อธิบดีกรมปศุสัตว์รับเรื่องพิจารณาขอส่งออกสุกรขุนมีชีวิต หลังผู้เลี้ยงยื่นเสนอ เนื่องจากราคาย่อตัวอย่างหนักจากหมูกล่อง

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เตรียมพิจารณาใช้อำนาจตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ ผ่อนปรนให้หมูส่งออกได้หรือไม่ หลังจากผู้เลี้ยงสุกรกังวลซัพพลายในประเทศไม่เพียงพอบริโภค

นายพิพัฒน์ เนื้อนิ่ม อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ยื่นหนังสือขอผ่อนผันให้มีการส่งออกสุกรขุนไปประเทศรอบบ้าน เพื่อปรับซัพพลายของสุกร ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 ซึ่งมีสัญญาณชัดเจนว่าปริมาณเนื้อหมูลักลอบนำเข้าผิดกฎหมายยังไม่ลดลง และอาจกดดันราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มได้ตลอดเวลา 

และ 1 ก.พ. 66 ได้ยื่นขออธิบดีฯ พิจารณาอีกครั้ง โดยเจาะจงไปในเรื่องการขออนุญาตส่งออกสุกรขุนมีชีวิตไปประเทศรอบบ้านอีกครั้ง เนื่องจากราคาสุกรขุนในแต่ละภูมิภาคย่อตัวอย่างหนัก ซึ่งได้รับผลกระทบจากชิ้นส่วนเนื้อหมูการลักลอบนำเข้าผิดกฎหมาย หรือ “หมูกล่อง” ยังคงเป็นปัจจัยลบ ส่งผลให้ความต้องการสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มลดลง ตลาดจึงอยู่ในมือพ่อค้ากดดันราคา ในขณะที่ผู้เลี้ยงไม่มีเครื่องบริหารจัดการผลผลิต ถึงแม้ว่าภาครัฐได้ดำเนินการกวาดล้างอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดโฆษกรัฐบาลแถลงข่าว นายกรัฐมนตรีได้ลงมากำชับด้วยตัวเอง

1DC73C2D 40CB 4B0F B446 670F39C6445B

นาย นิพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบันผลผลิตสุกรส่วนหนึ่ง มีน้ำหนักเกินกว่า 140 กิโลกรัม เป็นจำนวนมากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงมีความต้องการสุกรตัวใหญ่ดังกล่าว จึงจะผลักดันส่งออกเน้นกลุ่มนี้ก่อน 

อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการด้านราคาจะทำให้ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยที่กลับเข้ามาเลี้ยงใหม่ลดความเสี่ยงด้านราคาจำหน่าย เนื่องจากสุกรในฟาร์มที่เลี้ยงอยู่ปัจจุบันเป็นการเข้าขุนจากลูกสุกรพันธุ์ในขณะที่มีราคาสูง และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง หากปล่อยให้ราคาขายผันผวนและมีการย่อตัวอย่างหนักแบบนี้  จะส่งผลต่อการกลับเข้ามาในใหม่ของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

การส่งออกสามารถดำเนินการได้ทันที โดยให้ประสานตรงไปยังสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และสมาคมพัฒนาธุรกิจสุกรไทย (ติดต่อ 081 582 6385) เพื่อตรวจโรคตามเงื่อนไข  ประกอบด้วย

  •       สุ่มตรวจเลือด และสารตกค้าง 5% ของจำนวนสุกร ที่จะส่งออกในแต่ละครั้ง เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตรส่งออกตามมาตรฐานกรมปศุสัตว์
  •       แจ้งจำนวนที่ส่งออก
  •       ชื่อฟาร์มสุกรที่ส่ง
  •       ชื่อผู้ประกอบการส่งออก
  •       วันที่ส่ง….. ส่งผ่านด่าน……

ทั้งนี้สมาคมฯ จะรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินซัพพลาย ร่วมกับ กรมปศุสัตว์ เพื่อสร้างสมดุลปริมาณความต้องการบริโภคภายในประเทศเป็นระยะๆ

4A1339D7 FDD5 4446 B270 8F9D6D767925