ปศุสัตว์ถวายสัตว์ปีกสมเด็จพระกนิษฐาฯร่วมสนับสนุนโครงการทหารพันธุ์ดี จ.สกลนคร

กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินติดตามการดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดี กรมทหารราบที่ 3 จังหวัดสกลนคร อธิบดีกรมปศุสัตว์ น้อมเกล้าฯถวายพันธุ์เป็ดเทศกบินทร์บุรีและเป็ดพันธุ์ไข่บางประกง

   วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 เวลา13.00 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร และที่ปรึกษาอธิบดีกรมปศุสัตว์ ผอ.กพก.ร่วมรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปติดตามการดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดี กรมทหารราบที่3 จังหวัดสกลนคร 2565 นั้น

F89D5C1C 92D4 4EF9 8D7C 65B3F7A885BC

  โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ ร่วมรับเสด็จฯทูลเกล้าฯ ถวายรายงานการกิจกรรมที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการตามกิจกรรมโครงการทหารพันธุ์ดี กรมทหารราบที่ 3 น้อมกระหม่อมถวายพันธุ์สัตว์ปีก เพื่อใช้ในโครงการทหารพันธุ์ดี กรมทหารราบที่ 3 ค่ายกฤษณ์สีวะรา จังหวัดสกลนคร ดังรายการต่อไปนี้ เป็ดเทศกบินทร์บุรี อายุ 5 เดือนเพศผู้ จำนวน 2 ตัว เพศเมีย จำนวน 10 ตัว เป็ดบางปะกง อายุ 5เดือนเพศผู้ จำนวน 2 ตัว เพศเมียจำนวน10 ตัว ลูกเป็ดเทศกบินทร์บุรี คละเพศ อายุ1สัปดาห์จำนวน 100 ตัว ลูกเป็ดบางปะกง อายุ1 สัปดาห์ เพศเมียจำนวน100 ตัว รวมจำนวนทั้งสิ้น 224 ตัว

0F1382BF 7423 4DA8 A100 8487B25ECCEC

    การเลี้ยงเป็ดพ่อ – แม่พันธุ์เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี เริ่มไข่ฟองแระเมื่ออายุ 24- 28 สัปดาห์พอเป็ดสาวเริ่มไข่และเป็ดหนุ่มเริ่มเจริญเติบโตเต็มที่ และแสดงอาการเป็นสัดขนสวย หนังขรุขระบนใบหน้าสีชมพูแดง ปกติเพศผู้จะโตกว่าเพศเมีย 2 เท่า ให้คัดเป็ดสาวไว้ทำพันธุ์ 

4B096441 30AE 4E44 9F68 C93D18E0833C

   โดยคัดตัวที่มีรูปร่างลักษณะดีลำตัวยาวและกว้าง ท้องใหญ่กระดูกเชิงกรานกว้าง ขนสีขาวปลอดหัวมีจุดดำเล็กน้อย น้ำหนัก 2.5- 3.0 กิโลกรัม พ่อพันธุ์น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 4.0 กิโลกรัมเป็ดพันธุ์กบินทร์บุรี เป็นเป็ดเทศพันธุ์เนื้อพันธุ์แท้ ที่กรมปศุสัตว์ได้วิจัยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และสถานีวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์ปีกแห่งชาติ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะประจำพันธุ์ คือ ขนสีขาวตลอดลำตัวและมีขนสีดำเป็นจุดอยู่ตรงกลางหัว โดยเฉพาะเพศผู้จะมีจุดดำใหญ่กว่าเพศเมีย แต่ก็มีบางตัวจะมีจุดดำเล็กๆปรากฎเพียงขนสีดำแซมเล็กน้อยบนกลางหัว ปากสีชมพู เท้าสีเหลืองอ่อน ใบหน้ามีผิวหนังขรุขระเป็นสันนูนเด่นลักษณะทางเศรษฐกิจเป็ดพันธุ์กบินทร์บุรี ได้รับการวิจัยและพัฒนาให้เป็นพันธุ์แท้ที่สามารถเลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อป้อนตลาดได้ในระยะเวลา 10-12 สัปดาห์หรือเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์โดยตรง หรือนำพันธุ์นี้ไปผสมข้ามกับสายพันธุ์อื่นๆ ก็จะได้ลูกผสมที่มีการเจริญเติบโตทัดเทียมกับพันธุ์แท้ เช่น นำไปผสมกับเป็ดปักกิ่ง ก็จะได้เป็ดโป๊ยฉ่าย เป็นต้น

E6638040 C451 4617 AC28 444B9D27BC91

     เป็ดบางปะกง(Bang Pa Kong Duck) ลักษณะประจำพันธุ์เป็ดบางปะกง ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์โดยกรมปศุสัตว์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 ไก่เลี้ยงและขยายพันธุ์ที่ สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์บางปะกงอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทราเพศผู้ : ขนตามลำตัวสีกากีเข้ม หัว, ปลายปีก, ปลายหาง สีเขียวแก่ ขนปลายหางงอนขึ้นข้างบน 2-3เส้น ปากสีดำแกมน้ำเงิน ขา – เท้า สีส้มอมดำ

เพศเมีย : ขนตามลำตัวสีกากีอ่อนตลอดลำตัวปากสีดำแกมน้ำเงิน ขา – เท้า สีส้มอมดำการเลี้ยงเป็ดพ่อ – แม่พันธุ์

การเลี้ยงเป็ดไข่แบบปล่อยคลุมฝูงผสมพันธุ์ อัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์ /แม่พันธุ์ คือ1 : 5-7โดยอยู่ภายในบริเวณโรงเรือน ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 16%

ลักษณะทางเศรษฐกิจ อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก เฉลี่ย 144+21วัน น้ำหนักตัวเมื่อไข่ฟองแรกเฉลี่ย 1,300 กรัมน้ำหนักไข่เฉลี่ย 65.02-4.9 กรัมน้ำหนักไข่ฟองแรกเฉลี่ย 55.28+2.45กรัมผลผลิตไข่เฉลี่ยปีละ 287+ 10 ฟอง/แม่น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่เฉลี่ย เพศผู้ 1,500+ 20กรัมเพศเมีย 1,300+40 กรัม

315BF190 3F6D 41AA 971C 3850911F9E55

    โครงการทดลองเลี้ยงเป็ดเทศกบินทร์บุรี และเป็ดไข่บางปะกงเริ่มโครงการเมื่อวันที่ 19 เม.ย.64 โดยได้รับพระราชทานพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เป็ดเทศกบินทร์บุรี และเป็ดไข่บางปะกงการเลี้ยงและการดูแลให้อาหาร เช้า-เย็น เป็ดอายุตั้งแต่ ฟัก-3 เดือน จะให้อาหารสำเร็จรูปผสมรำละเอียด 

ส่วนเป็ดอายุตั้งแต่ 4 เดือน ขึ้นไปจนถึงพ่อแม่พันธุ์ จะให้อาหารสำเร็จรูปผสมรำหยาบ ข้าวที่เหลือจากโรงเลี้ยง แหนเกล็ดทองเมืองสกล ผักตบชวาสับละเอียด ตันกลัวยสับละเอียด ส่วนน้ำผสมยาไบโอ+ บี 12 เป็ดอายุได้ 1 เดือนจะทำการฉีดวัดซีนอหิวาต์และกาพโรคเป็ด1 มิลลิลิตร ฉีดเข้ากล้ามเนื้อใด้ผิวหนังรอบต่อไปฉีดทุก 3 เดือน

     ปัจจัยสำคัญในการฟักไข่

 1. อุณหภูมิ(Temperature)อุณหภูมิป็นปัจจัยสำคัญในการฟักไข่ อุณหภูมิฟักที่เหมาะสมมีความแตกต่างกันตามชนิดของสัตว์ปีก 

2.ความชื้น (Humidity) ในการเจริญเติบโตของตัวอ่อนจำเป็นต้องได้รับความชื้นที่เหมาะสม เพื่อทำให้กระบวนการต่างๆ ดำเนินไปได้ตามปกติ

3. อากาศและการถ่ายเทอากาศในตู้ฟัก (Ventilation)  ปริมาณอากาศและการไหลเวียนอากาศจะต้องเหมาะสม

4.การวางไข่ในตู้ฟัก (Egs positioning) โดยธรรมชาติแล้วการเจริญของลูกไกในฟองไข่นั้น ลูกไก่จะหันหัวขึ้นด้านบนเสมอ จึงควรวางไขให้เหมาะสมกับลักษณะทางธรรมชาติ

5.การกลับไข่ฟัก(Egs turning) โดยธรรมชาติของการฟักไข่ของแม่ไก่จะมีการกลับไขโดยเฉลี่ยทุก 1.35 นาที และถ้าไม่มีการกลับไข่เลยจะทำให้ไข่นั้นฟักไม่ออก ดังนั้น อย่างน้อยที่สุดควรต้องมีการกลับไข่วันละ3 ครั้ง

F3CFACB5 494E 4B9B 83D8 A7DC702892B4

     ด้านกรมปศุสัตว์ได้ให้การสนับสนุนความรู้เรื่อง การบริหารจัดการการเลี้ยง การสุขาภิบาลป้องกันโรคการผสมอาหารแบบลดต้นทุน และแนะนำเรื่องการขยายผลด้านปศุสัตว์ให้กับทหารกองประจำการของหน่วยทหารและกำลังพลในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นการเชื่อมโยงไปยังราษฎรให้ได้รับประทานอาหารปลอดภัยและเป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือนและเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรตามทฤษฎีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนทั่วไปนอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ไปส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ให้กับราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อเป็นไปตามพระราชประสงค์ต่อไป