รัฐมนตรีเกษตรฯจับมือพาณิชย์ใส่เกียร์สั่งลุยแก้ปัญหามะพร้าว มั่นใจ ไม่เกินปลายปีนี้ ราคากลับสู่ภาวะปกติ

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลุยแก้ปัญหาราคามะพร้าวตกต่ำ และสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง จับมือกระทรวงพาณิชย์ มอบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงเกษตรฯ เร่งดำเนินการตามมาตรการคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนมะพร้าว และถั่วเหลืองมีรายได้อย่างเพียงพอต่อการครองชีพ พร้อมขอบคุณผู้ประกอบการนำเข้ามะพร้าวและถั่วเหลืองที่ให้ความร่วมมือการดำเนินงานตามนโยบายของภาครัฐด้วยดีมาโดยตลอด

FE86CD88 2C09 49EB 8C9D BC4B2714C403

จากกรณีปัญหาราคามะพร้าวตกต่ำที่เกิดขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกับทุกหน่วยงานในการเร่งแก้ปัญหาเพื่อให้ปริมาณผลผลิตมะพร้าวที่ออกสู่ตลาด กับสัดส่วนปริมาณการนำเข้าและปริมาณการใช้ในประเทศมีความสมดุลกัน และไม่ส่งผลกระทบต่อราคามะพร้าวที่เกษตรกรขายได้ รวมทั้งได้มอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์ และร่วมรับฟังปัญหาจากเกษตรชาวสวนมะพร้าว เครือข่ายชาวสวนมะพร้าว สมาพันธ์ชาวสวนมะพร้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา 

67B01EEE 6B58 4422 A0B5 D3A32CF6954B

พร้อมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหา และเสนอให้คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช พิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็ว ซึ่งล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 22 กันยายน2565 มีมติเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาราคามะพร้าวตกต่ำเรียบร้อยแล้ว ดังนี้

1. ผู้ประกอบการยินดีที่จะชะลอการนำเข้ามะพร้าวผล ภายใต้กรอบความตกลง AFTA ปี 2565 ช่วงที่ 2 (เดือนกันยายน – ธันวาคม 2565) รวมทั้งพร้อมให้ความร่วมมือในการชะลอการนำเข้ามะพร้าวผลภายใต้กรอบความตกลง WTO กะทิสำเร็จรูป และกะทิแช่แข็ง ออกไปก่อน จนกว่าราคามะพร้าวผลภายในประเทศจะกลับสู่ภาวะปกติ

2. เห็นชอบการใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure: SSG) สำหรับสินค้ามะพร้าว ปี2565 ในกรณีที่มีการนำเข้ามะพร้าวผลแก่เกินกว่า 305,335 ตัน ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 72 เพื่อไม่ให้เกษตรกรได้รับผลกระทบทางด้านราคาจากการที่มีการนำเข้ามากเกินไปจากมาตรการดังกล่าวจะสามารถช่วยลดสต็อกมะพร้าวที่อยู่ในล้งและตามบ้านเรือนของเกษตรกรได้ และคาดว่าจะส่งผลให้ราคามะพร้าวผลแห้ง(ใหญ่) เพิ่มสูงขึ้นกลับมาเป็นผลละ 12 – 15 บาท ได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 

1E587D8F CEEF 4193 92DA FBC793A9CB52
4536FAB7 1EA2 4E67 A771 8E2CEDF1AA69

นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามข้อผูกพันตามกรอบความตกลงการค้าระหว่างประเทศและช่วยให้เกษตรกรไม่ได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาด รวมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบการเปิดตลาดและการบริหารการนำเข้าสินค้าเมล็ดถั่วเหลือง และสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว 3 ปี (ปี 2566 – 2568) 

โดยในส่วนของการบริหารจัดการสินค้าเมล็ดถั่วเหลืองผู้มีสิทธินำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองทั้ง 8 สมาคม ยินดีให้การสนับสนุนและส่งเสริมด้านการผลิต และรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศ ในราคาตามกลไกตลาด แต่ไม่ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ ตามชั้นคุณภาพ ซึ่งเป็นระดับราคาที่เพิ่มขึ้นจากช่วง ปี 2563 – 2565 อีกกิโลกรัมละ 2.25 บาท 

รวมทั้งยินดี สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรวบรวมผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองให้กับสหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชน เพิ่มเติมอีกในราคากิโลกรัมละละ 2 บาท ทุกชั้นเกรดคุณภาพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์การเกษตร/วิสาหกิจชุมชน

​ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอขอบคุณผู้ประกอบการทุกท่าน ที่ร่วมกันช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งการชะลอการนำเข้ามะพร้าวผลจนกว่าราคาในประเทศจะกลับสู่ภาวะปกติ และให้การสนับสนุนขึ้นราคารับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองให้เกษตรกร รวมถึงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการรวบรวมผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองให้กับสหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชนเพิ่มเติม และขอให้เชื่อมั่นว่าทุกปัญหาของเกษตรกร กระทรวงเกษตรฯ พร้อมที่จะเข้าไปเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา และพร้อมที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้เกษตรกรมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

8B340775 72B8 4E92 B4E6 339BDEFABA78

ด้านนายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า หากพิจารณาข้อมูลการผลิตและการส่งออกมะพร้าวไทย ปี 2565 สศก. พบว่า ไทยมีผลผลิตมะพร้าวประมาณ 0.969 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 5.62 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยผลผลิตจึงเพิ่มขึ้น โดยผลผลิตส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 70 เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก แต่เนื่องจากนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ประเทศคู่ค้ามีความต้องการนำเข้าลดลง อาทิ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและกลุ่มประเทศยุโรป 

โดยจะเห็นได้จากปริมาณส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกปี 2565 (มกราคม – กรกฎาคม) มีปริมาณรวม  85,031 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 36.21 หรือคิดเป็นมะพร้าวผลประมาณ 115,000 ตัน ดังนั้น ส่งผลทำให้มีปริมาณสต็อกมะพร้าวในประเทศจำนวนมาก ทำให้ราคามะพร้าวผลแห้ง (ใหญ่) ที่เกษตรกรขายได้ลดลง โดยในเดือนกันยายน 2565 เฉลี่ยผลละ 8.19 บาท ลดลงจากราคาเฉลี่ยผลละ13.37 บาทในเดือนมีนาคม 2565 ร้อยละ 38.74

ทั้งนี้ จากมาตรการตามมติประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะสามารถช่วยลดสต็อกมะพร้าวและจะส่งผลให้ราคามะพร้าวกลับมาสู่ภาวะปกติภายในปลายปีนี้ จึงขอความร่วมมือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามตามมาตรการข้างต้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนมะพร้าว รวมทั้งช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองและสหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจ    ชุมชนร่วมกัน