เกษตรฯระดมทุกหน่วยเตรียมช่วยเกษตรกรประสบอุทกภัยภาคใต้ ปล่อยรถเสบียงอาหารสัตว์ช่วยผู้เลี้ยงปศุสัตว์

รัฐมนตรีเกษตรฯ สั่งลุยต่อเนื่อง ระดมเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยเตรียมพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ หลังอุตุนิยมวิทยาประเมินสถานการณ์ อาจส่งผลให้อาจเกิดอุทกภัยในวงกว้าง และกระทบต่อสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยในช่วงปลายปีของทุกปี

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีปล่อยรถหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ด่านกักกันสัตว์เพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากสถานการณ์ที่หลายพื้นที่ได้เกิดอุทกภัยจาก “พายุโนรู” 

998BF92D 2440 4CBF B6ED 33BFCC276248

กรมปศุสัตว์ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ เร่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยสั่งการให้ระดมเจ้าหน้าที่ทั่วประเทศสำรวจเกษตรกรและปศุสัตว์ที่ได้รับผลกระทบตายและสูญหาย พร้อมให้ความช่วยเหลือด้านเสบียงอาหารสัตว์ แร่ธาตุ และเวชภัณฑ์แก่สัตว์เลี้ยงของเกษตรกรเป็นการด่วน 

ในเบื้องต้นมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบด้านปศุสัตว์จำนวน21 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก สุโขทัย กาญจนบุรีประจวบคีรีขันธ์ และชัยนาท 

31EA0DE7 AA57 4734 96C9 0BF3F4B12F62

เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้รับผลกระทบ จำนวน 73,246 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ โค 206,582 ตัว กระบือ44,198 ตัว สุกร 49,518 ตัว แพะ/แกะ 21,906 ตัว สัตว์ปีก 5,781,461 ตัว รวม 6,103,665 ตัว แปลงหญ้า2,287.75 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ต.ค. 65) 

กรมปศุสัตว์ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้วทั้ง 21 จังหวัด เกษตรกร 22,532 ราย 134 อำเภอ 417 ตำบล 1,671 หมู่บ้าน ให้ความช่วยเหลือในการอพยพสัตว์ที่ได้รับผลกระทบแล้วเป็นจำนวน 2,258,675 ตัว แบ่งเป็น โค 66,085 ตัว กระบือ 13,750 ตัว สุกร 5,284 ตัว แพะ/แกะ 7,355 ตัว สัตว์ปีก 2,166,201 ตัว โดยได้สนับสนุนเสบียงสัตว์ ไปแล้ว 1,057,270 กิโลกรัม สนับสนุนชุดส่งเสริมสุขภาพสัตว์ 30,625 ชุดรักษาสัตว์ 1,693 ตัว และถุงยังชีพสัตว์ 2,804 ถุง 

66DDD119 4373 4E06 B152 51DCFD518895

ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้จัดพิธีปล่อยขบวนรถหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน พร้อมด้วยหน่วยบริการสัตวแพทย์เคลื่อนที่ออกให้ความช่วยเหลือเกษตรกรแล้ว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ราชการกรมปศุสัตว์ จังหวัดปทุมธานี และปศุสัตว์ในพื้นที่อีกกว่า 37 จุดทั่วประเทศ ซึ่งความช่วยเหลือดังกล่าวได้ถึงมือเกษตรกรเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันสถานการณ์ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วทั้งสิ้น 4 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์

B007FF5C CA18 48A4 A674 DEC4130F0337

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากการที่อุตุนิยมวิทยา ประเมินสถานการณ์ประเทศไทย ในช่วงเดือนตุลาคมจะมีลมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ฝั่งตะวันตก กำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และพายุไต้ฝุ่น “เนสาท” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ส่งผลให้อาจเกิดอุทกภัยในวงกว้าง และกระทบต่อสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยในช่วงปลายปีของทุกปี จนทำให้เกษตรกรมีความเดือดร้อน ขาดแคลนอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประจำสำนักงานในพื้นที่ภาคใต้ ให้ดำเนินการเตรียมความพร้อมรองรับภัยพิบัติ 

378B7CAB 3295 4A0A 9734 0CE2B4604B52

และในวันนี้ได้ทำการปล่อยขบวนรถหญ้าอาหารสัตว์พระราชทานพร้อมด้วยหน่วยบริการสัตวแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเสบียงอาหารสัตว์ รวมทั้งแร่ธาตุและเวชภัณฑ์แก่สัตว์เลี้ยงของเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ และให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ ศวอ.เพชรบุรี / ศวอ.ประจวบคีรีขันธ์ / ศวอ.กาญจนบุรี / ศวอ.สุพรรณบุรี / ศวอ.ชุมพร / ศวอ.พัทลุง / ศวอ.สุราษฎร์ธานี / ศวอ.ตรัง / ศวอ.นครศรีธธรมราช / ศวอ.สตูล / และศวอ. นราธิวาสสนับสนุนเสบียงสัตว์เคลื่อนย้ายลงเสบียงอาหารสัตว์ลงไปไว้ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก เพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการให้ความช่วยเหลือ 

6B6D7B32 973D 4F7F B782 520C05DFA0DB

โดยได้จัดเตรียมคลังเสบียงไว้ทั้งสิ้น 12 จุด ในพื้นที่ 11 อำเภอ 8 จังหวัด จำนวนเสบียงสัตว์ทั้งสิ้น 95,000 กิโลกรัม และหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ 15 หน่วย นอกจากนี้ ยังได้กำชับเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เร่งดำเนินการตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 หลังจากน้ำลดเข้าสู่สภาวะปกติแล้วต่อไป

“จากสถานการณ์อุกทกภัยที่เกิดในขณะนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบุคลากรของกระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมบูรณาการในการให้ความช่วยเหลือ โดยมุ่งมั่นให้พี่น้องประชาชนและเกษตรกรเกิดความอุ่นใจว่ารัฐบาลไม่ทอดทิ้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้ทุกฝ่ายเร่งสำรวจความเสียหาย และหลังจากจังหวัดประกาศพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายแล้ว จะสามารถดำเนินการเยียวยาได้ทันที” ดร.เฉลิมชัย กล่าว