ปศุสัตว์ไทยคุมเข้ม ASF ต่อเนื่อง ยกระดับการป้องกันโรคก่อนการลงเลี้ยงสุกรใหม่

นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ รักษาการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า จากความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever, ASF) ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตสุกรของประเทศไทยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาองค์กร สมาคมที่เกี่ยวข้อง และการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นวาระแห่งชาติ 

โดยมีการดำเนินมาตรการควบคุมโรคอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกมิติ มีการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสร้างเครือข่ายประสานงานบูรณาการร่วมมือทุกหน่วยงาน โดยดำเนินการภายใต้หลักการรู้โรคเร็วควบคุมโรคเร็ว ผ่านการรับแจ้งโรคและการค้นหาโรคจากเครือข่ายอาสาปศุสัตว์และเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งมีการใช้แอพพลิเคชั่น DLD 4.0 

ในการรับแจ้งโรค จนทำให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศผู้นำในการควบคุมโรคในภูมิภาคอาเซียนและกรมปศุสัตว์ยินดีให้ความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน 

EDA4B1B8 AD60 41F7 9CEC 68C364A58E3D

ปัจจุบันประเทศไทยมีการรายงานโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอยู่ทั้งหมด 33 จังหวัด และทุกจังหวัดไม่พบการอุบัติซ้ำเป็นระยะเวลากว่า 30 วันแล้ว (สีเขียว) นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการจ่ายชดเชยเงินให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการทำลายสุกรตามอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งในปี 2565 กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการจ่ายค่าชดเชยให้กับเกษตรกรไปแล้วกว่า 2,752 ราย เป็นเงิน 262,103,776.27 บาท

นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ รักษาการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่ากรมปศุสัตว์ยังคงดำเนินมาตรการคุมเข้มโรค ASF อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้การควบคุมและการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดการอุบัติซ้ำเพื่อลดความเสี่ยหายที่จะเกิดแก่พี่น้องเกษตรกร กรมปศุสัตว์จึงได้จัดทำหลักเกณฑ์การลงเลี้ยงสุกรใหม่ และปรับปรุงระเบียบการเคลื่อนย้ายสุกร โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคในสถานการณ์ปัจจุบัน และไม่สร้างภาระให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเกินจำเป็น 

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์จัดทำพื้นที่ต้นแบบเพื่อเป็นพื้นที่นำร่องการยกระดับการเลี้ยงสุกรให้มีความปลอดภัยภายใต้โครงการ “Pig Sandbox” ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและพื้นที่จังหวัดราชบุรี 

F9708565 A21D 40A6 AAFA 22F1A5593CC8

ทั้งนี้ หากพี่น้องเกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปมีข้อสงสัยด้านการปศุสัตว์สามารถติดต่อสอบถามได้ที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือโทร 0 2653 4444 นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์รักษาการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวในที่สุด