ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด KICK OFF ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกัน “โรคปาก-เท้าเปื่อย” ในโคนม

309188
KICK OFF ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกัน “โรคปาก-เท้าเปื่อย” ในโคนม

นายวรกร อินทแพทย์ ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานจัดกิจกรรม KICK OFF ฉีดวัดซีนควบคุมและป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยใคนม (FMD) เป้าหมายให้แล้วเสร็จภายใน 48 ชั่วโมง ครอบคลุมฟาร์มโคนมของสมาชิกสหกรณ์ฯ ทั้งหมด 96 ราย

309187
KICK OFF ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกัน “โรคปาก-เท้าเปื่อย” ในโคนม

เกษตรกรได้นำกระติกน้ำแข็งมารับวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย ก่อนจัดคาราวานรถซาเล้ง ส่งวัคซีนให้กับทุกฟาร์ม เพื่อให้การฉีดวัคซีนครอบคลุมจำนวนโคนมให้มากที่สุด สามารถป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

309192
KICK OFF ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกัน “โรคปาก-เท้าเปื่อย” ในโคนม

กิจกรรม KICK OFF ฉีดวัดซีนควบคุมและป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยโคนม (FMD) จัดขึ้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนราษี อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม โดยสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด ซึ่งมีนายศฎายุช ไชยะลาด นายอำเภอบรบือ และผู้บริหาร อบต.โนนราษี เข้าร่วมติดตามการดำเนินการ

309193
KICK OFF ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกัน “โรคปาก-เท้าเปื่อย” ในโคนม

นายอำเภอบรบือ ระบุว่า ฝ่ายปกครองก็พร้อมผลักดันแนวทางการช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดมหาสารคามเช่นกัน

309200
KICK OFF ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกัน “โรคปาก-เท้าเปื่อย” ในโคนม

ขณะที่สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด ก็เตรียมพร้อมให้ความรู้กับเกษตรกรในการลดต้นทุนการเลี้ยงโคนม ซึ่งมีโครงการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์หลังทำนา หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมนี้

308744
KICK OFF ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกัน “โรคปาก-เท้าเปื่อย” ในโคนม

นายวรกร อินทแพทย์ ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า จังหวัดมหาสารคาม ถือเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการทำปศุสัตว์ การทำฟาร์มโคนมเกิดขึ้นมานานกว่า 20 ปีแล้ว สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทางกรมปศุสัตว์จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนเกษตรกรทั้งด้านความรู้ และสนับสนุนยา วัคซีน พร้อมสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ให้บริการเกษตรกร

308745
KICK OFF ยกระดับการเฝ้าระวังและป้องกัน “โรคปาก-เท้าเปื่อย” ในโคนม

“กิจกรรมนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 5 แล้ว มีสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ลงพื้นที่ดูแลโคนมที่ป่วย และแนะนำแนวทางการดูแลสุขภาพสัตว์อย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร”

ด้านนายบุญมี ชุมฝาง เกษตรกรโคนม อ.บรบบือ บอกว่า การช่วยเหลือของกรมปศุสัตว์ และ สหกรณ์สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ มีความสำคัญมาก ทำให้เกษตรกรรายย่อยสามารถทำฟาร์มได้ ลดต้นทุน และดูแลรักษาวัวป่วยได้ แต่ตอนนี้อยากให้ภาครัฐปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบ เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรแบกรับต้นทุนค่าอาหารสัตว์ที่สูงมาก หลายฟาร์มขาดทุนและเลิกเลี้ยงไปแล้ว