อธิบดีปศุสัตว์เยี่ยมฟาร์มเอกชน จ.ชัยภูมิ หนุนเลี้ยงสุกรปลอดภัยทางชีวภาพ

อธิบดีกรมปศุสัตว์เยี่ยมฟาร์มเอกชนในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ พร้อมแนะนำการเลี้ยงสุกรปลอดภัยทางชีวภาพ 

วันที่ 13 มิถุนายน 2565 เวลา 14.00 น.นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อม สพ.ญ.ขนิษฐา ธิติดิลกรัตน์ ปศุสัตว์เขต 3 สพ.ญ.ศรีสมัย โชติวนิช ปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิ ,น.สพ.อภิชาติสุวรรณชัยรบ ปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ ,น.ส.เยาวนิตย์ บุรีรักษา เลขานุการกรมและเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิร่วมลงพื้นที่สิทธิภัณฑ์ฟาร์ม ซึ่งประกอบกิจการฟาร์มสุกร ผลิตและจำหน่ายลูกสุกรและสุกรขุน ตั้งอยู่ที่221 หมู่ 6 ถ.ชัยภูมิ-แก้งคร้อ ต.โพนทอง อ.เมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เป็นการเลี้ยงแบบครบวงจร มีทั้งฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกสุกร และฟาร์มสุกรขุนที่รับลูกสุกรมาเลี้ยงต่อ เพื่อจำหน่ายต่อไป

1B8B2750 0D03 4ECB 9802 3A444C1CB04F

โดยการเลี้ยงจะเป็นการเลี้ยงในระบบฟาร์มปิด เน้นเรื่องการควบคุมโรคเป็นหัวใจสำคัญ และถูกต้องตามมาตรฐานฟาร์ม ที่กรมปศุสัตว์กำหนดไว้ มีการแยกพื้นที่ภายในและภายนอกส่วนพื้นที่เลี้ยงสัตว์อย่างชัดเจน ก่อนเข้าในส่วนพื้นที่เลี้ยงสัตว์ทุกครั้งต้องผ่านการฆ่าเชื้อทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคน สิ่งของ อุปกรณ์ หรือยานพาหนะที่จำเป็นต้องเข้าไปภายในฟาร์ม

นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ โดยโรงเรือนที่ใช้เลี้ยงสัตว์เป็นระบบปิด(Evap) ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นให้เหมาะสมต่อความต้องการของสุกรและมีการใช้ฝ้าแบบพิเศษ เพื่อลดความร้อนจากภายนอกโรงเรือนที่จะเข้าสู่ภายในโรงเรือน  มีการนำเทคโนโลยีการให้อาหารแบบอัตโนมัติ(Auto Feed) มาใช้ เพื่อให้สุกรได้กินอาหารอย่างเต็มที่

4A66A591 AEAB 4939 9BAC 331B721F44E1

โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ให้คำแนะนำในการเลี้ยงสุกรกรมปศุสัตว์ให้มีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรอย่างเข้มงวด พร้อมเน้นให้มีการเฝ้าระวังและค้นหาโรคเชิงรับและเชิงรุก เช่น การเฝ้าระวังทางอาการในฟาร์ม การเฝ้าระวังในโรงฆ่าสัตว์ การเฝ้าระวังในซากและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในตลาดมีการกำหนดมาตรการการควบคุมการเคลื่อนย้ายโดยทำฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM: Good Farming Management) เพื่อเป็นการลดความเสียหายสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเพื่อยกระดับเป็นฟาร์มที่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ลดความเสียหายจากการแพร่กระจายโรค

E1082DA8 3222 4D3F BA1E 0E0FBC008B78
18E78A83 D75C 411F BBF5 8FDA53ADDD2C

นอกจากนี้ยังแนะนำให้ฟาร์มสุกร ควรมีรั้วรอบบริเวณพื้นที่การเลี้ยงสุกร ป้องกันคน รถ และสัตว์พาหะได้ ควรมีระบบทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าฟาร์ม ทั้งคนและรถ ควรจัดให้มีบริเวณที่ขายสุกรมีชีวิต แยกออกมาจากพื้นที่การเลี้ยงสุกร มีคอกกักกันสุกรที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ แยกจากบริเวณการเลี้ยงสุกรเดิมภายในฟาร์ม และมีการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะในโรงเรือน เช่น นก หนู แมลง เป็นต้น

0FCD9FF2 9490 4DBC B6CF 2C20317D7B01

ด้านการลดต้นทุนอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ได้พัฒนา และแนะนำแนวทางการลดต้นทุนอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกร เช่น ส่งเสริมให้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น การลดปริมาณการสูญเสียอาหารสัตว์ในขึ้นตอนการผลิต และการบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ร่วมกันกับเกษตรกรรายอื่นเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วยลงให้ได้มากที่สุดนอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังได้พัฒนาและแนะนำสูตรอาหารสัตว์ที่มีวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศไทยเป็นทางเลือกเพื่อทดแทนการนำเข้าอาหารสัตว์ เป็นต้น