(มีคลิป)อธิบดีปศุสัตว์มั่นใจ 100% คุม”โรคลัมปีสกิน”ในวงจำกัดได้แน่นอน

อธิบดีกรมปศุสัตว์ลุยเมืองพระยาแล ตรวจติดตามงานด้านปศุสัตว์ในพื้นที่เขต 3 สร้างขวัญกำลังใจในการปฎิบัติงาน พร้อมยืนยันสามารถควบคุม”โรคลัมปีสกิน”ให้อยู่ในวงจำกัดได้แน่นอน

วันที่ 14 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น.นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานตรวจติดตามงานด้านปศุสัตว์ในพื้นที่เขต 3 โดยมีนาย สมศักดิ์ ไตรศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิร่วมเป็นเกียรติให้การต้อนรับพร้อมด้วย สพ.ญ.ขนิษฐา ธิติดิลกรัตน์ปศุสัตว์เขต 3 สพ.ญ.ศรีสมัย โชติวนิชปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิ,น.ส.เยาวนิตย์ บุรีรักษา เลขานุการกรม,นางเย็นจิต ทองยงค์ ผอ.กองคลัง,ผู้แทนกกจ ,ผู้แทนกองแผนงานและเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิเจ้าร่วมประชุมในครั้งนี้

A9702802 4B27 4A8A 9723 6C8247ABDC26

ด้านอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การลงพื้นตรวจติดตามงานด้านปศุสัตว์ในครั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนงานตามนโยบายของกรมปศุสัตว์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ดำเนินงานด้านปศุสัตว์ให้เป็นไปตามแผนงานและนโยบายของกรมปศุสัตว์ที่ตั้งไว้ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยยึดประโยชน์ของเกษตรกรในพื้นที่เป็นสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเกิดการพัฒนางานในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

881DA082 78F6 402B BE53 597F9368CB32

จากนั้นได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยยืนยันว่า มั่นใจ 100% ว่าเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์จะควบคุมโรคลัมปีสกิน ให้อยู่ในวงจำกัดแน่นอน

โดยสิ่งสำคัญในการดำเนินการประกอบด้วย 3 อย่าง คือ 

1. การใช้วัคซีนในการป้องกัน ซึ่งมีการนำเข้าวัคซีนมาจากต่างประเทศ

2. การกำจัดแมลงสัตว์พาหะโดยการพ่นน้ำยาฆ่าแมลง 

3. การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างเข้มงวด ซึ่งจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในหน้าร้อนไม่พบสัตว์ป่วยตายเพิ่ม แต่เนื่องจากในหน้าฝน ในบางพื้นที่ยังมีเชื้อโรคอยู่บางแห่ง จากรายงานสามารถควบคุมโรคได้ในวงพื้นที่จำกัด ใน 1 เดือนที่ผ่านมา พบรายงานโรคใหม่ใน 3 จังหวัด ซึ่งเป็นสัตว์ป่วยทั่วประเทศจำนวน 1,498 ตัว จากจำนวนสัตว์ทั้งหมดทั่วประเทศ เกือบ 9 ล้านตัว ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนทั้งหมด โดยจากการสอบสวนพบว่าสัตว์ที่ป่วยใหม่เป็นสัตว์ที่ไม่ได้รับวัคซีน 

ดังนั้น ขอยืนยันว่าโรคนี้สามารถควบคุมได้ในวงจำกัด เปอร์เซ็นต์ที่เกิดน้อยมาก โดยคิดเป็นสัดส่วนการป่วยและตาย ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั้งหมด 

652F18F9 66D4 4148 8CC0 BE6442E99C80

ด้านปศุสัตว์เขต 3 ได้รานงานผลการดำเนินงานในพื้นที่พื้นที่เขต 3 เป็นพื้นที่ใหญ่มีจำนวนสัตว์มาก มีภารกิจที่ต้องให้บริการงาน ด้านการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์ ในการป้องกัน และควบคุมโรด ด้านมาตรฐานการผลิตปศุสัตว์เพื่อความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโรคและสร้างมาตรฐานการส่งออกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้านการวิจัยพัฒนา และถ่ายเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแก้ปัญหาบรรเทาความเดือลร้อนของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติน้ำท่วม โรคระบาดสัตว์

โรคอุบัติใหม่ในสัตว์ เช่น โรคในสุกร มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ปศุสัตว์ เขต 3 รวม 1,844 รายจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ทั้งหมด 194,255.324.50 บาท มีเกษตรกรที่ได้รับค่าชดใช้แล้วจำนวน 808 รายรวมเป็นเงิน 109,067,652.00 บาท คิดเป็น 56% ยังเหลือเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับค่าชดใช้ช่วงระหว่างวันที่ 16 ต.ค.64 ถึง 10 มี.ค.65 จำนวน 1,036 ราย รวมเป็นเงิน 85,187,672.50 บาท ปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงไม่มีรายงานพบโรค

โรคลัมมปี สกิน จังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์ ไม่พบสัตว์ป่วยใหม่ โดย จ.บุรีรัมย์ ได้ประกาศสิ้นสุดภัยแล้ว ข้อมูลตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมา มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 31,665 ราย ได้เงินช่วยเหลือภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินไปแล้ว94% เป็นเงิน 684,279,900 บาท รอการช่วยเหลือ 2,281 ราย 43,634,400 บาท

ปัจจุบันปี 2565 โรคยังไม่สงบในบางจังหวัด โดยในเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมาพบว่าจังหวัดที่พบสัตว์ป่วยใหม่มากที่สุด คือชัยภูมิ รองลงมาเป็นอุบลราชธานี 

D3582F2A DE62 4893 93B1 28B46BE5888F

จากการสอบสวนโรคพบว่าปัจจุบันสัตว์ที่ป่วยใหม่เป็นลูกโคเนื้อ อายุ 2-6 เดือน ที่ยังไม่ได้รับการฉีควัคซีน สำนักงานปศุสัตว์เขต 3 ได้จัดสรรเวชภัณฑ์และวัสดุวิทยาศาสตร์งบกลาง ให้แก่ จังหวัดในพื้นที่ไปดำเนินการรักษาโรคแล้ว

โรคพิษสุนัขบ้า พบโรคพิษสุนัขบ้า 8 ครั้ง จังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 4 ครั้ง จังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 2 ครั้งจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 1 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นสุนัขไม่มีเจ้าของไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าได้ เฉพาะหมู่บ้านจุดเกิดโรค

นมโรงเรียนการจัดส่งนมโรงเรียนในพื้นที่เขต3 มีจังหวัดสุรินทร์ที่ส่งครบ 100% แล้ว จังหวัดอื่นๆกำลังทะยอยส่งให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการส่งมอบต่อไป

ขณะเดียวกัน อธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะลงพื้นที่ พบปะเกษตรกรเพื่อมอบปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ อ.เมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เช่น หญ้าอาหารสัตว์วิตามินแร่ธาตุและยาถ่ายพยาธิ เพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์ของสัตว์ ให้แก่เกษตรกรตามนโยบายการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะในจังหวัดชัยภูมิ 

ปัจจุบันมีผลผลิตที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการบริโภคการตลาดและการแปรรูปรวมถึงส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ซึ่ง“แพะขุน”นับเป็นสินค้าปศุสัตว์ทางเลือกที่น่าสนใจสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรปัจจุบันได้รับความนิยมเลี้ยงในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สำหรับการค้าและบริโภคเนื่องจากเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อยและให้ผลตอบแทนเร็ว

C5814B97 930A 4A9A 9225 2C5B05DF2B45

นอกจากนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะ ยังลงพื้นที่ร่วมลงพื้นที่บ้านยางบ่า หมู่ที่ 3 ต.โคกสูง อ.เมืองจ.ชัยภูมิ เพื่อติดตามสถานการณ์การเกิดโรคลัมปีสกิน พร้อมทั้งมอบสารกําจัดแมลงและเวชภัณฑ์สัตว์แก่ปศุสัตว์อําเภอและกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคกระบือ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคลัมปีสกินในโค-กระบือ 

พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการดําเนินการพ่นยาฆ่าเชื้อและสารเคมีกําจัดแมลงอธิบดีกรมปศุสัตว์มีนโยบายเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากโรคลัมปีสกินในโคกระบือโดยประสานงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อบจ.,อบต.,เทศบาล)

EE8B8511 1008 4545 9AAB 8437C4FE7986

ประกอบด้วยการรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยหยด หรือราดยาป้องกันแมลง พ่นยากําจัดแมลง พ่นยาฆ่าเชื้อทําลายเชื้อโรคแจกยากําจัดแมลงแก่เกษตรกรและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคลัมปีสกินและการป้องกันโรคจากผลการดําเนินงานอย่างเข้มงวดต่อเนื่องร่วมกับการดําเนินงานให้การช่วยเหลือเกษตรกรกับหน่วยงานในพื้นที่ ปัจจุบันพบว่า แนวโน้มการระบาดของโรคลัมปีสกินในประเทศมีแนวโน้มลดลงตามลําดับ