เฉลิมชัยเอาจริง! สั่งกรมปศุสัตว์กวาดล้างแก๊งนำเข้าเนื้อหมูเถื่อนป้องกัน‘โรคระบาด-สารตกค้าง’

เฉลิมชัยเอาจริง! สั่งกรมปศุสัตว์กวาดล้างทลายแก๊งนำเข้าเนื้อหมูผิดกฎหมาย ป้องกัน‘โรคระบาด – สารตกค้าง’แนะผู้บริโภคเลือกซื้อเนื้อสัตว์ มาตรฐาน‘ปศุสัตว์ OK’ พร้อมเร่ง‘Pig Sandbox’ ฟื้นฟูการผลิตสุกรในประเทศ

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการกรมปศุสัตว์เข้มงวด ทลายกวาดล้างขบวนการนำเข้าเนื้อหมูผิดกฎหมาย ไม่ได้มาตรฐาน กำชับกรมปศุสัตว์ ลุยพื้นที่ตรวจสอบต่อเนื่อง พร้อมผนึกกำลังหน่วยงานเกี่ยวข้อง ป้องกันการลักลอบนำเข้าผิดกฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบผู้กระทำความผิด ให้ดำเนินการตามกฎหมายในทันที  ไม่ละเว้นให้กับผู้ใดทั้งสิ้น พร้อมแนะผู้บริโภคซื้อสินค้าปศุสัตว์ปลอดภัยตราสัญลักษณ์ ‘ปศุสัตว์ OK’ และเร่งขับเคลื่อน ‘Pig Sandbox’ ส่งเสริมและยกระดับการผลิตสุกรในประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า จากที่ได้มีกระแสข่าวการลักลอบนำสินค้าเนื้อและชิ้นส่วนสุกรเข้าประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลและความเสี่ยงต่อการนำเชื้อไวรัส หรือพาหะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคระบาดร้ายแรง โดยเฉพาะโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF)ในสุกรเข้าสู่ประเทศ เสี่ยงทั้งโรคระบาดและสารเร่งเนื้อแดง ซึ่งสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ตลอดจนผู้บริโภค 

064E5A3E B51C 48F7 8820 6269B209BB87

โดยวันที่ 30 สิงหาคม 2565 ทางสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้มีการจัดแถลงข่าว ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ ชี้แจงให้ข้อมูลในรายละเอียดในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินงานอย่างเข้มงวดมาโดยตลอด โดยมีการจัดทีมตรวจค้นห้องเย็นหรือสถานที่พักซากสัตว์ทั่วประเทศ 

พร้อมกับขอความร่วมมือในการปฏิบัติงานป้องกันการการลักลอบนำเข้าไปยังกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมศุลกากร จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษปราบปรามผู้กระทำความผิดตามกฎหมายที่กรมปศุสัตว์รับผิดชอบซึ่งกรมปศุสัตว์ โดยกองสารวัตรและกักกัน ได้เข้มงวดในการปฏิบัติงานตรวจสอบการนำเข้า ส่งออกและนำผ่านราชอาณาจักร โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนติดต่อกับเมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย มีเจ้าหน้าที่ชุดสุนัขดมกลิ่นปฏิบัติงานในพื้นที่สนามบิน เพื่อตรวจค้นหาซากสัตว์ (ซากสุกร) ซึ่งหากพบผู้กระทำผิด ต้องดำเนินการตามกฎหมายโดยเด็ดขาดและถึงที่สุด ไม่ละเว้นให้กับผู้ใดทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ได้กำหนดให้มีการเครื่องหมายประจำตัวสัตว์สำหรับซากสัตว์ที่มีการนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าปศุสัตว์ปลอดภัย ขอให้สังเกตตราสัญลักษณ์ ‘ปศุสัตว์ OK’ ซึ่งเชื่อมั่นถึงความสะอาด สุขอนามัย เนื้อสัตว์ปลอดโรคระบาด และไร้สารตกค้าง ได้คุณภาพมาตรฐานอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ในส่วนของการส่งเสริมและฟื้นฟู ได้ให้กรมปศุสัตว์ เร่งขับเคลื่อนโครงการ Sandbox ปศุสัตว์ ตามนโยบายของรัฐบาล นำร่อง “Pig Sandbox” พื้นที่ควบคุมพิเศษ จังหวัดราชบุรี และพื้นที่ปศุสัตว์เขต 5 (ภาคเหนือตอนบน)

49F767F6 20E7 4440 9800 681B1CFF28AB

พร้อมนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ASF ในสุกร โดยได้วางนโยบายและมาตรการต่างๆ อย่างครอบคลุม เข้มข้น และต่อเนื่อง ซึ่งนับจากที่ประเทศไทยยืนยันพบการระบาดของโรค ASF ในวันที่ 11 มกราคม 2565 

หลังจากนั้นกรมปศุสัตว์ ได้เร่งตรวจสอบและรายงานสถานการณ์ทุกวัน (ระบบ Zero Report) ซึ่งพบการเกิดโรค ASF เป็นจุดเล็กๆ ใน 31 จังหวัด  แต่ปัจจุบัน ไทยสามารถควบคุมโรคให้สงบ โดยไม่พบการเกิดโรคแล้ว(สีเขียว) ทั้งสิ้น 31 จังหวัด จึงถือได้ว่า สามารถควบคุมโรคได้อยู่ในวงจำกัดและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างดีดังนั้น จึงขอให้มั่นใจได้ว่า ประเทศไทย มีมาตรการควบคุมโรคอย่างเข้มข้น จนได้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นประเทศที่ป้องกันควบคุมโรคดีที่สุดในเอเชีย 

AAA57D5F D47D 4E95 9C03 342BD45A082B

ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณทางสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร  ทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาโดยตลอด และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เราพร้อมที่จะร่วมมือกับทางสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและทุกหน่วยงาน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา รับมือ และขับเคลื่อนการดำเนินงานไปด้วยกัน

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่ง ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายและสั่งการกรมปศุสัตว์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการควบคุมการเกิดโรคระบาดในสัตว์ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง จับกุมและลงโทษผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย รวมถึงคุ้มครองผู้บริโภค ให้ได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน และความปลอดภัย และจากมาตรการการควบคุมโรคที่ออกมาอย่างเข้มข้นของกรมปศุสัตว์ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  

B921745B 9663 427C 85D0 7980A58335B6

ส่งผลให้สถานการณ์การระบาดของโรคASF ในประเทศไทยนั้นกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้น โดยประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศติดอันดับโลก ในการป้องกันควบคุมโรคดีที่สุดในเอเชีย จนล่าสุดตัวเลขติดเชื้อ ASF ในสุกรลดลงเป็นศูนย์และมีต่างประเทศเข้ามาศึกษาดูงาน อาทิ ฟิลิปปินส์ ได้เข้ามาศึกษาถึงนโยบายและแนวทางควบคุมป้องกัน และเฝ้าระวัง ASF ในประเทศไทย เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับมาตรการในประเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคของฟิลิปปินส์ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องขอความร่วมมือไปยังเกษตรกร และประชาชนทุกท่านในการช่วยกันเป็นหูเป็นตา ร่วมแจ้งเบาะแส หากพบผู้กระทำการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์ผิดกฎหมาย หรือสงสัย พบเห็นการระบาดของโรคต่างๆ ในสัตว์ ตลอดจนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่หรือ สายด่วนของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตลอดเวลา 

E0ABDC4A 19C2 4F55 802E B9E9C3C8D7B4

นายสัตวแพทย์สรวิศ  ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ ได้ปฏิบัติงานตรวจยึดซากสุกรตามพื้นที่แนวตะเข็บชายแดนมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลการตรวจยึดซากสุกร 4 ปีที่ผ่านมา (ปี2562 – 2565) ตรวจสอบการลักลอบนำเข้าซากสัตว์ 3,516 ครั้ง แจ้งความดำเนินคดี 20 คดี(ร่วมกับศุลกากร 3 คดี) ยึดและดำเนินการทำลายซากสุกร 339,192 กิโลกรัม มูลค่าของกลางกว่า 79 ล้านบาท  

สำหรับในปี 2565 ผลการปฏิบัติงานช่วงเดือนมกราคม – เดือนกรกฎาคม 2565 ดำเนินการตรวจสอบการลักลอบนำเข้าจำนวน  2,425 ครั้ง แจ้งความดำเนินคดี 13 คดี (ร่วมกับศุลกากร 3 คดี) ยึดและดำเนินการทำลายซากสุกร 325,027 กิโลกรัม มูลค่าของกลางกว่า 65 ล้านบาท

ด้านมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ASF ในสุกร กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตามมาตรการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการ ประกอบด้วย 

1) มาตรการเตรียมความพร้อม โดยจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และยกระดับแผนเตรียมความพร้อมโรค ASF ในสุกร เป็นวาระแห่งชาติ มีการจัดตั้ง War Room ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซ้อมแผนรับมือโรคฯ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการในการตรวจวินิจฉัย และร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ OIE , FAO จัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลการเฝ้าระวังและป้องกันโรคฯ 

2) มาตรการการป้องกันโรค มีการประกาศระงับการนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากสุกรจากประเทศที่มีการระบาดของโรค บูรณาการการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนในป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำสุกร ผลิตภัณฑ์สุกรเข้ามาในประเทศ 

3) มาตรการการเฝ้าระวังโรค การจัดทำแผนที่ความเสี่ยง(Risk Map)ในการเฝ้าระวังโรค ASFในสุกร จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ X-Ray เคาะประตูบ้าน เฝ้าระวังทางอาการ ขึ้นทะเบียนและประเมินความเสี่ยงด้วยแอพลิเคชั่น e-Smart+  พร้อมให้คำแนะนำความรู้เรื่องโรคและการป้องกัน 

4) มาตรการลดความเสี่ยงเพื่อป้องกันโรค เกษตรกรหรือ เครือข่ายเฝ้าระวัง พบสุกรป่วย/ตายผิดปกติ หรือเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด ให้แจ้งกรมปสุสัตว์ได้ตลอด 24 ชม.             

5) มาตรการการสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์ โดยสร้างการรับรู้แก่เกษตรกรและบุคคลทั่วไปผ่านการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ 

และ 6) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ ร่วมจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Contigency Plan จัดทำโรงพ่นยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรคที่ด่านชายแดนที่สำคัญ ร่วมสนับสนุนเครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อ และยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรค เข้มงวดในการส่งออกสุกร ลดความเสี่ยงจากการส่งออกสุกร โดยรถขนส่งสุกรมีชีวิตที่ใช้ภายในประเทศห้ามไม่ให้ข้ามไปประเทศเพื่อนบ้านที่มีการระบาดของโรค ASF ในสุกร

ในส่วนของ โครงการ Sandbox ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้กำหนดพื้นที่นำร่อง“Pig Sandbox” จังหวัดราชบุรี เป็นโครงการต้นแบบการเลี้ยงสุกร เพื่อส่งเสริม ฟื้นฟูการผลิตสุกร การควบคุมป้องกันการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริการในสุกร (ASF)และโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ยกระดับการจัดการฟาร์ม ภายใต้มาตรการ 3S คือ SCAN พื้นที่ SCREEN ความเหมาะสม และ SUPPORT การเลี้ยงดู การตลาดและแหล่งทุน 

ทั้งนี้ ประชาชนที่ต้องการแจ้งเบาะแส หรือสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่หรือ สายด่วนกรมปศุสัตว์ 063 – 225 – 6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง รวมทั้งผ่าน www.dld.go.th หรือแอปพลิเคชัน DLD 4.0