ปศุสัตว์สอบเหตุ”ควาย”ผู้ประกาศดังป่วยตาย พบติดเชื้อ”ไข้3วัน”  

“ปศุสัตว์ยุคดิจิทัล”บริการฉับไว แก้ปัญหาฉับพลัน ปศุสัตว์ขอนแก่นเร่งสอบสาเหตุ”ควาย”ของผู้ประกาศดัง”กิตติ สิงหาปัด”ป่วยตาย” เบื้องต้นพบป่วยเป็น”โรคไข้สามวัน”                              

   เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 จากกรณีนาย กิตติ สิงหาปัด ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง ได้โพสต์ทวิตเตอร์บัญชี Kitti Singhapat @Kitti3Miti แจ้งเตือนเกษตรกรช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค. จะมีโรค “ไข้ 3 วัน”หรือ ไข้ขาแข็งระบาดในโค -กระบือ ควายผมที่เลี้ยงไว้ตายไป 1 ตัวเมื่อวันจันทร์ อีกตัวก็ป่วยกำลังรักษาครับโดยโพสต์ เมื่อเวลา11:23 น.วันนี้ (17 พ.ค. 22)

นายสัตว์แพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้สั่งการด่วนไปยังปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่นเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว

ด้านนายสัตวแพย์ชาญประเสริฐ พลซา ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้นายธีรพงศ์ ใจซื่อ นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ นายธีระยุทธ เหล่าภักดี เจ้าพนักงานสัตวบาล กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับ นายพิเชฐ ทองปัน นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ไปที่บ้านของนายกิตติ พื้นที่หมู่ที่ 1ตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยพบว่า ยังมีกระบือเหลือ1ตัว เริ่มมีอาการซึม มีไข้ กินอาหารลดลง จึงได้ทำการรักษาตามอาการและเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อวิเคราะห์หาเชื้อที่เป็นสาเหตุของการป่วยและการตายของกระบือต่อไป แต่เบื้องต้นจากการสอบสวนอาการ คาดว่า จะป่วยโดยโรคไข้สามวัน หรือไข้ขาแข็งเหมือนกับตัวตายตัวแรก

DEA891DD E337 487C B144 99A419834CAC
728C100F 2AFD 4ED0 8F07 5D46D989E340

สำหรับโรคไข้สามวัน(Emphemeral Fever)เป็นการติดเชื้อไวรัส ที่ชื่อว่า Rhabdovirus บางที่เรียกโรคไข้ขาแข็ง หรือไข้เส้น หลังติดเชื้อโค-กระบือ จะมีอาการซึม เบื่ออาหาร ไข้สูง ไม่ค่อยอยากเดิน บางทีเวลาเดินขาจะแข็งๆ บางตัวก็น้ำหูน้ำตาไหล แล้วน้ำลายยังไหลด้วย และส่วนใหญ่จะมีอาการตามชื่อ คือ มีไข้สามวันแล้วหายเองได้โดยไม่ต้องทำอะไรเลยก็มี แต่บางตัวที่มีอาการหนักคือจะแสดงอาการเจ็บปวดขาอย่างมาก แล้วก็จะล้มนอนไม่ลุกอีกเลย แม้จะเลยสามวันไปแล้วก็ยังไม่ลุก และระหว่างที่เป็นโรคนี้ ภูมิคุ้มจะลดลง จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ส่วนพาหะตัวแพร่โรค คือ แมลงกินเลือด เช่น ยุง ริ้น เหลือบ โดยส่วนมากโรคนี้จะทำให้โคกระบือเกิดการติดเชื้อในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมที่ฝนตกชุก

FE3C7B84 FD70 4554 81FD 51997B394663

โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะอาการ คือ วันที่ 1เบื่ออาหารยืนขาแข็ง หลังโก่งเล็กน้อยอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็ว น้ำมูก น้ำลาย ไหลยึดกล้ามเนื้อสั่น เล็กน้อย

วันที่ 2 อุณหภูมิสูงขึ้นอีก หายใจหอบ น้ำมูกและน้ำลายไหลออกมามากส่วนใหญ่จะนอน(ลุกไม่ไหว)และหัวซุกอยู่บริเวณสวาบ กล้ามเนื้อสั่นมาก

วันที่ 3 หายเป็นปกติ หรือถ้ามีโรคปอดบวมแทรกก็ไม่หายป่วยแต่จะมีอาการทางระบบหายใจ บางตัว 2 ขาหลังเป็นอัมพาต

A7386037 00D8 4973 921C F8275CB6FEA9

ส่วนการป้องกันโรคไข้สามวันในโค-กระบือ นั้น สามารถทำได้ด้วยวีธีง่ายๆ คือ ใช้มุ้งหรือตาข่ายกางรอบโรงเรือนหรือคอกสัตว์ เพื่อป้องกันพวกแมลงดูดเลือดมาดูดเลือดโค-กระบือในช่วงนอนกลางคืน หรือช่วงกำลังพักผ่อน และควรสุมกองไฟ อาจจะใช้สมุนไพรที่สามารถไล่ยุงได้ช่วยในการไล่ยุ่งให้กับโค-กระบือ เช่น ตะไคร้หอม สรรพคุณใช้ขับไล่ยุงและแมลงดูดเลือดต่างๆ ให้ห่างจากโรงเรือนหรือคอกสัตว์โค-กระบือ

ที่สำคัญควรมีการปรับปรุงโรงเรือนหรือคอกสัตว์ให้มีความแข็งแรงและสามารถป้องกันฝนได้ และอย่าปล่อยโค-กระบือ ยืนตากฝนตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะจะทำให้โค-กระบือ ป่วยเป็นโรคอื่นๆทำให้ร่างกายอ่อนแอไม่สมบูรณ์ และพวกแมลงดูดเลือดหรือยุงสามารถมารบกวนและอาจลุกลามเป็นโรคอื่นๆตามมาด้วย

สำหรับเกษตรกรท่านใดที่มีปัญหาในเรื่องการป้องกันและรักษาโรคต่างๆในโค-กระบือ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ สามารถปรึกษาและสอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอและจังหวัดของท่านได้ ทั้งนี้หากประชาชนมีปัญหาทางด้านสุขภาพสัตว์หรือขอรับการช่วยเหลือสามารถขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.dld.go.th หรือแอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง