ศูนย์วิจัยกาแฟชุมชนบ้านกองกาย อำเภอแม่แจ่ม เชียงใหม่ ต้นแบบ Social Enterprise

กว่า 5 ปี การดำเนินงานศูนย์วิจัยกาแฟชุมชนบ้านกองกาย สนับสนุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมผนึกกำลังกับภาคีเครือข่ายเเม่เเจ่มโมเดลพลัส อาทิ มูลนิธิฮักเมืองแจ๋ม มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ มูลนิธิไทยรักษ์ป่า สถาบันอ้อผะหญา (องค์กรสาธารณประโยชน์) ศูนย์สารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากร โดยการมีส่วนร่วมอำเภอแม่แจ่ม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในการดำเนินการร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าสู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืนในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ได้สร้างความยั่งยืนในด้านมิติ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านกองกาย อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ด้วยการลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นพืชเศรษฐกิจปลูกกาแฟ

นอกจากนั้นยังปลูกพืชแบบผสมผสานที่ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถสร้างป่า สร้างรายได้ควบคู่กับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการฟื้นฟูป่า พร้อมนำองค์ความรู้และทักษะด้านบริหารจัดการตลอดกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ยกระดับการพัฒนาสู่ธุรกิจเพื่อสังคม Social Enterprise

6 01 cprldf 21102022 1536x1023 1
ศูนย์วิจัยกาแฟชุมชนบ้านกองกาย

นายนนท์ นาคะเสถียร ผู้จัดการทั่วไป ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ สำนักบริหารความยั่งยืนธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือซีพีเดินหน้าต่อยอดพัฒนาศูนย์วิจัยกาแฟบ้านกองกาย ยกระดับการถ่ายทอดองค์ความรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต รวมถึงการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับทางกลุ่มวิสาหกิจฯอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนศูนย์วิจัยกาแฟชุมชนบ้านกองกาย สนับสนุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ให้ความสำคัญมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อยกระดับกาแฟให้มีคุณภาพ และได้รับมาตรฐานพร้อมขยายช่องทางการตลาดใหม่ โดยเน้นการสร้างอัตลักษณ์ของกาแฟ รวมถึงการผลิตกาแฟเฉพาะถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้ชุมชนรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการนำเปลือกเชอรี่ที่สีแล้วกลับมาทำเป็นปุ๋ยหมักกลับไปสู่แปลงเกษตรกรเพื่อลดต้นทุนต่อไป

นายศตวรรษ อาภาประเสริฐ เหรัญญิก/เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตกรบ้านกองกาย ต.บ้านทับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า เกษตรกรจำเป็นต้องมีการฝึกฝน เรียนรู้ และพัฒนาเทคนิคในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าในการแปรรูปเพื่อให้สามารถเพิ่มรายได้มากขึ้นการแปรรูปนอกจากจะเพิ่มมูลค่าสินค้าแล้วทำให้ชุมชนได้เห็นถึงศักยภาพการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟอาราบิก้า ความคุ้มค่าของการลงทุน การบริหารจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว การลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าของสินค้ากาแฟ เมื่อเเปรรูปเเล้วต้องสร้างจุดเด่นให้กับสินค้าต่างจากเดิมให้ได้เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคทำให้เกิดผลิตภัณฑ์กาแฟแบบใหม่ในพื้นที่

เครือซีพีและภาคีเครือข่ายมีความเชื่อมั่นว่าศูนย์วิจัยกาแฟชุมชนบ้านกองกายจะสร้างความร่วมมือกันปรับเปลี่ยนวิถีทางการเกษตรในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยส่งเสริมชุมชนให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่เข้มแข็งและพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนได้แล้ว ยังสามารถต่อยอดองค์ความรู้เดิมและก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ถ่ายทอดหมุนเวียนกันต่อไปอย่างเป็นระบบในการสร้างความยั่งยืนด้านธุรกิจเพื่อสังคมต่อไปได้ในอนาคต

สำหรับกาแฟพันธุ์อาราบิก้า (Arabica coffee) นิยมปลูกมากในภาคเหนือ กาแฟพันธุ์นี้จะชอบอากาศเย็นและโตได้ดีในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ส่วนมากจึงปลูกในแถบภาคเหนือตามดอยต่าง ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ตาก และน่าน

กาแฟอาราบิก้า เป็นกาแฟที่เนื้อ Body เบา และให้คาเฟอีนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับโรบัสต้า นอกจากนี้ยังมีรสที่นุ่มนวลและมีรสหวานเปรี้ยวละมุนรวมทั้งมีกลิ่นหอมกลมกล่อมกว่าโรบัสต้า ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่นมีชีวิตชีวาเป็นกาแฟที่ร้านกาแฟนิยมนำมาใช้เป็นเมนู Special Coffee หรือกาแฟสดตามร้านกาแฟมากกว่าโรบัสต้า นอกจากนี้ด้วยความที่กาแฟอาราบิก้าปลูกยากกว่าจึงทำให้มีราคาสูงกว่าโรบัสต้า