กรมปศุสัตว์ออกหน่วยโครงการสัตวแพทย์พระราชทานในพระราชดำริพระบรมราชชนนีพันปีหลวง จ.พิษณุโลก

วันพุธที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น. นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์มอบหมายให้นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดโครงการสัตวแพทย์พระราชทานในพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ณ  หอประชุมโรงเรียนวังทองพิทยาคม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 

โดยมีนายสมพงษ์ หอมสนิท นายอำเภอวังทอง กล่าวต้อนรับ นายสัตวแพทย์สมศักดิ์  จิตตวิสุทธิวงศ์ปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก กล่าวรายงาน และคณะกรรมการโครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ หัวหน้าส่วนราชการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ผู้นำท้องถิ่น และพี่น้องเกษตรผู้เลี้ยงสัตว์ เข้าร่วมงาน ทั้งนี้ เพื่อให้บริการตรวจรักษาพยาบาลสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลความเจริญหรือขาดโอกาสที่จะได้รับการบริการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง เพื่อเป็นการป้องกันโรคระบาดสัตว์จากสัตว์สู่สัตว์ และโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน ช่วยพัฒนาสุขภาพสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง ตลอดจนถ่ายทอดความรู้ในด้านสุขภาพสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป เพื่อจะได้ดูแลรักษาสัตว์ป่วยเบื้องต้น และช่วยพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ของประชาชนอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของอาชีพต่อไป

42226640 A156 4A76 A925 B09554716160 scaled

 นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ เป็นงานสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการบริการประชาชนชาวไทยให้มีความอยู่ดีกินดีโดยถ้วนหน้าและเสมอภาคกัน เป็นการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจอีกทางหนึ่ง สร้างคุณประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้ อยู่ห่างไกลและขาดโอกาส 

โครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ เป็นความร่วมมือแบบบูรณาการของสัตวแพทย์ไทย และบุคลากรทุกภาคส่วนทั้งในส่วนของวิชาชีพสัตวแพทย์ และวิชาชีพอื่นๆ ต่างผนึกกำลังในการใช้เทคโนโลยี และวิชาการอันทันสมัยของแขนงต่างๆ เพื่อบริการประชาชน ให้ได้ผลสำเร็จตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นับเป็นความโชคดีของเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก โดยเฉพาะอำเภอวังทอง ที่จะได้รับบริการจากบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีน้ำใจดีงามที่จะมาช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยของสัตว์ และบรรเทาความทุกข์ร้อนของทุกท่าน

6922BA6A 1211 4F09 9663 0172D5E3B081 scaled

 “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง  ทุกครั้งที่เสด็จเยี่ยมดูความเป็นอยู่ของราษฎร จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมติดตามถวายงานตามรับสั่ง  เพื่อพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนทรงแนะนำการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ประชาชนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง รวมทั้งทรงพระราชทานแนวคิดใหม่ๆ  ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งหมดเป็นพระราชกรณียกิจที่แสดงถึงน้ำพระราชหทัยอัน เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตาทรงห่วงใยและปรารถนาดีต่อพสกนิกรของพระองค์ทั้งสิ้น 

91237AA7 0E23 46BA B395 568699353764 scaled

โครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ เป็นงานที่สนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการบริการประชาชนชาวไทยให้มีความอยู่ดีกินดีโดยถ้วนหน้าและเสมอภาคกัน เป็นการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจอีกทางหนึ่ง สร้างคุณประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้อยู่ห่างไกลและขาดโอกาส กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทาน ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ บริษัท สมาคม มูลนิธิ ภาคเอกชนด้านการเลี้ยงสัตว์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทานขึ้นมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 จนถึงปัจจุบัน ในปีงบประมาณ 2566”

 ด้าน นายสัตวแพทย์สมศักดิ์ จิตตวิสุทธิวงศ์ ปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า กรมปศุสัตว์บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านปศุสัตว์ในการพัฒนาบริการด้านสุขภาพสัตว์ ได้จัดให้มีการดำเนินการโครงการสัตวแพทย์พระราชทานในพระราชดำริ  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครั้งที่ 1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ออกหน่วยให้บริการในเขตพื้นที่อำเภอวังทอง 

50AE374D 5E85 4CF7 9504 0928DBC4F92E scaled

โดยมีเป้าหมายเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มารับบริการ 403 ราย จำนวนโคเนื้อ 962 ตัว กระบือ 378 ตัว แพะ365 ตัว สุนัขและแมว 400 ตัว โดยมีคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา สัตวแพทย์และนักวิชาการจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมทั้งสิ้น 200 คน กำหนดดำเนินการระหว่างวันที่ 24 – 26 มกราคม 2566 รวมระยะเวลา 3 วัน 

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ประกอบด้วย การตรวจรักษาพยาบาลสัตว์ทั้งด้านอายุรกรรมสูติกรรม ศัลยกรรม การฉีดวัคซีนป้องกันโรคสัตว์การกำจัดพยาธิภายใน – ภายนอก การเก็บตัวอย่างการสำรวจสภาวะโรค การเสวนาปัญหาด้านปศุสัตว์ การให้ความรู้ แนะนำ การเลี้ยงและการดูแลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะแก่เกษตรกร เป็นต้น  

ในการดำเนินการครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วนจังหวัดพิษณุโลก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้นำชุมชน  และเกษตรกรในพื้นที่ดำเนินโครงการเป็นอย่างดียิ่ง