ปศุสัตว์ตั้งการ์ดสูงพร้อมรับมือ”โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก” 

ปศุสัตว์กำชับทุกหน่วยงานตั้งการ์ดสูงระดมสกัดไข้หวัดนกในสัตว์ หลังพบบางประเทศเริ่มมีการระบาด และยังพบการติดเชื้อไข้หวัดนก H3N8 จากสัตว์สู่คนในประเทศจีนเป็นรายแรกของโลก

970DC786 6AF0 42FE 9F01 57EEE098A0EC

    นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติประกาศพบผู้ป่วยไข้หวัดนก H3N8 ในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน เป็นเด็กชาย อายุ 4 ขวบ มีอาการมีไข้และมีอาการอื่นๆ โดยบ้านผู้ป่วยได้เลี้ยงไก่และกา อีกทั้ง มีเป็ดป่าอยู่รอบๆ บ้าน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีนได้ดำเนินการสังเกตอาการและสุ่มตัวอย่างจากการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยและไม่พบความผิดปกติใดๆ

    โดยก่อนหน้านี้เคยมีการตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H3N8 ในม้า สุนัข นก และแมวน้ำ จากทั่วโลก แต่ยังไม่มีรายงานผู้ป่วย H3N8 ในมนุษย์มาก่อน ทั้งนี้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกล่าวว่า จากการประเมินเบื้องต้นระบุว่าเชื้อดังกล่าว มีความสามารถในการแพร่เชื้อสู่มนุษย์และความเสี่ยงของการแพร่ระบาดในวงกว้างอยู่ในระดับต่ำ องค์การสุขภาพสัตว์โลก(OIE)รายงานพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง(HPAI) ในต่างประเทศทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงปัจจุบัน พบว่า มีการระบาดมากถึง 2,064 จุด รวมถึงพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ซึ่งพบสายพันธุ์ H5N1 และ H5N8 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

7D7D0D11 DF36 4CF2 B701 DBBECA5DF5A2

     อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าประเทศไทยจะไม่พบรายงานการเกิดโรคไข้หวัดนกมาแล้วเป็นระยะเวลา 14 ปี แต่กรมปศุสัตว์ก็ยังคงติดตามสถานการณ์ เตรียมความพร้อม และป้องกันโรคไข้หวัดนกเข้าสู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยได้ มีการประชุมซ้อมแผนรับมือโรคดังกล่าวระดับกรมและจังหวัดสั่งการเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้าตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังโรคสัตว์ตามแนวชายแดนอย่างเข้มงวด สุ่มเก็บตัวอย่างสัตว์ปีกในพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่ตามแนวชายแดน พื้นที่นกอพยพพื้นที่นกวางไข่ พื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีกหนาแน่น เป็นต้น เข้มงวดการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ปีกภายในประเทศ ชะลอการนำเข้าสัตว์และซากสัตว์ปีกจากประเทศที่เกิดโรคไข้หวัดนก 

B846315B A353 4190 9BC8 92DBEE17D4CD

      ส่วนสัตว์ปีกเลี้ยงในระบบฟาร์มให้เข้มงวดความปลอดภัยทางชีวภาพขั้นสูงสุด เช่น การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในโรงเรือนและบริเวณโดยรอบ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มเข้มงวดเรื่องระบบความปลอดภัยภายในฟาร์ม ควบคุมการเข้า-ออกฟาร์ม ให้ฉีดพ่นยานพาหนะทุกคัน เป็นต้น รณรงค์ทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ได้แก่ พื้นที่นกอพยพอาศัยอยู่ พื้นที่ตามแนวชายแดน พื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกหนาแน่นเป็นต้น ตลอดจนผลักดันระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกให้เข้าระบบมาตรฐาน GAP หรือ GFM รวมถึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศ อาทิกระทรวงสาธารณสุข กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตลอดจนหน่วยงานระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

F92F98A8 0BF5 4C0F 8780 2B68E6FBD494

    โดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสังเกตอาการสัตว์อย่างใกล้ชิด หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ อย่านำสัตว์ปีกไปจำหน่ายจ่ายแจก หรือนำไปประกอบอาหารโดยเด็ดขาด ให้แจ้ง อาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที เพื่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและดำเนินมาตรการ ควบคุมโรคทันที 

74E23B5A 1D8B 40F6 B9A2 D81FD4C307DB

     หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดใกล้บ้านสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์(สคบ.) กรมปศุสัตว์ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ โทร. 063-225-6888 หรือแจ้งผ่าน Application : DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา