อากาศเย็น เตือนชาวสวน ระวัง เพลี้ยอ่อนข้าวโพด – หนอนเจาะลำต้นในข้าวโพด

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว) ในระยะ ระยะออกดอก-ติดฝัก รับมือเพลี้ยอ่อนข้าวโพด ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของใบ และช่อดอกตัวผู้ ถ้าช่อดอกมีเพลี้ยอ่อนเกาะกินอยู่มาก จะทำให้ช่อดอกไม่บาน การติดเมล็ดน้อยและทำให้เมล็ดแก่เร็ว ทั้ง ๆ ที่เมล็ดยังไม่เต็มฝัก หากมีการระบาดมาก จึงพบกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของลำต้น กาบหุ้มฝัก โดยเพลี้ยอ่อนชนิดมีปีกบินมาจากแปลงใกล้เคียง ตั้งแต่ข้าวโพดอายุประมาณ 15 วัน หลังจากนั้นอีก 1-2 สัปดาห์ จะพบเพลี้ยอ่อนออกลูกเป็นตัวอ่อนรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยเฉพาะบริเวณใต้ใบล่าง ๆ และเพลี้ยอ่อนค่อย ๆ แพร่ขยายจากใบล่างขึ้นมาบนใบเรื่อย ๆ และขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนพบปริมาณสูงสุดในระยะข้าวโพดกำลังผสมเกสร มักพบเกาะเป็นกลุ่ม ๆ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวโพด เช่น ยอด กาบใบ โคนใบ กาบฝัก และจะพบมากที่สุดบริเวณช่อดอก ทำให้บริเวณที่ถูกดูดกินแสดงอาการเป็นจุดสีเหลืองปนแดง

319315794 489209340024952 3379011890322181906 n
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด


แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1.ในแหล่งที่มีการระบาดเป็นประจําในฤดูแล้ง หากสํารวจพบเพลี้ยอ่อนข้าวโพดแพร่กระจายจากใบล่างขึ้นมาและเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วทั้งแปลง ควรป้องกันกําจัดก่อนข้าวโพดแทงช่อดอกตัวผู้ หรือก่อนดอกบาน จะให้ผลในการควบคุมได้ดี

หากมีการระบาดเกิดขึ้นเฉพาะจุด พ่นสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เบตา-ไซฟลูทริน 2.5% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดอะชินอน 60% EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

การพ่นสารฆ่าแมลงในระยะออกดอกควรพ่นเฉพาะจุด เมื่อพบความหนาแน่นของเพลี้ยอ่อนมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ของช่อดอก แต่ควรหลีกเลี่ยงพ่นสารเมื่อตรวจพบด้วงเต่า และแมลงหางหนีบ ซึ่งเป็นตัวห้ำของเพลี้ยอ่อน หลังจากข้าวโพดติดฝักแล้ว

ส่วน ศัตรูข้าวโพดอีกชนิดหนึ่งที่ชาวสวน ต้องระวัง เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว) ในระยะ ระยะออกดอก-ติดฝัก รับมือ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

319540998 489208140025072 7060337601500583526 n 1

ในระยะออกดอก หนอนจะเจาะเข้าไปกินส่วนยอดที่ม้วนอยู่ โดยกัดกินและเจริญเติบโตภายในช่อดอก ทำให้ช่อดอกไม่สามารถคลี่บานได้ จึงมีเกสรตัวผู้ไม่เพียงพอต่อการผสมเกสร ฝักที่ได้จะไม่มีเมล็ด หรือมีเมล็ดไม่เต็มฝัก ทำให้ผลผลิตต่ำ การเข้าทำลายฝัก ตัวหนอนเข้าทำลายโดยการเจาะที่ก้านฝัก หรือโคนฝัก หากมีการระบาดรุนแรงมากจะเจาะกินภายในแกนกลางฝัก และเมล็ดด้วย

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

พ่นด้วยสารฆ่าแมลง เดลทาเมทริน 3% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรฟลูมูรอน 25% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เทฟลูเบนซูรอน 5% EC อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟลูอาซูรอน 5% EC อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

****สำหรับข้าวโพดหวาน พ่นสารฆ่าแมลงเมื่อพบหนอนมากกว่า 50 ตัว จากข้าวโพด 100 ต้น หรือ รูเจาะ 50 รู จากข้าวโพด 100 ต้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้าวโพด เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีลักษณะลำต้นสูง ใบเรียวยาว ส่วนบริเวณฝักข้าวโพดนั้นจะนิยมเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปขายหรือบริโภค ถือเป็นพืชไร่ที่ชาวไทยนิยมปลูกกันในหลายพื้นที่ และถูกยกระดับความสำคัญให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่สามารถทำรายได้ด้านเกษตรกรรมให้กับประเทศสูง แต่เชื่อว่ายังมีเกษตรกรจำนวนมาก ที่รู้สึกว่าการทำไร่ข้าวโพดนั้นไม่สามารถสร้างรายได้ที่ยั่งยืนได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องผลผลิตไม่คงที่หรือราคาที่ตกลงมาในบางปี

อย่างไรก็ตามการปลูกข้าวโพดในปัจจุบันนั้นจะมีความแตกต่างไปจากในอดีตค่อนข้างมาก ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถปลูกข้าวโพดได้มากขึ้นได้ผลผลิตที่ดีขึ้น และยังมีความก้าวหน้าในด้านการแปรรูปเพื่อส่งออกด้วย