ก.เกษตรฯ โชว์ความงดงามของผ้าไหมไทยในงาน “เทิดไท้ 90 พรรษา พระมารดาแห่งไหมไทย” จ.สกลนคร

.เกษตรฯ โชว์ความงดงามของผ้าไหมไทยในงาน “เทิดไท้ 90 พรรษา พระมารดาแห่งไหมไทย” ที่ .สกลนคร สืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ประกวดเส้นไหม ผ้าไหม ผลิตภัณฑ์จากหม่อน และส่งเสริมตลาดผ้าไหม ประจำปี 2565” ภายใต้งาน “เทิดไท้ 90 พรรษา พระมารดาแห่งไหมไทย” 

88059409 7A60 4AFE A670 1265A808EC4D

โดยการจัดงานในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ที่กรมหม่อนไหมร่วมกับ 3 หน่วยงานประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ช่อง 9 อสมท. และสมาพันธ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 21 มิถุนายน 2565 ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ริมฝั่งหนองหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 

เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของพสกนิกรเป็นสำคัญ และทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาและอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้คงอยู่กับประเทศไทย และส่งเสริมให้ผ้าไหมไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

02F7C706 3D92 4475 9A7E 3EA253BBFAE9

“การจัดงานในครั้งนี้ จะเป็นการอนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมการสาวไหมแบบพื้นบ้านของไทย ให้เยาวชนและเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมที่ดีงามแบบดั้งเดิม รวมทั้งเชิดชูบุคคลที่ผลิตผลงานคุณภาพด้านหม่อนไหม สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่จะเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการสืบสานพระราชปณิธาน และขยายผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนซึ่งประเทศไทยมีการทำอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นเวลานาน มากกว่า 100 ปี โดยอาชีพหม่อนไหมมีจุดเด่นในการเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่มั่นคงให้เกษตรกรได้ตลอดทั้งปี สามารถสร้างอาชีพในถิ่นที่อยู่ส่งผลให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัว การที่ทุกภาคส่วนร่วมกันกำหนดให้มีการประกวดและการแข่งขันผลผลิตหรือสินค้าด้านหม่อนไหม จะทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและเกิดการสร้างสรรค์สินค้าและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ ๆ ส่งผลต่อการพัฒนา และสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก โดยดึงความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้” ดร.เฉลิมชัย กล่าว

F55FEE00 A8DE 4277 B7A9 06BD29E8EF21
BA8A027F E30F 4D8A A8A9 CBBD51F979C4

นอกจากนี้ ภายในงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบเงินรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมระดับประเทศ จำนวน 1 ราย มอบใบรับรองร้านค้าจำหน่ายผ้าไหมไทยที่ได้มาตรฐาน จำนวน 4 ร้าน มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่เกษตรกรหม่อนไหม ได้แก่ เกษตรกรต้นแบบด้านการทอผ้าไหม จำนวน 2 ราย ด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 1 ราย 

ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 5 ราย (ปราชญ์หม่อนไหม) ด้านการสืบทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญหาอาชีพปลูกหม่อนไหม (ทายาทหม่อนไหมโรงเรียน) จำนวน 6 ราย มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ครอบคลุม 18 อำเภอ ประมาณ1,301,747 ไร่ ให้แก่เกษตรกรจากอำเภอเต่างอย อำเภอภูพาน อำเภอเมือง อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก และอำเภอพรรณนานิคม พร้อมเยี่ยมชมงานและนิทรรศการภายในงาน

BB8258DC C862 41D6 96E2 C7B2A0DEC344

ด้าน นายศรัญญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรมภายในงาน ได้กำหนดให้มีการจัดนิทรรศการ การประกวด และการแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 29 ประเภท ประกอบด้วย 

1) การแข่งขันสาวไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน 6 ประเภท รวม 54 ทีม 

2) การประกวดผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานสีทอง 11 ประเภท รวม 291 ผืน 

3) ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานสีเงิน 1 ประเภท รวม 57 ผืน 

4) ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานสีน้ำเงิน 9 ประเภท รวม 317 ผืน 

5) ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานสีเขียว 1 ประเภท รวม 24 ผืน 

6) การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากผ้าไหม ประเภท กระเป๋าสตรี 1 ประเภท รวม 32 ใบ 

112B6078 20D7 4730 8B8B E74B3782EFD4

โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลที่ 1 ทุกประเภท จะได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และจะถูกนำไปจัดแสดงในงาน “ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย ครั้งที่ 17 ประจำปี 2565” ระหว่างวันที่ 24 – 28 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี