กรมวิชาการเกษตรลุยสวน-ล้งส่งออกลำไยภาคตะวันออก เร่งแก้ปัญหาเพลี้ยแป้งและคุมเข้มมาตรฐานส่งไปจีน

ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมคณะทำงานได้เดินทางมาที่ สำนักงานด่านตรวจพืชจันทบุรี ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี พบปะผู้แทนสมาคมชาวสวนลำไยและสมาคมผู้ประกอบการส่งออกลำไย พร้อมมอบใบรับรอง GAP ลำไยหมายเลขรหัสใหม่ให้แก่เกษตรกรพื้นที่ ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้ำร้อน จำนวน 15 ราย และรับฟังการบรรยายสรุปภารกิจการตรวจสอบศัตรูพืชลำไยและมาตรการป้องกัน การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในแปลง GAP และโรงคัดบรรจุลำไย ฤดูกาลผลิต 2565/2566 ที่ด่านตรวจพืชจันทบุรี โดยกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สวพ.6 และด่านตรวจพืชจันทบุรี 

โดยในขณะนี้เขตพื้นที่ภาคตะวันออก 7 จังหวัด มีจำนวนแปลงที่ต้องเปลี่ยนรหัสรับรอง GAP ใหม่ มีจำนวน 80,779 แปลง ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วจำนวน 33,733 แปลง และอยู่ในระหว่างการดำเนินการอีกจำนวน 47,046 แปลง  ทั้งนี้ สวพ.6 ยืนยันว่าจะเสร็จสิ้น 100% ตามที่กรมกำหนดภายในวันที่ 31 ธ.ค. 65 นี้

7BDC9AED 9BE6 4A5D 81B8 B9B91BEB5F2C

พร้อมกันนี้ ได้ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพลำไย การตรวจสอบศัตรูพืชเพื่อการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช พร้อมมอบแนวทางการปฏิบัติการส่งออกลำไยให้ปลอดจากเพลี้ยแป้งในโรงคัดบรรจุลำไย 2 แห่ง คือโรงคัดบรรจุ บริษัทไทยโทนพญานาค จำกัด และ โรงคัดบรรจุ บริษัทโซ่ชินหยวน อิมพอร์ต เอกซ์พอร์ต(ไทยแลนด์) จำกัด จ.จันทบุรี และตรวจเยี่ยมแปลง GAP ลำไย ของนางสมฤดี สีละคุณ ต.ทับช้าง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี รวมทั้งแปลง GAP ลำไยของนางสุดา จันที่นอก ต.สะตอนอ.สอยดาว จ.จันทบุรี พร้อมกับตรวจเยี่ยมติดตามงานตามภารกิจด้านการนำเข้า-ส่งออกของด่านตรวจพืชจันทบุรี ที่ตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา

791CD5B5 0E7F 4E9D A949 C94D2B5D73CE

ดร.ภัสชญภณ  กล่าวว่า สืบเนื่องจากปัญหาการแจ้งเตือนตรวจพบศัตรูพืชในผลไม้ส่งออกไปจีนอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผลการตรวจประเมินการจัดการศัตรูพืชและมาตรการการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ในโรงคัดบรรจุผลไม้ส่งออกไปจีน เมื่อปี 2564 พบว่า ลำไยเป็นพืชหนึ่งที่จีนมีการแจ้งเตือนตรวจสอบศัตรูพืชมากที่สุด กรมวิชาการเกษตรจึงมี คำแนะนำในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ดังนี้ เนื่องจากมดเป็นพาหะในการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง 

ดังนั้นควรป้องกันกำจัดมดไม่ให้ขึ้นต้น เช่น  ใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว หรือผ้าชุบสารฆ่าแมลง  มาลาไทออน อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิต หรือ คาร์บาริล  อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พันไว้ที่โคนต้นและวัสดุค้ำยันต่าง ๆ  กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกให้สะอาดโดยเฉพาะแห้วหมูและหญ้าคา โดยถอนต้นและขุดเหง้าที่อยูในดินออก หรือใช้สาร ฮาโลซัลฟูรอน-เมทิลเจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ ดับบริวจี หรือ ไกลโฟเซต – ไอโซโพพิล แอมโมเนียม 48% พ่นระหว่างแถวไม้ผลพร้อมกับหมั่นสำรวจแปลงทุก 7 วัน

D5AA499F 2B87 4EC0 9BB5 7EE8731118ED

สำหรับวิธีการปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมก่อนส่งลำไยผลสดเข้าโรงคัดบรรจุเพื่อการส่งออกที่แนะนำเกษตรกร มีดังนี้ ที่แปลงต้องมีมาตรการการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีการตรวจคัดกรองคนงานที่จะเข้ามาในแปลงทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน 

เมื่อสำรวจแล้วไม่พบเพลี้ยแป้งทำการหักช่อผลออกจากต้นแล้วใส่ในภาชนะ เพื่อป้องกันไม่ให้ช่อผลลำไยสัมผัสพื้นดินโดยตรง การคัดแยกต้องดำเนินการบนผ้าพลาสติกหรือผ้ายาง ถ้าพบเพลี้ยแป้ง หรือเพลี้ยหอย หรือราดำ หรือมด ที่ช่อผล ต้องแยกช่อผลนั้นออกทั้งช่อไม่นำมาคัดหรือตัดแต่ง 

A7E0DA59 A18D 4B83 ABD7 4281BB5D23BA
D58550CA 100D 440B AE81 D9EA6362E7E9

ส่วนช่อผลที่พบอาการผลเน่าหรือผลแตกเกิน 30% ควรคัดทิ้งทั้งช่อ และควรมีตะกร้าใส่ช่อผลที่คัดทิ้งแยกต่างหากเพื่อไม่ให้ปะปนกับผลที่ยังไม่คัด  ความยาวก้านของช่อผลลำไย ต้องทำการตัดแต่งความยาวก้านของช่อผลลำไยไม่เกิน 15 เซนติเมตร ซึ่งเป็นไปตามของกำหนดของจีน และในการขนส่งลำไยควรขนส่งด้วยพาหนะที่มีการปิดมิดชิด เพื่อป้องกันแมลงที่อาจมาทำลายซ้ำ และป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค

“การลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรีในครั้งนี้เป็นไปตามข้อสั่งการของนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ และนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ที่ต้องการให้ติดตามสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้งไม่ให้ติดปนเปื้อนไปกับผลผลิตลำไยส่งออก พร้อมกับร่วมรับฟังและแก้ไขปัญหาให้การดำเนินงานส่งออกลำไยไปจีนของเกษตรกรและผู้ประกอบการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อรักษามาตรฐานการส่งออกผลไม้ของไทยต่อไป” ดร.ภัสชญภณ กล่าว

0EB0AB27 FAFD 4345 BA45 1DA01D56CC5F
419FB9D4 A350 4018 92C2 9D62F7479DBC
154D5136 2C0B 452C 885C 19E74E899675