ผู้ซื้อญี่ปุ่นเซ็นแล้ว 5,000 ตัน นำเข้ากล้วยหอมทองเสิงสาง จ.นครราชสีมา ไทยฟันเงินทันที 100 ล้านบาท เม็ดเงินลงสู่กลุ่มเกษตรกรโดยตรง

messageImage 1701257320907
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายกล้วยหอมไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 นางสาวณัฐิยา สุจินดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้เป็นสักขีพยานในการเซ็นสัญญาซื้อขายกล้วยหอมไทย ระหว่างกลุ่มเกษตรกรอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ที่จังหวัดนครราชสีมาซึ่งได้ทำงานเชิงรุกและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ รวมทั้งให้เร่งใช้ประโยชน์จากผลของการเจรจา FTA ที่มีอยู่ มาใช้ในการผลักดันให้มีปริมาณการส่งออกของสินค้าไทยสู่ตลาดโลกได้เพิ่มมากขึ้น

messageImage 1
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายกล้วยหอมไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น

ทั้งนี้ การส่งออกกล้วยของประเทศไทย ได้รับสิทธิประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งยกเว้นภาษีให้กล้วยจากประเทศไทยเป็นจำนวน 8,000 ตันต่อปีอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาไทยใช้ประโยชน์ได้ไม่ถึงครึ่งของโควตาดังกล่าวจึงเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีในการเพิ่มการส่งออกกล้วยผ่านช่องทางดังกล่าว

%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายกล้วยหอมไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น

วันนี้กรมสามารถสร้างผลลัพธ์เร่งด่วนในแบบ Quick win ได้สำเร็จภายใน 100 วัน ด้วยยอดขายได้ถึง 100 ล้านบาทเลยทีเดียว จึงเป็นที่มาสำหรับการเซ็นสัญญาสั่งซื้อกล้วย จำนวน 5,000 ตัน ของผู้ซื้อชาวญี่ปุ่นในครั้งนี้

%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1
กล้วยหอมไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น

นายฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว กล่าวว่า หลังจากที่ได้จับมือทำงานบูรณาการร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา เพื่อมุ่งขยายตลาดกล้วยไทยในประเทศญี่ปุ่นแล้ว ตนก็ได้นำผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยชาวญี่ปุ่นลงพื้นที่ไปยังจังหวัดนครราชสีมา เพื่อพัฒนาเทคนิคการปลูกให้กล้วยในพื้นที่ให้มีคุณภาพและปริมาณตามความต้องการของตลาดญี่ปุ่นโดยทันที

%E0%B8%81%E0%B8%A5

กล้วยหอมไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ทางสำนักงานเองได้รับข้อมูลมาว่า กล้วยหอมของไทยนั้นเป็นพันธุ์กล้วยหอมทอง ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติที่อร่อยแล้ว ในปัจจุบันเรายังเป็นแหล่งผลิตที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลกอีกด้วย จึงได้ใช้เป็นหนึ่งในจุดขายในการทำการตลาดกับผู้นําเข้าชาวญี่ปุ่น และเมื่อได้พาคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่นไปเยี่ยมชมสวนกล้วยที่ได้รับการพัฒนาและได้ลองชิมผลผลิตแล้วต่างก็พอใจเป็นอย่างมากจนทำสัญญาซื้อขายในทันทีซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่ากล้วยไทยจะยังสามารถขยายตลาดได้มากกว่าโควตา 8,000 ตันต่อปีที่ไม่มีภาษีได้อีกอย่างแน่นอน

messageImage 1701257541608
กล้วยหอมไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น

นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่า อำเภอเสิงสางเป็นแหล่งผลิตกล้วยหอมทองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด โดยมีพื้นที่เพาะปลูกกล้วยหอมทองถึง 1,350 ไร่ และมีปริมาณผลผลิตได้ถึง 8,100 ตันต่อปี ดังนั้น จึงเพียงพอต่อเป้าความต้องการของตลาดญี่ปุ่นในปีหน้าอย่างแน่นอนและไม่เพียงเท่านี้ ด้วยศักยภาพของเกษตรกรในจังหวัดที่ได้รับการพัฒนาและเชื่อมโยงตลาดญี่ปุ่นโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ก็ยังมีความพร้อมในการเพิ่มพื้นที่เพราะปลูกเพื่อรองรับความต้องการตลาดหากมีความต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย

นอกจากจังหวัดนครราชสีมาแล้ว ทางสํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งออกกล้วยจากภูมิภาคอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพัทลุง และจังหวัดอื่น ๆ อีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.ditp.go.th หรือสายด่วน 1169