อวสานขนมวัวขุน ขายสารเร่งเนื้อแดง ปศุสัตว์ไซเบอร์ล่อซื้อผ่านสังคมออนไลน์ ย้ำมีโทษจำคุก 1-5 ปีหรือปรับ 20,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก สายสืบสารวัตรปศุสัตว์ไชเบอร์ (DCU) ได้สืบค้นข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์ ว่ามีผู้ใช้facebook ชื่อ Earth ขนมวัวขุน ขายสารเร่งเนื้อแดง ผ่านสื่อออนไลน์ดังกล่าวให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคทั่วไป กองสารวัตรและกักกัน และด่านกักกันสัตว์ราชบุรีจึงร่วมวางแผนล่อซื้อสารเร่งเนื้อแดง และอาหารโคขุน ที่ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี

ผลจากการล่อซื้อ พบอาหารโคขุนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนจำนวน 12 กระสอบ และวัตถุต้องสงสัยว่าเป็นสารเร่งเนื้อแดง จำนวน 5 กระสอบ มูลค่ารวม 21,700 บาท เจ้าหน้าจึงได้ทำการตรวจยึด อาหารสัตว์ และวัตถุต้องสงสัยดังกล่าวทั้งหมด พร้อมเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจยืนยันหาสารเร่งเนื้อแดงทางห้องปฏิบัติการ 

จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานที่ สภ.ปากท่อ ว่า หากตรวจพบสารเร่งเนื้อแดงในอาหารสัตว์ และวัตถุต้องสงสัย จะดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษให้เอาผิด

1. ขายอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2558 กระทำผิดมาตรา 17 มีโทษตามมาตรา 75 จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 2. ขายอาหารสัตว์ที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์พ.ศ.2558 มีความผิดมาตรา 56(4) มีโทษตามมาตรา 86 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 12 มีโทษตามมาตรา 101 จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.ขายยาแผนปัจจุบันที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 72(4) มีโทษตามมาตรา 122 จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

7787548F FAB3 4805 BA36 671164329631

นายสัตวแพทย์สมชวน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางอาหาร (food safety) กำกับ ดูแลความปลอดภัย ในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่วัตถุดิบอาหารสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงแปรรูป ตลอดจนสถานที่จำหน่ายและการส่งออก 

ซึ่งทุกขั้นตอนการผลิตต้องมีคุณภาพมาตรฐาน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย มาตรฐานสากล หรือเงื่อนไขของประเทศคู่ค้า เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นแก่ประเทศคู่ค้าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ 

ที่ผ่านมาได้ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 สามารถจับกุมดำเนินคดีได้ 11 คดี มีโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

9EF569AF 27AA 4134 A16E 8D4C5073ACE4

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวย้ำว่า ขอเตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุน ห้ามนำสารเร่งเนื้อแดงมาใช้ในการเลี้ยงโค นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแล้ว ยังส่งผลที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอีกด้วย 

และหากประชาชนพบเห็นผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการใช้สารเร่งเนื้อแดงในโค ให้แจ้งเบาะแสผ่านApplication DLD 4.0 หรือผ่านทางศูนย์รับข้อร้องเรียนกรมปศุสัตว์ โทรศัพท์ 02 6534444 ต่อ 2134

AD4D1243 3D44 447B AED7 8598C1FF27A6