ระดมความเห็นจัดทำมาตรการจูงใจในการจัดทำเขตส่งเสริมพืชมหัศจรรย์ “มันสำปะหลัง”

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO ได้ยกย่องให้ “มันสำปะหลัง” เป็นพืชแห่งศตวรรษที่ 21 ในฐานะวัตถุดิบจากธรรมชาติเพื่่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งทุกส่วนของมันสำปะหลัง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หมดหรือเรียกว่า พืช Zero Waste โดยใบและยอดมันสำปะหลังนำมาผลิตอาหารสัตว์เพื่อเสริมสุขภาพ มีโปรตีนสูงที่ต้องนำเข้าเพื่อมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ เช่น ปลาป่น กากถั่วเหลือง

นอกจากนี้ ยังมีสารแซนโทฟิลล์ที่ช่วยการเจริญเติบโตของสัตว์และสารแทนนินที่ช่วยป้องกันพยาธิในสัตว์ ลำต้นมันสำปะหลังสามารถนำมาใช้/ขายเป็นท่อนพันธุ์เพื่อลดต้นทุนและสร้างรายได้ เหง้ามันสำปะหลังตากแห้งและนำมาเผาจะได้ถ่านเชื้อเพลิงและน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ป้องกันศัตรูพืชและราก(หัวมัน)ใช้เป็นวัตถุดิบหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งนิยมใช้มันชนิดขมที่ไม่เหมาะสำหรับการบริโภคของมนุษย์หรือใช้หัวสดเลี้ยงสัตว์โดยตรง เนื่องจากมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูง มีความเป็นพิษต่อร่างกาย ต้องนำไปแปรรููปเป็นมันอัดเม็ดหรือมันเส้นสามารถนำไปเลี้ยงสัตว์ได้ สำหรับอาหารและเครื่องดื่มของมนุษย์สามารถบริโภคหัวมันโดยตรง เช่น นำไปนึ่ง เชื่อม ทอด หรือเป็นผลิตภัณฑ์ขนมปราศจากกลููเตนแป้งมันออร์แกนิคซึ่งช่วงนี้เทรนด์รักษาสุขภาพกำลังมาแรงเป็นกระแสที่ผู้ที่บริโภคให้ความสำคัญ

capture 20220813 102524
จัดทำเขตส่งเสริมพืชมหัศจรรย์ “มันสำปะหลัง”

นอกจากอุตสาหกรรมอาหารแล้ว มันสำปะหลังยังสามารถนำไปผลิตเคมีภัณฑ์ ฟิล์มถนอมอาหาร บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ และยังเป็นพืชพลังงานทางเลือกในการผลิตเอทานอลจากสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบแพงส่งผลให้มันสำปะหลังเป็นที่ต้องการของโรงงานผลิตเอทานอล

สำหรับหัวมันสำปะหลัง ถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทยซึ่งไทยในฐานะผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอันดับต้นของโลกในปี 2564 มีมูลค่าส่งออกสูงถึง 120,512 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.7 เมื่อเทียบกับที่ 2563) ส่วนใหญ่ส่งออกผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง คิดเป็นร้อยละ 43 รองลงมาเป็นมันเส้น/มันอัดเม็ด แปังดัดแปร และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตามลำดับ

ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน ด้านการผลิตพบว่า ปี 2564 ไทยมีพื้นที่ปลูก 10.9 ล้านไร่ ปริมาณผลผลิต 35.1 ล้านตัน แหล่งเพาะปลูกสำคัญ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา กำแพงเพชร กาญจนบุรี ชัยภูมิ ตามลำดับ

ส่วนความต้องการมันสำปะหลัง ปี 2564 มีปริมาณ 42.58 ล้านตัน หัวมันสด ประกอบด้วย แป้งมัน 23.705 ล้านต้นมันเส้น/มันอัดเม็ด 14.876 ล้านตัน และเอทานอล 4 ล้านตัน จะเห็นได้ว่าแนวโน้มตลาดมันสำปะหลังยังมีความต้องการสูง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญและดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก(Agri-Map)อย่างต่อเนื่องและถือเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรของประเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากที่่ดินให้เกิดประสิทธิภาพ ปรับสมดุลของอุปสงค์ (Demand) และ อุุปทาน (Supply) ของสินค้าเกษตร ในพื้นที่ซึ่งต้องพิจารณาความสอดคล้อง เชื่อมโยงกันของพื้นที่่ (Area) ชนิดสินค้า (Commodities)เกษตรกร ผู้ประกอบการ โรงงาน และเจ้าหน้าที่่รัฐ (Human Resource) เพื่อสร้างฐานข้อมููลสำหรับการจัดสรรพื้นที่ปลููกให้เกิดความเหมาะสม และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มาตรการและแนวทางในการบริหารจัดการ พื้้นที่่และสินค้า ซึ่งสินค้ามันสำปะหลัง เป็นสินค้าหนึ่งที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่่อง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญและดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก(Agri-Map) อย่างต่อเนื่องและถือเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรของประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เกิดประสิทธิภาพ ปรับสมดุุลของอุุปสงค์ (Demand) และ อุุปทาน (Supply) ของสินค้าเกษตร ในพื้้นที่ซึ่่งต้องพิจารณาความสอดคล้องเชื่่อมโยงกันของพื้นที่ (Area) ชนิดสินค้า (Commodities) เกษตรกร ผู้ประกอบการ โรงงาน และเจ้าหน้าที่่รัฐ (Human Resource) เพื่อสร้างฐานข้อมููลสำหรับการจัดสรรพื้นที่่ปลููกให้เกิดความเหมาะสม และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มาตรการและแนวทางในการบริหารจัดการ พื้้นที่่และสินค้า ซึ่่งสินค้ามันสำปะหลัง เป็นสินค้าหนึ่งที่่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่่อง

ในการนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 ได้จัดสัมมนาระดมความคิดเห็น การจัดทำมาตรการจููงใจในการจัดทำเขตส่งเสริมการปลููกมันสำปะหลัง ภายใต้ โครงการบริหาารจัดการการผลิตสินค้าเกษตร ตามแผนที่่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map ) โดยผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่่ยวข้อง ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร โดยที่่ประชุุมได้เสนอ มาตรการจููงใจในการจัดทำเขตส่งเสริม การปลููกมันสำปะหลัง

ดังนี้ 1) สนับสนุนพันธุ์มันสำปะหลังที่ได้รับการรับรองให้กับเกษตรกรอย่างทั่วถึง 2) สนับสนุน การพัฒนา ปรับปรุุงแก้ไขปัญหาดินเสื่อมโทรม แหล่งน้ำ และการบริหารจัดการแปลง 3) สนับสนุน พัฒนาให้ความรู้การแปรรููปเบื้องต้น เพื่อเพิ่ม โอกาสและสร้างรายได้ 4) สนับสนุน การลดต้นทุน การผลิต (ราคาปัจจัยการผลิต เทคโนโลยีการผลิต เพื่อลดค่าใช้จ่าย ด้านแรงงาน คงมาตรการประกันรายได้ ดูแล ค่าน้ำมันเชื้้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งค่าขนส่ง 5) กำกับดููแลให้ผู้ประกอบการลานมัน โรงแป้งรับซื้อและให้ราคาตามคุุณภาพเชื้อแป้ง

6) ถอดบทเรียน สมาคมผู้ผลิตสินค้าพืชไร่ที่ประสบความสำเ ร็จ(ไร่อ้อย) 7) สนับสนุนส่งเสริม ให้ความรู้ ความเข้าใจ แผนการผลิตแก่เกษตรกร เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่เพื่อควบคุม การผลิตให้มีคุณภาพ 8)พัฒนากระบวนการคิด ทักษะทางวิชาชีพ การทำงานร่วมกัน การตระหนักถึงความเป็นสมาชิกในองค์กร ความรู้สึกเป็นอันหนึ่่ง อันเดียวกันของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลัง 9) การบริหารจัดการน้ำในชุมชนตามช่องทาง Thai Water Plan และ 10) สนับสนุนองค์ความรู้เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ ทั้งนี้ร่วมเสนอมาตรการนอกเขตพื้้นที่่ไม่เหมาะสมโดยใช้มาตรการจููงใจเช่นเดียวกับเขตพื้นที่่เหมาะสม แต่พิจารณาตามบริบทพื้นที่่ ซึ่งมีมาตรการเพิ่มเติม

ได้แก่ 1) สนับสนุุนการเชื่อมโยงตลาด เช่น การทำสัญญาซื้้อขาย ระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับผู้รับซื้้อโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เป็นต้น 2) สนับสนุุนโครงสร้างพื้้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากการขนส่ง 3) สนับสนุนงบประมาณสัดส่วนที่แตกต่างกับพื้นที่เหมาะสม และ 4) สนับสนุนการพัฒนา ศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังหรือพืชทางเลือกที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อให้เทียบกับคุุณภาพในระดับที่ที่สูงขึ้น

ทั้้งนี้มีเงื่่อนไขต้องเป็นเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรที่่ขึ้นทะเบียน มีการจัดทำ แผนธุรกิจการ ผลิตมันสำปะหลังที่ชัดเจนและนำเสนออย่างเป็นระบบ โดยผ่านนการเห็นชอบจากธนาคารเพื่่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ทั้้งนี้มาตรการการจัดทำเขตส่งเสริมการปลููกมันสำปะหลังเป็นเพียงส่วนหนึ่่งในการสร้างเสริมศักยภาพขีดความสามารถของภาคเกษตร การทำงานเชิงบูรณาการของทุุกภาคส่วน ตลอดทั้้งกระบวนการผลิต (Supply Chain) ตั้้งแต่เกษตรกร ด้านการรวมกลุ่มปลููกมันสำปะหลังแปลงใหญ่ การจัดการใช้พื้นที่่เงินทุุน แรงงาน หรือปัจจัยการผลิต รวมทั้้งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน(GAP หรือ ออร์แกนิค) พร้อมจัดหาตลาด จำหน่าย รวมทั้้งสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง (MOU) ตั้้งแต่เกษตรกร สหกรณ์ ผู้ประกอบการลานมัน โรงแป้ง โรงงานอุุตสาหกรรม และผู้ส่งออก ตลอดจนสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความยั่่งยืนของการผลิตมันสำปะหลังไทยต่อไป

ที่มาข้อมูล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 นครสวรรค์