบในบางวัตถุดิบหลัก เช่น กากเนื้อในเมล็ดปาล์ม ปลาป่น เป็นวัตถุดิบโปรตีนคุณภาพดี ส่วนทางใบปาล์ม ใยปาล์ม เป็นของเหลือทิ้งที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบได้ หรืออาหารหยาบอย่างหญ้าเนเปียร์ที่มีตลอด แต่วัตถุดิบอื่น เช่นกากถั่วเหลือง กากข้าวโพด ยังต้องนำมาจากพื้นที่อื่น ส่วนสูตรอาหารได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน แต่เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้วัตถุดิบตามแต่ละท้องถิ่นได้ 

3592063B 7D84 43C2 8361 E40904F0C69A

อธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะยังได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติด้านการเลี้ยงสัตว์(สุกร-ไก่เบตง) โดยนายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยงเป็นเกษตรกรที่ได้การรับรองเป็นฟาร์มสุกรปลอดสารเร่งเนื้อแดง ฟาร์มรักษ์สิ่งแวดล้อม ฟาร์มเลี้ยงสุกรปลอดยาปฏิชีวนะแห่งเดียวในภาคใต้ มีโรงฆ่าสัตว์ตามมาตรฐานกรมปศุสัตว์ (โรงฆ่าสุกรและโรงฆ่าสัตว์ปีกฮาลาล) มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ มีเขียงและหน้าร้านจำหน่าย สินค้าที่ผลิตได้รับเครื่องหมาย “ปศุสัตว์ OK” 

2388A699 98FA 439E 9ED5 55E6101295A4

นอกจากนี้ได้มีการทำฟาร์มสุกรปลอดสารเร่งเนื้อแดงจนถึงปัจจุบันและจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรเพื่อผู้บริโภคจังหวัดยะลา สมาชิกประมาณ 100 ราย เพื่อจำหน่ายเนื้อสุกรราคาถูก แปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าด้านปศุสัตว์ การทำฟาร์มเลี้ยงสุกรตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ และ นำเข้าสุกรพันธุ์แท้จากอังกฤษ พันธุ์ ACMC (เหมยซาน – ลาร์จไวท์) สายเลือดระดับ GGP และใช้อาหารของบริษัทร่วมกับอาหารสุกรขุนผสมเองบางส่วนเพื่อลดต้นทุนการผลิต และสร้างโรงฆ่าสุกรตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคระบาด 

รวมทั้ง ได้ก่อตั้งฟาร์มไก่เบตง โดยนำลูกไก่เบตงพันธุ์แท้จากศูนย์วิจัยและพัฒนาแพะแกะยะลา และสายพันธุ์เดิมที่มีในฟาร์ม สร้างโรงเชือดไก่เบตงตามมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์ปีกทำให้การประกอบการเลี้ยงสัตว์เป็นไปได้ด้วยดีนอกจากนี้มีการใช้โปรไบโอติกทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ และจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งลงสู่ธรรมชาติโดยการสร้างบ่อบำบัดก๊าซชีวภาพ ซึ่งทำให้ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานในการผลิตได้อย่างมาก