แจ้งเตือน..”แมลงนูนหลวง”..ศัตรูไร่อ้อย มันสำปะหลัง

“แมลงนูนหลวง” Lepidiota stigma Fabricius (Coleoptera : Scarabaeidae) เป็นศัตรูที่สำคัญชนิดหนึ่งของอ้อย และมันสำปะหลังที่ปลูก

ลักษณะการทำลาย การเข้าทำลายอ้อยของ “หนอนแมลงนูนหลวง” จะปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่กระจายไปทั้งไร่ พบการทำลายน้อยในพื้นที่ลุ่มที่มีน้ำขังและพบการทำลายมากในสภาพดินทรายปลูกในที่ดอน กออ้อยที่ถูกหนอนของ “แมลงนูนหลวง”เข้าทำลายเพียงหนึ่งตัวต่อกอ จะทำให้อ้อยตายไปทั้งกอได้ ทำให้ผลผลิตของอ้อยลดลงจนเก็บผลผลิตไม่ได้

“หนอนของแมลงนูนหลวง” กัดกินรากอ้อยเป็นอาหาร อาการเริ่มแรกของอ้อยที่ถูกทำลายคล้ายกับ อ้อยขาดน้ำ เนื่องมาจากความแห้งแล้ง คือ ใบอ้อยมีสีเหลือง ต่อมาใบอ้อยจะแห้งตายมากผิดปกติ ในที่สุด “อ้อย” จะแห้งตายไปทั้งกอ กออ้อยที่ถูกหนอนเข้าทำลายสามารถถอนทั้งกอออกจากพื้นดินได้ง่าย เนื่องจากรากอ้อยถูกทำลายหมด

279493313 327485266197361 8374790744183418108 n
แมลงนูนหลวง ศัตรูสำคัญอ้อย มันสำปะหลัง

พืชอาหารของ “หนอนแมลงนูนหลวง” ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ยูคาลิปตัส มันแกว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และ ตะไคร้ เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติในสภาพพื้นที่มีความชื้นเหมาะสม จะพบเชื้อราขาว Beauveria bassiana ช่วยทำลายหนอนและดักแด้ในดินและนกช่วยทำลาย ส่วนตัวเต็มวัยในบางพื้นที่มีการจับมาทอดเป็นอาหารได้

279520930 327485469530674 501907844699074366 n
“แมลงนูนหลวง”ศัตรูสำคัญอ้อย มันสำปะหลัง

การป้องกันกำจัด “แมลงนูนหลวงอ้อย”โดยวิธีผสมผสาน

สำหรับการป้องกันกำจัด “แมลงนูนหลวง”นั้น มีหลายวิธี “แมลงนูนหลวง” จะออกเป็นตัว เต็มวัยปีละครั้ง ในช่วงตั้งแต่ต้นฤดูฝน วิธีการป้องกันกำจัด “แมลงนูนหลวง” ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ แนะนำให้เกษตรกรทำการ ไถพรวนดินหลายๆ ครั้ง เพื่อทำลายหนอนแมลงนูนหลวงและดักแด้ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม (ก่อนปลูกอ้อย)

รวมถึงจับ“แมลงนูนหลวง”(ตัวเต็มวัย) ก่อนการวางไข่ในช่วงเย็น เวลา 18.30-19.00 น. บริเวณต้นไม้ใหญ่ซึ่งแมลงจะจับเป็นคู่เกาะเพื่อผสมพันธุ์หรือในช่วงเช้า โดยสังเกตขุยดินบริเวณรอบๆ โคนต้น หรือห่างจากทรงพุ่มต้น 1-5 เมตร หากพบให้ทำการขุดจับและจับต่อเนื่องกันประมาณ 15-20 วัน เมื่อดำเนินการต่อเนื่อง 2-3 ปี แมลงชนิดนี้จะหมดความสำคัญลง

279598943 327485556197332 4167376903394310170 n
“แมลงนูนหลวง”ศัตรูสำคัญอ้อย มันสำปะหลัง

การใช้สารฆ่าแมลงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แนะนำ แต่ควรจะใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายถ้าหากใช้วิธีข้างต้นไม่ได้ผลสารฆ่าแมลงที่แนะนำคือ ฟิโพรนิล ชนิดน้ำ (fipronil 5% SC) อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล ชนิดเม็ด (fipronil 0.3 % GR) อัตรา 5 กิโลกรัม/ ไร่ แต่ต้องใช้กับดิน ที่มีความชื้นในอ้อยปลูก เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้สารฆ่าแมลง โดยพ่นบนท่อนพันธุ์อ้อยในร่องอ้อยแล้วกลบดิน การใช้เชื้อราขาวBeauveria bassiana เป็นศัตรูธรรมชาติช่วยทำลายหนอน และดักแด้ในดิน การใช้เชื้อราขาว ต้องมีความชื้นในดินสูง หรือใช้ในฤดูฝน เพื่อให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี

นอกจากนั้น การปลูกพืชอาศัยชนิดอื่นล่อ “แมลงนูนหลวง” บริเวณใกล้เคียงต้นไม้ใหญ่ที่แมลงจับคู่ผสมพันธุ์กัน ให้ห่างจาก แปลงปลูกพืชหลัก ได้แก่ ตะไคร้บ้าน เพื่อล่อแมลงนูนหลวง มากัดกินรากแล้วขุดจับตัวหนอนทำลาย รวมถึง เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน โดยการไม่เผาใบอ้อย ปลูกเพื่อบำรุงดินหรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์ สิ่งที่แนะข้างต้นจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อการกำจัดอย่างยั่งยืน “แมลงนูนหลวง”ไม่กลับมา แพร่ระบาดอีก

ที่มา- สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร